ยาปฏิชีวนะต่อการดื้อยาความเปลี่ยนแปลงความสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารสัตว์

[ux_banner bg=”11750″ bg_size=”original”][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Feed & Farm

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 27 Sep 22

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

ยาปฏิชีวนะต่อการดื้อยาความเปลี่ยนแปลงความสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารสัตว์

การใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ จุดประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตมีการใช้มานานกว่า 50 ปี มาแล้ว แต่ภายหลังเริ่มมีกระแสการเกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์ ซึ่งสัตว์ปศุสัตว์ทั้งหมดจัดเป็นโปรตีนที่มนุษย์บริโภคการในชีวิตประจำวัน จึงทำให้กระแสการเกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์จากการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และในปัจจุบันเริ่มมีการลดและถอดยาปฏิชีวนะออกจากการผลิตสัตว์ออกบ้างแล้ว โดยตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2561 ได้แบ่งประเภทของยาปฏิชีวนะไว้ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

 1) ยาต้านแบคทีเรีย (Antibacterial drugs) คือ ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าทำลาย ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และ มัยโคพลาสม่า

 2) ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) คือ ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าทำลาย ยับยั้งการเจริญเติบโตของ รา ไวรัส พยาธิ โปรโตซัว

และจากการศึกษาผลของการใช้ยาปฏิชีวนะ Amoxicillin ในไก่เนื้อของ Schokker  et al. ที่ไก่เนื้อแรกเกิด โดยให้ยาต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า ในไก่เนื้อที่อายุ 2 สัปดาห์ ยาปฏิชีวนะส่งผลทำให้จำนวนของจุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มขึ้นในกลุ่มของ Enterobacteriaceae และ Enterococcaceae  และประชากรของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เช่น Lactobaciilus ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากจำนวนประชากรแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่ลดลงนั้นส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อต่ำลง เซลล์ภูมิคุ้มกันในลำไส้แมคโครฟาจ ลดลง          ในส่วนของการทดลองในสุกรต่อยาปฏิชีวนะ 3 กลุ่ม คือ Penicillin, Chlortetracycline และ Sufamethazine ทดสอบในลูกสุกรอายุ 18 สัปดาห์ โดยให้ยาต่อเนื่องเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เป็นอีกงานทดลองที่ยืนยันได้ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมดุลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารสัตว์ ซึ่งผลทดลองสรุปว่าในทางเดินอาหารของลูกสุกรพบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น E.Coli และ Shigella spp.  เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ลดลง และพบยีนดื้อยาของเชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดจากการใช้ยาถึง 6 ยีนที่แสดงออกมาสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ

จากผลกระทบของการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลทำให้เกิดแนวคิดการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบใหม่ คือปลอดยาปฏิชีวนะ แต่การจะถอดยาปฏิชีวนะออกนั้น จำเป็นต้องมีสิ่งทดแทนที่สามารถป้องกันและส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหารให้ดี และยังต้องช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมของสัตว์ให้ดีขึ้นอีกด้วย และสิ่งที่นำมาเสริมทดแทนยาปฏิชีวนะในปัจจุบันแบ่งออกคร่าวๆ ได้ 5 ประเภท คือ

[ux_image id=”11743″]

1.Organic Acid การเสริมกรดอินทรีย์ให้แก่สัตว์ ทำให้ทางเดินอาหารส่วนปลายของสัตว์มีสภาวะเป็นกรด ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคไม่สามารถเจริญเติบโต และมาทำลายผนังลำไส้ได้ โดยปกติแล้วเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาศัยอยู่ที่ทางเดินอาหารจะเป็นแบคทีเรียแกรมลบ จะมีชีวิตและเพิ่มจำนวนประชากรได้ใน pH สูงๆ (ด่าง) เมื่อเราปรับสภาพทางเดินอาหารให้มีสภาวะไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคแล้วก็จะส่งผลทำให้ลำไส้มีลักษณะที่ดีไม่ถูกทำลาย

[ux_image id=”11744″]

