ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โพรไบโอติกลดลง

[ux_banner bg=”11391″ bg_size=”original”][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Food & Health

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 16 Sep 22

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โพรไบโอติกลดลง

ร่างกายของมนุษย์สามารถสูญเสียโปรไบโอติกจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและปัจจัยเร่งจากพฤติกรรม ถ้าไม่อยากให้จุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลดน้อยลง ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านี้

[ux_image id=”11392″]

การเติมจุลินทรีย์ที่ดี (PROBIOTICS) ให้ร่างกาย

เราสามารถเพิ่มโปรไบโอติกให้กับร่างกายได้โดยการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติกและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโปรไบโอติก พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและปรับลดพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้โปรไบโอติกลดลง

[ux_image id=”11389″]

แนะนำอาหารที่ช่วยเพิ่มโปรไบโอติกให้กับร่างกาย

อาหารมีมากมายหลากหลายประเภท อาทิ อาหารฟาสฟู้ด อาหารญี่ปุ่น หรืออาหารหมักดอง จะมีอาหารประเภทใดบ้างที่ช่วยเพิ่มปริมาณโปรไบโอติกในร่างกายให้สูงขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหารสามารถทำงานได้เต็มที่ มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายที่จะตามภายหลัง จะมีเมนูไหนที่น่าสนใจบ้าง? เริ่มอ่านกันเลย

1.โยเกิร์ต

ผลิตภัณฑ์จากนมซึ่งเกิดจากการหมักระหว่างนมและจุลินทรีย์ดีที่มีชีวิต ทำให้ได้โยเกิร์ตมีลักษณะข้นและมีรสชาติที่เปรี้ยว อร่อยสดชื่น ทานง่าย นอกจากนี้โยเกิร์ตยังมีปริมาณของโปรไบโอติกที่สูงมากดีต่อระบบทางเดินอาหาร สำหรับท่านที่มีปัญหาท้องผูกแนะนำให้รับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำ เพราะโปรไบโอติกสามารถช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และอุดมด้วยโปรตีนช่วยให้อิ่มท้องอีกด้วย

2.กิมจิ

ผักดองของประเทศเกาหลี เครื่องเคียงอาหารที่มีรสชาติเปรี้ยว เผ็ด นอกจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว กิมจิยังขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยโปรไบโอติกซึ่งเกิดมาจากการหมักดองมาเป็นเวลานาน จนเกิดจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกายอย่างโปรไบโอติกขึ้นมา ซึ่งโปรไบโอติกที่มีในกิมจิและอาหารหมักดองนั้น จะมีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานเป็นปกติ รวมถึงช่วยปรับสมดุลการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ดีอีกด้วย

3.นัตโตะ

หรือ ถั่วเน่าญี่ปุ่น เมนูอาหารเช้าประจำของคนญี่ปุ่น มีลักษณะเหนียว ลื่น และมีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งเกิดมาจากการนำถั่วเหลืองมาต้ม ห่อด้วยฟางข้าวจนเกิดการหมัก วิธีทำนัตโตะคล้ายกับวิธีทำถั่วเน่าไทยทางภาคเหนือ นัตโตะจัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีโปรไบโอติกธรรมชาติซึ่งเกิดมาจากการหมักดองมาเป็นเวลานานเช่นเดียวกันกับกิมจิ ถึงเม็ดเล็กแต่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่ประโยชน์ต่อร่างกาย

4.เทมเป้

ถั่วเหลืองหมัก อาหารพื้นเมืองของชาวอินโดนิเซีย เทอเป้ทำมาจากการหมักบ่มถั่วทั้งเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ Rhizopus Oligosporus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ จนเป็นโปรไบโอติกส์ การหมักของจุลินทรีย์ทำให้เกิดเส้นใยสีขาวช่วยยืดถั่วเหลืองให้ติดกันแน่นจนเป็นก้อน สามารถนำไปทอด ผัด รับประทานทานเปล่า ๆ ก็ได้ หรือจะนำไปประกอบอาหารต่าง ๆ และเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับคนรักสุขภาพที่สามารถรับประทานแทนเนื้อสัตว์ได้

[/col][/row] [section padding=”0px” padding__sm=”25px”][row h_align=”center”][col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”][gap height__sm=”20px”][ux_text text_align=”center”]

related articless

[/ux_text] [gap height=”20px”][blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”11402,11375,11356″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”][/col][/row][/section]