หลงลืม หรือ อัลไซเมอร์ กันแน่

กุญแจอยู่ไหน กินข้าวยัง เมื่อกี้พูดอะไรนะ การหลงลืมเป็นหนึ่งในอาการของโรคอัลไซเมอร์ ที่มักพบในผู้สูงอายุ

 แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเริ่มเป็นอัลไซเมอร์

            โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่มักจะพบในผู้สูงอายุ หรือ 60 ปีขึ้นไป ในปี 2020 พบผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลก และมีการคาดกาณ์ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 78 ล้านคนทั่วโลก อัลไซเมอร์คิดเป็นร้อยละ 68 – 80 ของโรคสมองเสื่อม โดยเกิดจากความเสื่อมของสมองลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้สูญเสียความจำ ความคิด การพูด พฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน โดยสามารถแบ่งอาการได้ 3 ระยะ ได้แก่

ระยะแรก (Early-Stage)

ในระยะแรกผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติแต่เริ่มมีการสูญเสียความจำระยะสั้นหรือเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านมา บางครั้งจะมีถามคำถามเดียวซ้ำๆวนไปมา เช่น เมื่อมีการเล่าเรื่องราวต่างๆให้ผู้ป่วยฟัง เมื่อผ่านไปสักครูหนึ่งผู้ป่วยจะลืมและกลับมาถามซ้ำๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยมีการเรียนรู้ยาก เพราะไม่สามารถจดจำในสิ่งที่พึ่งเรียนรู้ไปได้ ส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆยากและอาจผิดผลาดได้ เช่น การตัดสินในเรื่องการเงิน

ระยะที่สอง (Middle-Stage)

ในระยะปานกลางเป็นระยะที่มีการสูญเสียการเรียนรู้ ความจำ และเริ่มมีผลกับกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยมากขึ้น ผู้ป่วยจะลืมรายละเอียดในชีวิตประจำวันของตัวเอง เช่น การลืมบ้านเลขที่ เบอร์โทร ครอบครัวตัวเอง บางครั้งคนในครอบครัวก็กลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับผู้ป่วยในระยะนี้ นอกจากนี้เมื่อผู้ป่วยลืมเรื่องราวในชีวิตของตัวเอง ผู้ป่วยจะพยายามค้นหาโดยการออกไปด้านนอก ออกเดินสำรวจ จนไม่สามารถกลับบ้านตนเองได้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีความบกพร่องในการดูแลตัวเอง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น การแปรงฟัน ใส่เสื้อผ้า หวีผม อาบน้ำเองไม่ได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจสูญเสียการควบคุมของกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

ระยะที่สาม (Late-Stage)

ในระยะสุดท้ายเป็นระยะที่มีการเสื่อมของสมองอย่างรุนแรง ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตนเอง สนทนาโต้ตอบ และควบคุมการเคลื่อนไหวในที่สุด เข้าใจและสามารถรับฟังได้แต่ไม่สามารถสื่อสารหรือตอบสนองได้ เนื่องจากทักษะด้านความจำและการรับรู้เสื่อมลงเรื่อย ๆ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพมีความทดถอยลง เช่น การนั่ง การเดิน การกลื่นอาหาร มีอารมณ์แปรปรวน ขี้หงุดหงิด เกลียดการเข้าสังคม ดังนั้นในผู้ป่วยระยะรุนแรงจำเป็นต้องการความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงพร้อมการดูแลส่วนบุคคลทุกวัน

โรคอัลไซเมอร์เกิดได้อย่างไร

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด เป็นโรคที่มีผลต่อ ความจำ การเรียนรู้ การสื่อสาร การตัดสินใจ การกลืน การเดินที่บกพร่องและการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โดยโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการที่สมองมีการสร้างโปรตีน เบต้าอะไมลอยด์ และ เทาโปรตีน ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์สมอง ทำให้สมองได้รับความเสียหาย  และเกิดการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ รอยโรคจากการสะสม เช่น การสะสมของเส้นใยประสาทพันกัน (neurofibrillary tangles: NFT) , amyloid plaques, dystrophic neurites, neuropil threads เป็นต้น รอยโรคจากการฝ่อ เช่น การสูญเสียประสาท, นิวโรพิล และซินแนปติก เมื่อเบต้าอะไมลอยด์มีการสะสมจะเกิดการรวมตัวเป็น อะไมลอยด์พราก (amyloid plaque) รวมตัวเป็นอะไมลอยด์ไฟบริลขนาดใหญ่และไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทและการทำงานของระบบประสาท ดังนั้นเมื่อมีการสะสมอะไมลอยด์พรากที่หนาแน่นในสมองส่วน ฮิบโปแคมปัส อะมิกดาลา และเปลือกสมอง ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นของแอสโตรไซต์และไมโครเกลีย เป็นผลให้แอกซอน เดนไดรต์ และการไซแนปส์ เกิดความเสียหายการสะสมของ NFT ที่เกิดจากความผิดปกติของโปรตีนเทาที่มีการสะสมของฟอสฟอรัสสูงขึ้น ส่งผลให้
ไมโครทูบูลเกิดความสูญเสีย ทำให้เกิดการขัดขวางการทำงานของระบบประสาท จนเกิดการตายของเซลล์ประสาทได้

แนวทางการรักษาโรคอัลไซเมอร์

รักษาด้วยยา

การใช้ยาไม่ได้เป็นการรักษาให้หายขาด แต่ยาสามารถช่วยชะลออาการเสื่อมของสมองได้ เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มการสารยับยั้ง cholinesterase ได้แก่ Donepezil (Aricept®), Rivastigmine (Exelon®), Memantine (Namenda®)

การดูแลสุขภาพ

เป็นการรักษาโดยไม่ใช้ยา ให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพ เช่น นอนหลับและดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรหากิจกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วย ที่ช่วยในการพัฒนาสมอง เช่น ฝึกประสมคำ ฝึกจำใบหน้า เกมส์คิดเลข

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยม คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโพรไบโอติก โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ โดยช่วยลดการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidative stress) ที่เกิดจาก  เบต้าอะไมลอยด์และโปรตีนเทา โดยการลดการทำงานของ Pro-inflammatory Cytokines เช่น Interleukin-1 β (IL-1), Interleukin-6 (IL-6), TNF-α (Tumor necrosis factor-α ), interferon gamma (IFN-γ)  ที่ได้จากการอักเสบ ลด reactive oxygen species (ROS) เป็นสารอนุมูลอิสระที่ได้จากกระบวนการ Oxidative stress นอกจากนี้โพรไบโอติกยังสารกรดไขมันสารสั้น short-chain fatty acids (SCFAs) สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาทเป็นผลให้กระบวนการ Synaptic plasticity ซึ่งเป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นการสร้าง Brain-Derived Neurotropic Factor (BDNF) เป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการเพิ่มของแขนงประสาท ซึ่งช่วยเพิ่มการเรียนรู้และการจดจำ ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก bioCRAFT bioCAP Gold ช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

อ้างอิง

Breijyeh Z, Karaman R. Comprehensive Review on Alzheimer’s Disease: Causes and Treatment. Molecules. 2020 Dec 8;25(24):5789.

Ciurea VA, Covache-Busuioc RA, Mohan AG, Costin HP, Voicu V. Alzheimer’s disease: 120 years of research and progress. J Med Life. 2023 Feb;16(2):173-177.