Share

พิชิดภาวะอ้วนลงพุงด้วยโพรไบโอติก

Last updated: 4 Jul 2024
353 Views

การใช้ชีวิตแบบสังคมเมืองในปัจจุบัน การรับประทานอาหารแบบตะวันตก การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกายและขาดการดูแลสุขภาพ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมที่เร่งรีบซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเร่ง ที่ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะอ้วนลงพุงหรือภาวะเมทาบอลิกซินโดรมได้

ภาวะอ้วนลงพุง หรือภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) คือ ร่างกายมีการเผาผลาญที่ทำงานผิดปกติไป มีการเพิ่มขึ้นของเซลล์ไขมันโดยมักจะเกิดร่วมกับการมีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักตัวเกิน น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เกิดการสะสมไขมันในตับ จนนำไปสู่การเกิดโรคไขมันพอกตับและตับอักเสบตามมาได้ จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชากรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2552 พบภาวะเมแทบอลิกซินโดรมในประชากรไทยอายุ 20 ปีขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 23.2 โดยผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งช่วงอายุที่พบความเสี่ยงมากจะอยู่ในช่วง 50 ปีขึ้นไป

การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมทาบอลิกซินโดรม ทำได้ง่าย ทำได้เอง

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยต้องควบคุมปริมาณและชนิดอาหารที่กินให้เหมาะสม เน้นกินโปรตีนเป็นหลัก เสริมด้วยผัก ผลไม้ ลดอาหารประเภทแป้งและอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด ผัด และต้องลดอาหารเค็ม หรืออาหารโซเดียมสูง

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการคาร์ดิโอ หรือการออกกำลังแบบแอโรบิก และต้องออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วย โดยทำให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-60 นาที ทั้งนี้เมื่อออกกำลังกายแล้วก็ต้องควบคุมปริมาณแคลอรีจากอาหาร เพื่อช่วยให้น้ำหนักลดลง หัวใจแข็งแรงขึ้น ทำให้ระดับความดันโลหิตดีขึ้น ระดับน้ำตาลและไขมันชนิดเลวในเลือดลดลง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

3. ดูแลระบบทางเดินอาหาร การดูแลระบบทางเดินอาหาร อาจเป็นปัจจัยเริ่มต้นเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะลำไส้ ที่มีหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ ทำให้ระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตัวช่วยในการดูแลลำไส้ หรือเจ้าบ้านที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ที่เรียกว่า โพรไบโอติก จุลินทรีย์ชนิดดี ที่คอยดูแลปกป้องลำไส้ของเราให้ทำงานดีเป็นปกติก ช่วยยับยั้งเชื้อก่อโรค อีกทั้งยังมีโพรไบโอติก บางสายพันธุ์ที่มีกลไกในการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยลดการดูดซึมคอเรสเตอรอลเข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Bifidobacterium animalis TA-1,  Lactobacillus paracasei MSMC39-1 และ Lactobacillus reuteri TF314  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยที่มีงานวิจัย สามารถลดระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล LDL ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดปริมาณไขมันในเนื้อเยื้อตับได้ ดังนั้นการเสริมจุลินทรีย์ดีให้แก่ลำไส้ ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับลำไส้และยังลดภาวะเมทาบอลิกซินโดรมได้อีกด้วย

REF:
https://www.phyathai.com/article_detail/3862/th/Metabolic_Syndrome 


Related Content
"Research on Probiotics: How Microorganisms Benefit Life" by Associate Professor Dr. Malai Thaveechotiphat, Project Advisor and Product Developer of bioCRAFT by SAS, will provide answers to these questions for us.
Research on Probiotics : How Do Microorganisms Benefit Life? For over two decades—more than half a lifetime—dedicated to probiotics in every breath and every story, Associate Professor Dr. Malai Thaveechotiphat, Project Advisor and Product Developer of bioCRAFT Human by SAS, will share the answers with us.
17 Dec 2024
Thai Innovation in Probiotics for the Health of Thai People
Thai Innovation in Probiotics for the Health of Thai People Probiotics have become a prominent health trend over the past few years and continue to garner attention for the foreseeable future. This is due to extensive research affirming the numerous health benefits of probiotics. Dr. Kaikwa Wuttisan, also known as Dr. Bank, a Product Specialist at Siam Agri Supply Co., Ltd. (SAS), is here to explain the remarkable benefits probiotics offer for our health.
17 Dec 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy