ความแตกต่างของพรีไบโอติกส์ที่ส่งผลถึงน้ำหนักตัว

[ux_image id=”3827″][gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        อาจเริ่มต้นจากความอยากใช้ประโยชน์ของสิ่งรอบตัวให้คุ้มค่า จึงมีผู้เชี่ยวชาญคิดค้นทดลองนำคาร์โบไฮเดรตที่มีชื่อยาวเหยียดว่า ไซโลโอลิโกแซคคาไรด์ (Xylooligosaccharide) มาใช้สำหรับเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์ อาหารเหล่านี้มักถูกเรียกรวมว่า พรีไบโอติกส์

        ปกติแล้วเราเองค่อนข้างคุ้นเคยกับ อินูลิน (Inulin) มากที่สุดเมื่อพูดถึงพรีไบโอติกส์ ถ้าให้เดาอาจเป็นเพราะความสั้นของชื่อหรือคล้ายกับชื่อเรียกอินซูลินที่มักได้ยินควบคู่กับคำว่าเบาหวานบ่อยๆ อินูลินเป็นหนึ่งในอาหารของโปรไบโอติกส์ที่พบได้ในหัวหรือรากของพืช แต่นอกจากอินูลินแล้ว ยังมีไซโลโอลิโกแซคคาไรด์เป็นอีกหนึ่งอาหารชั้นเยี่ยมของโปรไบโอติกส์ และนับว่าเป็นพรีไบโอติกส์ชนิดใหม่ (กว่าอินูลิน) อีกด้วย

        ความน่าสนใจคือไซโลโอลิโกแซคคาไรด์เป็นอาหารซึ่งทำให้จุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์ที่มีชื่อว่าบิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) เข้มข้นขึ้น และความพิเศษของเจ้าบิฟิโดแบคทีเรียตัวนี้คือยิ่งมันเข้มข้นขึ้นน้ำหนักเราก็จะยิ่งลดลงง่าย เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้ส่งผลต่อความอ้วนผอมได้ นี่อาจเป็นสิ่งที่ทำให้เรากระจ่างว่าทำไมบางคนกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน แต่บางคนกินเท่าแมวดมแท้ๆ น้ำหนักกลับเพิ่มไม่หยุดจนอยากจะทุบเครื่องชั่งทิ้งให้รู้แล้วรู้รอดไป

 

อ้างอิง
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5748811/#app1-nutrients-09-01361

[/col][/row]

SAS Food Supplement.

[row][col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”4114″ image_size=”medium” link=”https://sasgroup.co/corporate/blissly-bioshot/”]
blissly bioshot
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”3637″ image_size=”medium” width=”63″ link=”https://sasgroup.co/corporate/biocap-7/”]
blissly biocap 7
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col][/row]