มาบ้าง ไม่มาบ้าง ปัญหาของผู้หญิงหลายคน

ในทุกๆ เดือน ผู้หญิงหลายคนต้องพบปัญหากับประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง หรือบางคนหายไปหลายเดือน หรือนี้คือสัญญาณที่ร่างกายกำลังสื่อสารถึงการมาของโรคต่างๆในผู้หญิงหรือไม่

ประจำเดือนคืออะไร

            ประจำเดือนคือ เลือดหรือเยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่ได้รับการปฎิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ  ในช่วงแรกของรอบเดือนฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) จะกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญตัวหนาขึ้น จากนั้นรังไข่จะมีการตกไข่จากรังไข่ข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อไข่เกิดการปฎิสนธิกับอสุจิจนเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวมายังมดลูกเพื่อฝังตัว โดยมีฮอร์โมนโปรเจสเตโรน (Progesterone) ซึ่งจะควบคุมการตกไข่ การกระตุ้นให้มีการสร้างผนังมดลูกให้หนาขึ้น หากเดือนใดที่ไข่ไม่ได้รับการปฎิสนธิจากอสุจิ ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตโรนจะลดลงเป็นผลทำให้มีการหลุดลอกของผนังมดลูกจนกลายเป็นประจำเดือน

ประจำเดือนปกติควรเป็นอย่างไร

  • ประจำเดือนปกติจะมีทุกๆ 28 – 30 วัน
  • โดยเฉลี่ยประจำเดือนจะมา 5 – 7 วัน
  • ปริมาณต่อวันไม่ควรเกิน 80 ซีซี

ประจำเดือนมาไม่ปกติคืออย่างไร

  • ประจำเดือนมากกว่ากว่าปกติ หรือ มากกว่า 80 ซีซีต่อวัน
  • ประจำเดือนมายาวนาน หรือ มากกว่า 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มาตามรอบ
  • ประจำเดือนมีลิ่มเลือดปน
  • มีเลือดออกกะปริบกะปรอยนอกรอบเดือน
  • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจากสาเหตุใด

  • ประจำเดือนไม่มาตามธรรมชาติ เช่น การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร
  • ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล โดยฮอร์โมนในการคุมการตกไข่ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งควบคุมด้วยต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เมื่อเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนทำให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมออาจทำให้ประจำเดือนมานานกว่าปกติ
  • โรคประจำตัว โรคบางอย่างมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนส่งผลให้ฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล โดยโรคที่พบเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครียด โรคอ้วน เบาหวาน โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
  • การใช้ยา โดยยาบางชนิดมีผลกับฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อมีการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล เช่น ยาปรับฮอร์โมน ยาต้านเศร้า ยาสำหรับอาการทางจิต ยาความดัน ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • พฤติกรรมและการดำเนินชีวิต พฤติกรรมต่างๆ มีผลกับความสมดุลของฮอร์โมน เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การนอนหลับ ความเครียด

ทำอย่างไรจึงจะทำให้ประจำเดือนมาปกติ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารที่มีประโชย์ต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
  • การนอนหลับหรือพักผ่อนอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ฮอร์โมนทำงานได้อย่างปกติและสมดุล
  • การจัดการกับความเครียด หากมีความเครียดสูงร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งจะไปรบกวนการทำงานสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำให้ต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล เป็นผลให้ ประจำเดือนขาด มาช้า หรือมาน้อยกว่าปกติ
  • การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  เช่น วิตามิน สมุนไพร สารสกัดจากธรรมชาติ  และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโพรไบโอติก  biocraft  Plus Sea buckthorn ประกอบด้วยโพรไบโอติกที่ช่วยในการปรับสมดุลของฮอร์โมนให้อยู่ในสภาวะสมดุล ลดสารอนุมูลอิสระที่มาจากความเครียด ลดระดับน้ำตาลและไขมันในกระแสเลือด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและเบาหวาน ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจาก ซีบัคธอร์น  อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ช่วยปรับฮอร์โมนเอสโทเจนให้สมดุล ป้องกันความดันโลหิตสูง ลดการแข็งตัวของเลือด ลดไขมันในเลือด และต้านอนุมูลอิสระ