เบื้องหลังน้ำดื่มรสกร่อยที่มีภาวะโลกร้อนเป็นเหตุ

[ux_image id=”5240″][gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

น้ำหยดลงหินทุกวัน หินบอกทำไมน้ำเค็มจัง

ในช่วงหน้าแล้งของประเทศไทยมักพบปัญหาน้ำกร่อยอยู่บ่อยครั้ง เราไม่ได้ชวนต้มน้ำดื่ม แต่จะมาเล่าให้ฟังว่าน้ำกร่อยเกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อนอย่างไร

How dare you วลีโด่งดังจาก เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม วัย 16 ปี หนึ่งสิ่งที่เธอกล่าวแล้วกระทบใจเราอย่างมากคือในขณะที่สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเข้าขั้นวิกฤต ทุกคนกลับสนใจแต่ระบบเศรษฐกิจ จนเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเธอต้องออกมาเคลื่อนไหวแทนที่จะได้ไปโรงเรียนและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

เมื่อโลกร้อนขึ้น ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายกลายเป็นน้ำจืดไหลลงสู่ทะเล เมื่อน้ำจืดรวมกับน้ำทะเลจึงเกิดเป็นน้ำกร่อย ถึงแม้ประเทศเราจะมีเขื่อนกักเก็บน้ำแต่เพราะผู้คนใช้น้ำเพิ่มขึ้นมาก ก็เหมือนเรามีน้ำจืดไปสู้กับน้ำเค็มน้อยลงนั่นเอง

น้ำกร่อยสามารถใช้อาบได้แต่ไม่ปลอดภัยที่จะดื่มเนื่องจากมีปริมาณเกลือสูง สำหรับเราที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองอย่างคนส่วนใหญ่อาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเราไม่ได้ดื่มน้ำจากก๊อกแต่ซื้อน้ำดื่มที่ผ่านการกรองนำเกลือออกไปแล้ว แต่ก็อาจได้รับเกลือจากการใช้น้ำประปาทำกับข้าว ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต

แล้วใครได้รับผลกระทบจากน้ำกร่อยไปเต็มๆ คำตอบคือเกษตรกร เพื่อนผู้ผลิตอาหารให้กับเรานั่นเอง เมื่อน้ำเค็มมีจำนวนมาก พืชผลที่ไม่ทนต่อความเค็มจึงไม่เจริญเติบโต เรือกสวน ไร่นาได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน รวมถึงสัตว์บางชนิดที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยได้ด้วย

น้ำเป็นต้นกำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิตหลากหลาย น้ำจำเป็นอย่างมากทั้งในชีวิตประจำวันและการทำเกษตร การมีน้ำที่สะอาด ปลอดภัย นับว่าเป็นสิ่งดีๆ ที่ธรรมชาติมอบให้เรา เมื่อได้รับแล้วก็ควรจะตอบแทนกลับคืนด้วย

อาจเริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวอย่างการลดใช้ถุงพลาสติก ไม่ทำให้แม่น้ำลำคลองเน่าเสีย ใช้น้ำอย่างประหยัด จากน้ำกร่อยก็จะกลายเป็นน้ำสะอาดให้เราดื่มได้อย่างชื่นใจ

[/col][/row]