แชร์

พิชิดภาวะอ้วนลงพุงด้วยโพรไบโอติก

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ค. 2024
410 ผู้เข้าชม

การใช้ชีวิตแบบสังคมเมืองในปัจจุบัน การรับประทานอาหารแบบตะวันตก การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกายและขาดการดูแลสุขภาพ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมที่เร่งรีบซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเร่ง ที่ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะอ้วนลงพุงหรือภาวะเมทาบอลิกซินโดรมได้

ภาวะอ้วนลงพุง หรือภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) คือ ร่างกายมีการเผาผลาญที่ทำงานผิดปกติไป มีการเพิ่มขึ้นของเซลล์ไขมันโดยมักจะเกิดร่วมกับการมีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักตัวเกิน น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เกิดการสะสมไขมันในตับ จนนำไปสู่การเกิดโรคไขมันพอกตับและตับอักเสบตามมาได้ จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชากรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2552 พบภาวะเมแทบอลิกซินโดรมในประชากรไทยอายุ 20 ปีขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 23.2 โดยผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งช่วงอายุที่พบความเสี่ยงมากจะอยู่ในช่วง 50 ปีขึ้นไป

การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมทาบอลิกซินโดรม ทำได้ง่าย ทำได้เอง

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยต้องควบคุมปริมาณและชนิดอาหารที่กินให้เหมาะสม เน้นกินโปรตีนเป็นหลัก เสริมด้วยผัก ผลไม้ ลดอาหารประเภทแป้งและอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด ผัด และต้องลดอาหารเค็ม หรืออาหารโซเดียมสูง

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการคาร์ดิโอ หรือการออกกำลังแบบแอโรบิก และต้องออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วย โดยทำให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-60 นาที ทั้งนี้เมื่อออกกำลังกายแล้วก็ต้องควบคุมปริมาณแคลอรีจากอาหาร เพื่อช่วยให้น้ำหนักลดลง หัวใจแข็งแรงขึ้น ทำให้ระดับความดันโลหิตดีขึ้น ระดับน้ำตาลและไขมันชนิดเลวในเลือดลดลง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

3. ดูแลระบบทางเดินอาหาร การดูแลระบบทางเดินอาหาร อาจเป็นปัจจัยเริ่มต้นเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะลำไส้ ที่มีหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ ทำให้ระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตัวช่วยในการดูแลลำไส้ หรือเจ้าบ้านที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ที่เรียกว่า โพรไบโอติก จุลินทรีย์ชนิดดี ที่คอยดูแลปกป้องลำไส้ของเราให้ทำงานดีเป็นปกติก ช่วยยับยั้งเชื้อก่อโรค อีกทั้งยังมีโพรไบโอติก บางสายพันธุ์ที่มีกลไกในการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยลดการดูดซึมคอเรสเตอรอลเข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Bifidobacterium animalis TA-1,  Lactobacillus paracasei MSMC39-1 และ Lactobacillus reuteri TF314  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยที่มีงานวิจัย สามารถลดระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล LDL ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดปริมาณไขมันในเนื้อเยื้อตับได้ ดังนั้นการเสริมจุลินทรีย์ดีให้แก่ลำไส้ ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับลำไส้และยังลดภาวะเมทาบอลิกซินโดรมได้อีกด้วย

REF:
https://www.phyathai.com/article_detail/3862/th/Metabolic_Syndrome 


บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy