โนริสาหร่าย อาหารที่ดีกับร่างกายและโปรไบโอติกส์

[ux_image id=”5096″][row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : วิลสัน วันเดอร์แลนด์

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

READ

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 26 Jan 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        ถ้าเล่าง่ายๆ พรีไบโอติกส์คืออาหารของจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์ ส่วนใหญ่แล้วเราจะรู้จักพรีไบโอติกส์ในลักษณะที่เป็นพืชหัวอย่างหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง แต่ด้วยการสังเกตและทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เราได้รู้ว่าสาหร่ายทะเลแบบที่คนญี่ปุ่นและหลายคนรู้จักในชื่อ โนริ ก็ช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้เติบโตได้

       เมนูแรกที่เรานึกออกเมื่อพูดถึงสาหร่ายทะเลหรือโนริสาหร่ายคือ ซูชิ รวมไปถึงอาหารญี่ปุ่นประเภทต่างๆ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์สแตนฟอร์ด ได้แลกเปลี่ยนผลการวิจัยที่บอกว่า คาร์โบไฮเดรตเฉพาะที่ในสาหร่ายโนริสามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตของโปรไบโอติกส์บางสายพันธุ์ได้

       จุลินทรีย์ดีในลำไส้เจริญเติบโตเพราะอาหารต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไป หากเรารับประทานอาหารที่จุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์ชื่นชอบและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดี จะทำให้จุลินทรีย์ดีเพิ่มจำนวน และดูแลระบบทางเดินอาหาร ไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพดี ต่อสู้กับเชื้อโรคได้ นอกจากสาหร่ายทะเลจะสามารถเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์แล้ว ยังมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างจุลินทรีย์ในร่างกายของเราขึ้นมาใหม่ด้วย

[ux_image id=”5097″]

PIC A Photo by Elli from Pexels

        ผู้เชี่ยวชาญยังอธิบายต่อว่าคาร์โบไฮเดรตเฉพาะในโนริสาหร่ายที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของโปรไบโอติกส์ ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระด้วย ซึ่งอนุมูลอิสระจัดว่าเป็นสารอันตรายที่อาจทำลายเซลล์ของเราและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน รวมถึงโรคหัวใจ นอกจากต้านอนุมูลอิสระแล้ว พอลิฟีนอล (polyphenols) ที่อุดมอยู่ในสาหร่ายทะเลยังช่วยลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรังหลายประเภท

       พอลิฟีนอลในสาหร่ายทะเล ยังสามารถทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์หลายสายพันธุ์อย่าง Bifidobacterium, Lactobacillus, Bacteroides , Enterococcus, Akkermansia muciniphila และFecalibacterium prausnitzii

        ไม่ใช่แค่อาหารญี่ปุ่น สาหร่ายทะเลยังถูกนำมาทำอาหารเกาหลีอย่างกิมจิด้วย เมื่อเรารับประทานกิมจิที่มีส่วนผสมของอาหารทะเล เป็นเวลา 4 สัปดาห์จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตไปจนถึงการอยู่รอดของกรดแลคติคและจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา เรายังสามารถนำสารสกัดของสาหร่ายทะเลสีแดงมาปรับแต่งเพื่อสร้างเจลาตินแทนเจลาตินจากสัตว์

        ในอดีตสาหร่ายทะเลยังมีการใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์อีกด้วย เพราะสามารถช่วยปรับจำนวนประชากรจุลินทรีย์สายพันธุ์ Bifidobacterium longum, Lactobacillus acidophilus, Streptococcus salivarius และ Clostridium perfringens ในลำไส้ของสัตว์กระเพาะเดี่ยวได้ เรียกว่าโนริสาหร่ายจัดเป็นทางเลือกในการรับประทานพืชผักกลุ่มพรีไบโอติกส์เพื่อเสริมจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์ได้อีกทาง

 

อ้างอิง

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6627129/

https://med.stanford.edu/news/all-news/2018/05/scientists-use-dietaseaweed-to-manipulate-gut-bacteria.html

[/col][/row]

SAS Food Supplement.

[row][col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”4114″ image_size=”medium” link=”https://sasgroup.co/corporate/blissly-bioshot/”]
blissly bioshot
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”3637″ image_size=”medium” width=”63″ link=”https://sasgroup.co/corporate/biocap-7/”]
blissly biocap 7
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col][/row]