แชร์

อาการของจุดซ้อนเร้นแก้ได้ด้วยโพรไบโอติก

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ค. 2024
377 ผู้เข้าชม

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย จากสถิติพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย อยู่บริเวณใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ดังนั้น แบคทีเรียจากภายนอกไม่ว่าจะมาจากช่องคลอดหรือสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปพบว่าเชื้อ Escherichia coli เป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) อาจนำไปสู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ไตและกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารกแรกคลอด (Neonatal meningitis) ซึ่งเชื้อนี้พบได้ในช่องคลอดของมารดาที่เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) อาการอักเสบมักเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ปัสสาวะกะปริบกะปรอยบ่อยครั้ง ปัสสาวะแสบขัด  ปัสสาวะสีขุ่น บางรายมีเลือดปนมากับปัสสาวะ มีอาการเจ็บเมื่อปัสสาวะเสร็จ ตกขาวผิดปกติ มีอาการคันและกลิ่นไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย ส่งผลถึงบุคลิกภาพ ความมั่นใจ และการใช้ชีวิตประจำวันให้กับคุณผู้หญิง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

1. กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ
2. ดื่มน้ำน้อย
3. ไม่รักษาสุขอนามัยให้เหมาะสม
4. จุลินทรีย์ในระบบปัสสาวะไม่ความไม่สมดุล

การป้องกันการติดเชื้อและโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

1. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
2. ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ เพื่อขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย
3. ทำความสะอาดหลังจากปัสสาวะหรืออุจจาระอย่างถูกต้อง
4. ทำความสะอาดร่างกายหลังมีเพศสัมพันธ์
5. การใช้ยาปฏิชีวนะ แต่อาจทำให้เกิดการดื้อยาได้
6. รักษาสมดุลโพรไบโอติกในลำไส้และช่องคลอด

 ร่างกายของเราเป็นที่อยู่ของเหล่าจุลินทรีย์ตัวเล็กๆ มากมายหลายชนิด ซึ่งอาศัยกันเป็นระบบนิเวศหรือชุมชนจุลินทรีย์ ที่เรียกว่า ไมโครไบโอต้า เช่น ไมโครไบโอต้าบนผิวหนัง ไมโครไบโอต้าในระบบทางเดินอาหาร ไมโครไบโอต้าของระบบขับถ่าย และ ไมโครไบโอต้าในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ดังนั้นการที่ระบบต่างๆในร่างกายจะทำงานได้ดีและเป็นปกติ จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเหล่านนั้น ก็ควรเป็นชนิดที่ดี ไม่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เราเรียกจุลินทรีย์ชนิดดีเหล่านั้นว่า โพรไบโอติก โพรไบโอติกจะทำหน้าที่ในการยับยั้ง ควบคุม และปรับสมดุลจุลินทรีย์ในระบบนิเวศนั้นๆ ให้มีความสมดุลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ ช่องปากไปจนถึงลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และยังมีไมโครไบโอต้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับระบบขับถ่ายคือ ไมโครไบโอต้าช่องคลอด  การไม่สมดุลของไมโครไบโอต้าในระบบปัสสาวะนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น การทีเรามีจุลินทรีย์ดีในระบบทางเดินอาหารก็จะส่งผลไปถึง ช่องคลอดและระบบทางเดินปัสสาวะได้ โดยทั่วไปแล้ว ช่องคลอดจะมี pH เป็นกรดอ่อนๆ (pH 3.8-4.2) ซึ่งเป็นสภาวะที่ชุมชนโพรไบโอติก โดยเฉพาะกลุ่ม แลคโตบาซิลลัส สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียก่อโรคต่างๆ ไม่ให้ก่อโรค เช่น การตกขาว การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซึ่งอาจทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบตามมา อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการคัน มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ส่งผลต่อบุคลิกและการใช้ชีวิตประจำวันได้            

จากงานวิจัยพบว่า การปรับสมดุลจุลินทรีย์ในช่องคลอดทำได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีการเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกาย โดยมีการให้อาสาสมัครผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 125 คน รับปะทาน โพรไบโอติก L. rhamnosus และ L. reuteri ชนิดแคปซูลปริมาณ พันล้านตัวต่อวัน เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ให้รับประทานยาต้านเชื้อรา เป็นเวลา 12 เดือน พบว่า กลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติกมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลดลงไม่แตกต่างกับการใช้ยา แต่การรับประทานโพรไบโอติกนั้นจะทำให้เชื้อราไม่เกิดการดื้อยาเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยา ดังนั้น นอกจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว การเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกาย การใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติปรับสมดุลก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำๆ และเป็นการลดการการใช้ยาปฏิชีวนะได้อีกด้วย

ref :
https//www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/cystitis/    

https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A 

https://yesmomfertility.com/blog/th/bv-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C/https://www.pidst.or.th/A753.html 

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22782199/ 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank)
บนโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์นับหมื่นนับแสน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล แต่ปัจจุบันเราสามารถศึกษาได้เพียง 1% ของจุลินทรีย์ทั้งหมดบนโลก ดังนั้นคำถามสำคัญคือ “เราจะทำอะไรกับจุลินทรีย์ที่เรามีอยู่ในมือได้บ้าง?” เพื่อหาคำตอบนี้ จึงได้เกิดแนวคิด ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank) ขึ้นมา ธนาคารจุลินทรีย์เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูล และตัวอย่างจุลินทรีย์ที่รวบรวมไว้เพื่อการอนุรักษ์ วิจัย และพัฒนา นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทยมี ธนาคารจุลินทรีย์แห่งชาติ (NBT - National Biobank of Thailand) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาจุลินทรีย์ให้คงอยู่ในระยะยาวและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจุลินทรีย์ การจัดการธนาคารจุลินทรีย์จำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เช่น ได้รับการรับรอง ISO9001 ซึ่งเน้นคุณภาพของตัวอย่างจุลินทรีย์ และ ISO20387 ที่เป็นมาตรฐานการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
6 ก.พ. 2025
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy