ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank)
อัพเดทล่าสุด: 6 ก.พ. 2025
371 ผู้เข้าชม
งานวิจัยและการเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์
โดย : ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ชัพพลาย จำกัด
ดร.วิเชียร ยงมานิต ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ กล่าวว่า ธนาคารจุลินทรีย์ของบริษัท SAS ได้รวบรวมจุลินทรีย์ไว้ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่บาซิลลัสและแล็กโตบาซิลลัสซึ่งนำไปใช้ในการผลิตจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับสัตว์เศรษฐกิจเช่น หมู ไก่ และกุ้ง กระบวนการเหล่านี้ต้องเป็นไปตามกฎหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ระบุชนิดจุลินทรีย์ที่สามารถใช้เป็นโพรไบโอติกได้อย่างชัดเจน
ในการหาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ ทีมงานของดร.วิเชียร ได้เดินทางเก็บตัวอย่างจากแหล่งธรรมชาติในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเช่น พื้นที่ภาคเหนือของไทยและเขตรอยต่อของพม่า โดยมุ่งเน้นจุลินทรีย์ที่พบในอาหารหมักดองแบบดั้งเดิม เช่น ถั่วเน่า จากนั้นจึงคัดแยกและวิเคราะห์ดีเอ็นเอเพื่อระบุสายพันธุ์อย่างแม่นยำข้อมูลที่ได้จะถูกเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลระดับโลกเพื่อยืนยันชื่อและความเป็นเอกลักษณ์ของจุลินทรีย์นั้น ๆ
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ประจำถิ่น
จุลินทรีย์ประจำถิ่นของไทยมีข้อดีที่โดดเด่นเพราะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม มนุษย์ และสัตว์ ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีเนื่องจากจุลินทรีย์ที่เกิดและเติบโตในพื้นที่เฉพาะจะเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตในประเทศนั้นๆมากกว่า ดังนั้นจุลินทรีย์ของไทยจึงเหมาะสมกับคนและสัตว์ในประเทศไทยเช่นเดียวกับคนเกาหลีก็เหมือนสมกับจุลินทรีย์ในอาหารเกาหลีเหมือนกันธนาคารจุลินทรีย์ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์จุลินทรีย์ในระยะยาวรวมถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในหลายด้าน เช่น
- การพัฒนายารักษาโรค
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับสัตว์
- เทคโนโลยีชีวภาพที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการเกษตร
ธนาคารจุลินทรีย์ไม่เพียงช่วยเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพแต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาวทั้งในด้านการสร้างงานการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมต่างๆและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญด้วยความหลากหลายของจุลินทรีย์ในประเทศไทยธนาคารจุลินทรีย์จึงเป็นกุญแจสำคัญในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
โดย : ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ชัพพลาย จำกัด
บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี
ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์
แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล
น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024