สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี
_____________________
ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล
น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
พืช น้ำ สัตว์...
ต้นทางผลิตสู่ปลายทางถึงผู้บริโภค
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน เกษตรกรนิยมปลูกพืช โดยใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง เคมีเหล่านี้ไม่ได้ฆ่าเฉพาะแมลง แต่ฆ่าจุลชีพที่มีประโยชน์ในดินด้วย เมื่อใช้ไปแล้วก็ไม่ได้ สลายไปไหน ตกค้างในดินทั้งปุ๋ยเคมีทั้งยาฆ่าแมลง วันหนึ่ง ฝนตก เคมีจากดินจะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ส่งผลให้เกิด แพลงก์ตอนบลูม (Plankton Bloom) แหล่งน้ำขาดออกซิเจน ปลาน็อกน้ำตายเป็นแสนตัว ล้านตัว พอสัตว์น้ำตาย เกษตรกรที่อาศัยแหล่งน้ำนั้นทํามาหากิน ไม่ว่าจะเป็นการ เลี้ยงปลากระชังหรือจับปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติก็ได้รับ ผลกระทบ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
มิติต่อมาเรื่องดิน การใส่ปุ๋ยเคมีไปเรื่อย ๆ จุลินทรีย์ ในดินก็มีน้อยลงหรือไม่มี ส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพ ดิน จะเก็บแร่ธาตุต่างๆ ไว้ไม่ได้ พืชขาดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ เกิดโรคพืชง่ายขึ้น มิติต่อมาเรื่องกระบวนการปลูกพืช การ เตรียมแปลงที่ใช้วิธีการเผา เกิดวิกฤติสภาพอากาศจาก PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ การได้รับ PM2.5 ยาวนานส่งผลต่อ ระบบภูมิคุ้มกันและก่อให้เกิดมะเร็งปอด และยังไปกระทบกับ การท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ พอนักท่องเที่ยวดูสภาพอากาศ แทนที่จะจองตั๋วเครื่องบินบินไปพัก ก็เปลี่ยนไปจังหวัดอื่น หรือไปต่างประเทศแทนเพราะไม่อยากพาตัวเองไปเสี่ยงกับ PM2.5
ส่วนกระบวนการผลิตอาหาร ทุกวันนี้ผู้บริโภค ให้ความสําคัญกับอาหารปลอดภัย เช่น เมื่อมีข่าวองุ่นปนเปื้อนสารเคมี หรือเนื้อสัตว์หากมีแอนตี้ไบโอติก ตกค้างก็ไม่มีใครกล้าซื้อ ทุกวันนี้มีผู้ป่วยจํานวนมากใน โรงพยาบาลเสียชีวิตจากภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ซึ่งกลุ่ม แบคทีเรียดื้อยามาจากหลายทิศทาง
ทั้งจากการที่เราซื้อยาแอนตี้ไบโอติกกินเอง กินไม่ครบ โดส การกินเนื้อสัตว์ที่มีแอนตี้ไบติกตกค้างอยู่ รวมถึง การกินอาหารประเภทสุกๆ ดิบๆ ก็ทําให้ร่างกายได้รับเชื้อ แบคทีเรียในเนื้อสัตว์ที่มีภาวะดื้อยาอยู่แล้ว
จะเห็นว่าตลอดห่วงโซ่อาหารเสียสมดุลไปเพราะเราใช้สารเคมีเกินจําเป็นและไม่ถูกต้อง คุณหมอเจี๊ยบเล่าทางเลือก ที่เป็นทางรอดของปัญหาห่วงโซ่อาหารไม่สมดุลว่า เราสามารถ ใช้พระเอกที่เป็นผู้ย่อยสลายตามธรรมชาติอย่าง จุลินทรีย์ มาช่วยได้
จากนักวิจัยสู่นักปลูก นักผลิต
ผมเคยเป็นนักวิจัยทางด้านโรคสัตว์ในบริษัทใหญ่มา เกือบ 20 ปี พอผันตัวมาเป็นเกษตรกร แต่ยังมีวิธีคิดแบบ นักวิจัยอยู่ ก็เลยผสมผสานงานวิจัยและทําเกษตรเชิงลึก ที่ใช้ได้จริง โดยใช้จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียเพื่อทําการเกษตร ที่ปลอดภัยและสมบูรณ์ สมบูรณ์ในที่นี้หมายถึงไม่ใช้ยาปฏิชีวนะหรือแอนตี้ไบโอติกเลย พอทําแล้วเห็นผล ก็คิด ต่อยอดสู่ปศุสัตว์ในกลุ่มสัตว์น้ำสัตว์บก
จุลินทรีย์มี 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ก่อโรคและจุลินทรีย์ไม่ก่อโรค หลักการคือ ทําให้จุลินทรีย์ไม่ก่อโรคชนะจุลินทรีย์ก่อโรค เพราะจุลินทรีย์ไม่ก่อโรคจะผลิตเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถไปยับยั้งเชื้อก่อโรค คล้ายๆ กับการกินยาแอนตี้ไบโอติก จุลินทรีย์จําเป็นต้องใช้เพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อม และปรับสมดุลภายในของสัตว์ เพื่อเป็นการป้องกันมากกว่ารักษา ถ้าเราคิดถึงในแง่ของการทําปศุสัตว์และการทําฟาร์ม ถ้าสัตว์ฟาร์มเรามีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ป่วย เรียกว่า ระบบ ป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) ดี ไม่มีจุดอ่อน ส่งผลให้ ผลผลิตมากขึ้น กําไรก็มากขึ้น
