ข้างหลังเหมือง ความบอบช้ำของสายน้ำและชุมชน

[ux_image id=”3540″][gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        แหล่งน้ำธรรมชาติของชุมชนสำคัญพอๆ กับสัญญาณไวไฟ ผู้คนล้วนต้องพึ่งพิงสายน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงทุกโมงยามของชีวิต หลายชุมชนยังคงใช้แหล่งน้ำใกล้เคียงเพื่ออุปโภคบริโภค ปลูกผัก หาปลา แต่เมื่อมีเหมืองเข้ามาในพื้นที่ทำให้วิถีชุมชนหลายจุดเริ่มเปลี่ยนแปลง ต้องซื้อน้ำดื่ม ผู้คนล้มป่วย ส่งผลถึงการแพร่พันธุ์ของพืชและสัตว์

[ux_image id=”3541″]

Photo by Anne Barca from Pexels

        กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของเหมืองทองคำในสหรัฐก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและโลหะปนเปื้อน รัฐเวสต์เวอร์จิเนียในเขตแอปพาเลเชียลงทุนด้านเทคโนโลยีราวๆ 5-15 พันล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการระบายน้ำปนเปื้อนในเหมือง ไม่ใช่แค่น้ำและดิน เรายังพบฝุ่นละอองที่เกิดจากกระบวนการสกัดแร่เข้ามาโอบล้อมลมหายใจของธรรมชาติแทนที่อากาศบริสุทธิ์ เหมืองทองขนาดใหญ่ต้องใช้ไซยาไนด์เป็นจำนวนมากเพื่อชะลายโลหะและดึงโลหะออกจากเม็ดถ่านกัมมันต์แลกกับทองเพียงน้อยนิด

[ux_image id=”3542″]

Photo by Vlad Chețan from Pexels

        โดยทั่วไปแล้วไซยาไนด์มักถูกนำมาใช้กำจัดแมลง ในเรื่องโคนัน ไซยาไนด์ยังเป็นอาวุธฆาตกรรมอันดับต้นๆ องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศสหรัฐอเมริกา (USEPA) กำหนดให้ไซยาไนด์เป็นสารที่มีอันตรายร้ายแรงต่อมนุษย์ สามารถทำให้เสียชีวิตได้ แม้จะเป็นความเข้มข้นแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เพียง 1 ช้อนชาก็ตัดการเชื่อมต่อระหว่างเรากับโลกได้อย่างไม่เหลือเยื่อใย

        ประเทศไทยจัดไซยาไนด์เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผู้คนในชุมชนใกล้เคียงกับเหมืองอาจได้รับสารพิษชนิดนี้ซึมเข้าผิวหนังแบบไม่รู้ตัวจากการสัมผัสดินที่ปนเปื้อน เรามีโอกาสได้ดูรายการ สารตั้งต้น ในตอนที่ชื่อว่า หมู่บ้านสารพิษ รายการนำเสนอเรื่องราวของชาวบ้านรอบเหมืองทองคำ สารพิษจากเหมืองทำให้หลายคนมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ระคายเคืองผิงหนังและดวงตา ตาพร่า มีปัญหาทางเดินหายใจ ชาตามมือเท้าและมีอาการสั่น ชาวบ้านหลายคนเป็นไทรอยด์โต เด็กน้อยมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

        ด้วยความไม่รู้ เราคิดไปว่าหากปิดเหมืองสารพิษก็คงหายไปด้วย แต่ความจริงแล้วผู้เชี่ยวชาญเล่าว่าสารโลหะหนักจากเหมืองยังคงกระจายสู่สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเหมืองจะปิดตัวลงแล้วก็ตาม ปัญหาต่างๆ ยังคงซุกตัวอยู่กับผู้คนและสิ่งแวดล้อมรอบเขตเหมือง ไม่ว่าจะโรคติดต่อหรือวิถีชีวิตชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป

        สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) ลงสำรวจพื้นที่และพบว่าสายน้ำที่ไหลผ่านเหมืองใต้ดินใกล้เมือง Redding ในรัฐแคลิฟอร์เนียมีความเป็นกรดเข้มข้นสูงที่สุด ชนิดที่ว่าความเข้มข้นน้ำกรดสำหรับเติมในแบตเตอรี่ยังต้องยอมยกธงขาว

[ux_image id=”3543″]

Biomining Photo by www.americangeosciences.org

        เป็นเรื่องเศร้าที่ยังไม่มีสิ่งทดแทนสารอันตรายสำหรับสกัดแร่ แต่ก้าวเล็กๆ แห่งความหวังเริ่มดำเนินไปเมื่อมีการนำสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างจุลินทรีย์เข้ามาช่วยลดความเป็นกรดในน้ำจากเหมือง อย่างที่รู้กันว่าน้ำเสียจากเหมืองมีลักษณะเป็นกรดและปนเปื้อนด้วยสารโลหะหนัก Biomining เป็นกระบวนการใช้จุลินทรีย์แยกสารอันตรายออกจากน้ำ ปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณที่มีโลหะปนเปื้อน ปัจจุบันไบโอมินิ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเหมืองแร่โดยรวม ซึ่งอาจช่วยรักษาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชนเอาไว้ ให้ฝูงปลาในลำห้วยยังคงแหวกว่าย แม่น้ำหายใจได้สะดวก และคนในชุมชนมีปลาสดๆ ให้กินอย่างสบายใจ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://hia.anamai.moph.go.th/download/hia/manual/book/book39.pdf

https://www.americangeosciences.org/critical-issues/faq/what-biomining#:~:text=Biomining%20is%20the%20process%20of,bound%20up%20in%20solid%20minerals.

https://www.usgs.gov/special-topic/water-science-school/science/mining-and-water-quality?qt-science_center_objects=0#qt-science_center_objects

[/col][/row]