AirDNA มีอะไรในอากาศ เมื่อโลกระบุตัวตนคน สัตว์ และไวรัสได้จากดีเอ็นเอในห้อง

[ux_banner bg=”6337″][text_box position_x=”5″ position_y=”90″ visibility=”hide-for-small”]

READ

AirDNA ผู้เชี่ยวชาญตรวจ DNA มนุษย์ได้จากอากาศเป็นครั้งแรก

ครั้งแรกของ DNA ที่รวบรวมได้ในอากาศและแค่เดินผ่านก็รู้ว่าใคร

[/text_box][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

READ

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 10 Apr 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        เคยคิดไหมว่า ถ้ามีใครแอบเข้ามาในห้อง แล้วเราระบุตัวตนได้จากอากาศที่เขาเดินผ่านจะเป็นอย่างไร

เมื่อเทคโนโลยีชีวภาพอย่างการตรวจหา DNA ที่ส่วนหนึ่งถูกใช้ในการสืบสวนสอบสวนกำลังก้าวเข้าสู่มิติใหม่ เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่เริ่มมีแสงแห่งความหวังครั้งใหม่ว่าอาชญากรรมเลวร้ายจะคลี่คลายได้ง่ายขึ้น

        โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตมักทิ้ง DNA หรือรหัสพันธุกรรมไว้ทุกที่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วของคน การปล่อยละอองเรณูของพืช น้ำลายของสัตว์ ซึ่งที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจหาดีเอ็นเอเหล่านี้ได้จากผิวน้ำไม่ก็ผืนดิน เราเรียกกันแบบเข้าใจว่าเป็นดีเอ็นเอสิ่งแวดล้อมหรือ eDNA

        แต่คุณ Elizabeth Clare และทีมของเธอจาก ควีนแมรี่ มหาวิทยาลัยลอนดอนไม่หยุดอยู่แค่นั้น พวกเขาเริ่มทดลองหาดีเอ็นเอในโพรงของตุ่นหนูไร้ขนและในห้องทดลองที่ตุ่นหนูไร้ขนอาศัยอยู่ โดยการดูดอากาศจากโพรงและห้องทดลอง ผ่านตัวกรองอากาศลักษณะคล้ายกับที่ใช้ในบ้าน จากนั้นนำมาแยกดีเอ็นเอและระบุชนิด

        ผลที่ได้น่าตื่นเต้นไม่แพ้หนังของไมเคิล เบย์ เมื่อทีมทดลองพบดีเอ็นเอของมนุษย์ทั้งจากอากาศบริเวณห้องและโพรงของตุ่นหนูไร้ขน ในตอนแรกทีมทดลองต่างคิดว่าเกิดการปนเปื้อน แต่เมื่อตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าไม่ใช่ ผู้เชี่ยวชาญจึงได้นิยามดีเอ็นเอในอากาศว่า airDNA และสิ่งที่คุณ Elizabeth คิดต่อคือเราจะได้ประโยชน์อะไรเมื่อสามารถรวบรวมดีเอ็นเอสิ่งแวดล้อมจากอากาศ แทนการเก็บตัวอย่างดินหรือน้ำ

        ในฐานะนักนิเวศวิทยา คุณ Elizabeth มีความหวังว่าเราจะสามารถใช้การตรวจจับดีเอ็นเอในอากาศเพื่อตามหาสัตว์สายพันธุ์หายากในพื้นที่จำกัดและอันตรายอย่างถ้ำ ใต้น้ำ หรือที่มืดได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงและรบกวนวิถีชีวิตของสัตว์เหล่านั้น

        ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะหาก airDNA แม่นยำ เราจะสามารถระบุตัวตนคนร้ายหรือฆาตรกรได้เลยจากอากาศในจุดเกิดเหตุ แม้จะไม่มีหลักฐานทางกายภาพอย่างเลือด เหงื่อ เส้นผมหรือลายนิ้วมือก็ตาม ไม่ใช่แค่นั้นการเก็บดีเอ็นเอในอากาศ ยังสามารถตรวจหาทิศทางและระยแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในอากาศ รวมถึงโควิดที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ด้วย

        คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก เพราะทีมวิจัยกำลังศึกษาว่า airDNA สามารถตรวจและระบุได้ในขนาดพื้นกว้างแค่ไหนและระยะไกลเพียงใด แม้ว่าตอนนี้ยังมีข้อจำกัดมากมาย แต่เราเชื่อว่าเทคโนโลยีชีวภาพและความสามารถของมนุษย์จะทำให้เป็นจริงได้อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับสมัยก่อนที่การตรวจลายนิ้วมือเพื่อระบุตัวตนยังเป็นสิ่งน่าเหลือเชื่อ ไม่ใช่เรื่องปกติเหมือนทุกวันนี้

 

อ้างอิง

https://peerj.com/articles/11030/

https://www.livescience.com/dna-collected-air.html

https://www.sciencedaily.com/releases/2021/03/210331085742.htm

[/col][/row]

SAS Food Supplement.

[row][col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”4114″ image_size=”medium” link=”https://sasgroup.co/corporate/blissly-bioshot/”]
blissly bioshot
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”3637″ image_size=”medium” width=”63″ link=”https://sasgroup.co/corporate/biocap-7/”]
blissly biocap 7
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col][/row]