ส่วนในเรื่องสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม จุลินทรีย์จะมาเสริม 2 จุด คือ การป้องกันโรคระบาด และช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ให้สูงขึ้น ลดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ลดกลิ่นต่าง ๆ เช่น ในฟาร์มเลี้ยงไก่เป็นหมื่น ๆ ตัว ไก่ขับถ่ายทุกวันจะมี แอมโมเนียสูงมาปะปนกับมูลไก่ ถ้าเราผสมโพรไบโอติก ไปในอาหารและใช้จุลินทรีย์มาเทราดพื้นฟาร์ม จุลินทรีย์ จะกินแอมโมเนียทําให้กลิ่นต่างๆ ลดลง อากาศในฟาร์มจะ ดีขึ้น นอกจากนี้ในฟาร์มสัตว์น้ํา เช่น กุ้งและปลา การ ลดสารพิษในน้ำด้วยวิธีนี้จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง เจ็บป่วย น้อยลง และลดการใช้แอนตี้ไบโอติกได้
นอกจากจะดีกับระบบในฟาร์มปศุสัตว์แล้ว ทุกๆ กิจกรรมของฟาร์มต้องมีการทิ้งน้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็จะเป็นน้ำทิ้งที่มีค่าเหมาะสม ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ
จุลินทรีย์ตัวช่วยห่วงโซ่อาหารปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ของ SAS เป็นสายพันธุ์จาก ในประเทศ เรามีทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยชั้นนําของประเทศ เราสร้างเทคนิคและ มาตรฐานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี เป็นผลิตภัณฑ์คนไทย โดยคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีหลาย ๆ ประเทศติดต่อ เข้ามาเพื่อต้องการผลิตภัณฑ์ของเราไปจําหน่าย
เราเชื่อว่าในอนาคตประเทศไทยจะแข่งขันกับนานาชาติ ในเรื่องเดิมๆ ไม่ได้แล้ว มิติของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การดูแลสิ่งแวดล้อมหรืออาหารปลอดภัยเป็นเทรนด์ของโลก และเป็นเทรนด์ที่ยั่งยืน ด้วยสถานการณ์โลกร้อน (Global Warming) สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว ปีนี้เรา เริ่มเห็นแล้ว แต่ต่อไปจะหนักขึ้น ไม่มีคําว่าลดน้อยลง สิ่งที่ประเทศไทยทําได้และทําได้ดีคือ แหล่งอาหารปลอดภัย ของโลก เราจะเป็นประเทศที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแล สุขภาพคน ดูแลสุขภาพสัตว์และพืช ถ้าเราทําตรงนี้ได้ก็ถือเป็นอนาคตของประเทศไทยได้
อธิบายให้เห็นภาพ เรากําลังทําอาหารสักจาน ทําผัดกะเพรากุ้ง มีใบกะเพราจากแหล่งปลูกที่ไม่ใช้สารเคมี มีข้าว ที่ปลูกในพื้นที่ ที่ใช้กระบวนการปลูกที่ไม่เผาตอซัง ไม่ทําให้ โลกร้อน เป็นข้าวสายพันธุ์ดี ใช้กุ้งที่เลี้ยงในบ่อปลอดสาร แอนตี้ไบโอติก เมื่อทุกอย่างมาปรุงรวมกัน นี่คือแหล่ง อาหารปลอดภัย คนกินก็สุขภาพดี ทั้งหมดถูกเชื่อมโยง กันหมดจากการใช้จุลินทรีย์
ต้นแบบเทคโนโลยี ชีวภาพจุลินทรีย์
คุณหมอเจี๊ยบถ่ายทอดแนวคิดของตนเองว่า เขาเห็นใครที่เป็นต้นแบบของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ในประเทศไทย
จุดเริ่มต้นของจุลินทรีย์ในประเทศไทย ผมนึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9
ท่านเป็นโมเดลต้นแบบ ตั้งแต่โครงการแกล้งดิน การแก้ปัญหาดินเป็นกรดถ้าไปถามนักวิชาการก็ให้ใส่สารเคมีลงไปเพื่อให้กรดหาย แต่ในหลวงท่านทรงใช้วิธีเพิ่มกรดลงไป แกล้งให้ดินคลายกรดออกมา
นอกจากนั้นก็มีทฤษฎีการปลูกหญ้าแฝก ดิน ที่เสื่อมสภาพจากการใช้ปุ๋ยเคมีจะเป็นดินที่แข็งมาก ปลูกพืชอะไรก็ไม่ได้ ในหลวงท่านทรงใช้หญ้าแฝก ปลูกเพื่อให้รากเจาะลึกชอนไชลงไปในดิน รากหญ้าแฝก ลึก 3 - 4 เมตร และคุณสมบัติของหญ้าแฝกคือ กักเก็บอินทรียวัตถุ ในหลวงฟื้นฟูภูเขาหัวโล้นด้วย การปลูกหญ้าแฝก ฝนตกลงมาดินโคลนไม่ไหลถล่ม แบบเชียงใหม่ เชียงราย ผมมองว่านี่คือจุดเริ่มต้นท่านทรงทำมาไม่ต่ำกว่า 30 - 40 ปี ก่อนที่จะมีใคร มาพูดถึงเรื่องจุลินทรีย์ชีวภาพ