2. Butyric acid เป็นกรดไขมันสายสั้นที่ระเหยได้ (VFA) เป็นอาหารของผนังลำไส้เซลล์วิลไล เมื่อเสริม Butyric acid จะส่งผลทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง แต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็น Butyric acid นั้นจะต้องมการเคลือบเพื่อที่จะ by pass ไปแตกตัวที่ลำไส้เล็ก ความหนาของการเคลือบ Butyric acid นั้นก็ส่งผลต่อการไปแตกตัวที่ลำไส้เล็กโดยจะต้องเคลือบที่ความหนาเหมาะสม

[ux_image id=”11745″]

3.Live Yeast ยีสต์มีชีวิตคือ Probiotic ชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าไปในทางเดินอาหารก็จะส่งผลเช่นเดียวกับ Probiotic ก็คือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคไม่ให้เพิ่มจำนวนได้ เซลล์วิลไลก็จะไม่ถูกทำลายแล้วส่งผลต่อลักษณะลำไส้และสุขภาพ การดูดซึมสารอาหารที่ดีของสัตว์และยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบพึ่งเซลล์ในสัตว์ได้อีกด้วย

[ux_image id=”11746″]

4.Prebiotic คือ อาหารของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (Probiotic) โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของ Probiotic การที่ทางเดินอาหารมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ลำไส้ไม่ถูกทำลายด้วยเชื้อก่อโรค

[ux_image id=”11747″]

5.Probiotic คือ จุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรคเมื่อถูกนำมาใช้ในจำนวนที่มากพอจะส่งผลที่เป็นประโยชน์แก่สุขภาพของสัตว์ โดย Probiotic จะไปแย่งที่ในการเกาะผนังลําไส้ ทําให้เชื้อก่อโรค เช่น coli, Salmonella และ Clostridium จะไม่สามารถเกาะติดกับผนังลำไส้ได้ โดยจะแย่งการใช้สารอาหารของเชื้อก่อโรคทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ Probiotic จะหลั่งสารออกมายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค เช่น กรดอินทรีย์ และสารที่มีคุณสมบัติคล้ายยาปฏิชีวนะ การที่เชื้อก่อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้ส่งผลทำให้ลำไส้มีสุขภาพที่ดีเหมาะสมและมีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่นิยมนำมาเสริมในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน และสำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Probiotic กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้เช่นกัน SAS มีผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกสำหรับสัตว์ (Biotic Max) เป็นตัวที่ตอบโจทย์สำหรับการเสริมสร้างลักษณะลำไส้ที่ดีได้อย่างมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบทั้ง Live Yeast, Prebiotic และ Probiotic สัตว์จะได้รับทั้ง 3 อย่างไปพร้อมกันและจุดเด่นของ Biotic Max คือสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่ถูกคัดเลือกและนำมาใช้เป็นสายพันธุ์ที่สามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และยังสามารถหลั่งเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหารของสัตว์ เช่น Amylase และ Protease ได้อีกด้วย ดังนั้นจะส่งผลทำให้สัตว์มีลักษณะลำไส้และสุขภาพที่ดี ผลที่ตามมาก็คืออัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น และกำไรในการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย

[ux_image id=”11748″][ux_image id=”11749″][ux_text visibility=”hidden”]

สั่งซื้อคลิก:

🍫 blissly Milky Pro รส ON THE CHOC: http://bit.ly/milkyprochoc  

🍼 blissly Milky Pro รส REALITY IN WHITE: http://bit.ly/milkyprowhite  

 

อ้างอิง

https://nationaltoday.com/national-chocolate-day/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3566565/#:~:text=Chocolate%20or%20cocoa%20is%20considered,proanthocyanidin%20member%20in%20this%20class

[/ux_text][/col][/row] [section padding=”0px” padding__sm=”25px” visibility=”hidden”][row h_align=”center”][col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”][gap height__sm=”20px”][ux_text text_align=”center”]

related articles

[/ux_text] [gap height=”20px”][blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”11402,11375,11388″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”][/col][/row][/section]