ท้องผูก เปิดเคล็ดลับช่วยขับถ่ายแบบที่ไม่ต้องออกแรงและไม่ทำร้ายลำไส้

[ux_image id=”4913″][row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : วิลสัน วันเดอร์แลนด์

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

READ

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 14 Jan 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออุจจาระเป็นก้อนแข็งเหมือนลูกกระสุนมากกว่า 1 ใน 4 ครั้ง

        ขับถ่ายได้ยากหรือไม่ได้เลยหากไม่พึ่งยาระบาย และไม่สบายตัวแม้ว่าจะขับถ่ายแล้วก็ตาม หากมีอาการใดอาการหนึ่งนั่นแปลว่าเรา ท้องผูก เสียแล้ว คุณจูเลีย แอนเดอร์ส ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารจากเยอรมนีได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือชื่อ เคล็ดลับอายุยืนจากลำไส้ที่หมอไม่เคยบอกคุณ

[ux_image id=”4916″]

        คุณจูเลียเล่าว่าอาการท้องผูกเป็นผลมาจากเส้นประสาทและกล้ามเนื้อของลำไส้ทำงานไม่สอดคล้องกัน

        คือการลำเลียงอาหารที่กินเข้าไปจนถึงการย่อยอาหารยังปกติดีทุกขั้นตอน แต่เมื่อถึงขั้นตอนขับถ่ายที่ปลายลำไส้ใหญ่ เส้นประสาทและกล้ามเนื้อกลับตกลงกันไม่ได้ว่าจะปลดปล่อยออกมาดีหรือไม่ ถ้าถามว่าแค่ไหนเรียกท้องผูก สำคัญคือไม่ใช่จำนวนครั้งในการขับถ่าย แต่เป็นความยากในการขับถ่ายแต่ละครั้งต่างหาก คุณจูเลียเน้นย้ำและแบ่งปันเคล็ดลับสำหรับคนที่ขับถ่ายยากเอาไว้

        ใยอาหาร กระตุ้นให้ผนังลำไส้ทำงานได้

        เคล็ดลับแรกจากหนังสือโดยคุณจูเลียอธิบายเพิ่มเติมว่าใยอาหารจะไม่ถูกย่อยในลำไส้เล็กและเดินทางไปลำไส้ใหญ่เพื่อบอกกับลำไส้ของเราให้ขับถ่ายตามที่ควรจะเป็น อาหารบางอย่างไม่ได้มีแต่ใยอาหารแต่ยังช่วยดูดน้ำกลับเข้ามาที่ลำไส้ ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นด้วย และแน่นอนว่าการรับประทานใยอาหารจะไม่เห็นผลหากเราดื่มน้ำไม่เพียงพอ เพราะน้ำจะช่วยให้ใยอาหารพองตัวไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง และเมื่อร่างกายขาดน้ำ ลำไส้ก็จะไปดึงน้ำในอาหารที่รับประทานเข้าไปทำให้อุจจาระแข็งขึ้น

[ux_image id=”4917″]

        ถัดจากดื่มน้ำ เคล็ดลับต่อมาคืออย่าอั้นเมื่อรู้สึกปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำ หากใครขับถ่ายเป็นกิจวัตรทุกวันได้ก็ยิ่งดี เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่ชอบทำงานตามแผน และหากยิ่งอุจจาระอยู่ในลำไส้นานขึ้นก็จะยิ่งถูกดูดน้ำออกไปทำให้ขับถ่ายยากขึ้นด้วย คุณจุเลียยังบอกอีกว่าการรับประทานโปรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ก็เป็นเคล็ดลับที่ช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น เพราะเมื่อเรารับประทานโปรไบโอติกส์จะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ดีให้กับลำไส้ของเรา เมื่อลำไส้ที่ต้องทำงานหนักมีจุลินทรีย์ดีเข้าไปช่วยปรับสมดุลก็จะทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ไม่ต้องทนอยู่ในห้องน้ำเป็นชั่วโมงหรือรับประทานยาระบายที่ทำให้ลำไส้มีปัญหาตามมาอีกต่อไป

[/col][/row]

SAS Food Supplement.

[row][col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”4114″ image_size=”medium” link=”https://sasgroup.co/corporate/blissly-bioshot/”]
blissly bioshot
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”3637″ image_size=”medium” width=”63″ link=”https://sasgroup.co/corporate/biocap-7/”]
blissly biocap 7
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col][/row]