ร ณ ร ง ค์ " ห ยุ ด เ ผ า " เ พื่ อ ใ ห้ อ า ก า ศ ส ะ อ า ด แ ล ะ ดิ น ดี ขึ้ น "No-Burn" Campaign for Cleaner Air and Healthier Soil ที่มา : Chaipattana December 2024 Journal_No Burn
อัพเดทล่าสุด: 19 มี.ค. 2025
62 ผู้เข้าชม
องค์การสหประชาชาติเฉลิมฉลองวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาท สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เป็นวันดินโลก ( World Soil Day ) เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์เป็นที่ทราบกันดีว่าพระองค์ทรงมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการส่งเสริมคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่งต่อการทำเกษตรกรรม ทั้งนี้การจัดการดินจึงเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญลำดับแรก ๆ ของพระองค์
วันดินโลกมุ่งเน้นความสำคัญของดินต่อความมั้นคงทางอาหาร และสุขภาพของระบบนิเวศและเป็นอีกวิธีการที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความตระหนักและ การถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนและชนรุ่นหลังในอนาคตเกี่ยวกับแนวทางการปกปักรักษาดินอย่างยั่งยืน
พระองค์ทรงเน้นถึงความสำคัญของคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะดินด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมการเกษตรสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ
เพราะเป็นแหล่งการจ้างงานที่มีสัดส่วนสูงมากและเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ที่สำคัญโดยเฉพาะการผลิตข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนส่วนใหญ่และสินค้าส่งออกหลักรวมทั้งพืชชนิดอื่นที่สำคัญ ได้แก่มันสำปะหลังอ้อยและผักผลไม้หลายชนิดสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย และแผ่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยเอื้ออำนวยให้เกิดกิจกรรมการเกษตรมากมายหลายประเภท
อย่างไรก็ตาม วิธีการทำเกษตรบางอย่างมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การเผาตามฤดูกาลที่เป็นวิถีปฏิบัติที่พบทั่วไปของเกษตรกร ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกอ้อยและข้าวเป็นเหตุให้ดินเสื่อมสภาพและคุณภาพอากาศตกต่ำ วิถีปฏิบัติเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อจุลชีพในดินและทำให้เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุในดิน เนื่องจากการเผาไหม้ปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มาจากซากพืชไปสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) คาร์บอนมอนอกไซด์(co) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวมทั้งการแพร่กระจายของอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศ เช่น PM2.5 และ PM10 เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีการเสนอให้ใช้การกักเก็บคาร์บอนในดิน (soil carbon sequestration) เป็นยุทรศาสตร์การคืนซากพืชกลับสู่ดินได้รับการสนับสนุนเป็นวิธีการเพิ่มระดับสารอินทรีย์คาร์บอน ประมาณการได้ว่าเราสามารถกักเก็บซากพืชไว้ในดินได้มากถึงร้อยละ 15 และเมื่อใช้ปุ้ยหมักก็สามารถกระตุ้นให้มีกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นและลดการปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) ในเวลาเดียวกัน
เมื่อราวต้นปี Regional Agricultural Information Network (RAIN) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มของกระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ (USDA) ที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำคัญๆ ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรนักวิจัย และผู้กำหนดนโยบาย ได้ติดต่อมูลนิลนิธชัยพัฒนาผ่านสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรงเทพฯ เพื่อแสวงหาแนวทางการทำงานร่วมกันที่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่นั้นมา ทั้งสององค์กรได้จับมือกันทำกิจกรรมร่วมกันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือโครงการสำคัญในปีนี้คือ การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง (Soil Digest) สูตรปรับปรุงดินนี้เป็นส่วนผสมชนิดใหม่ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ย่อยสลายวัสดุจากพืช ซึ่งสามารถเร่งการย่อยสลายเน่าเปื่อยของฟางข้าวภายในเวลาเพียง 10-15 วัน จุลินทรีย์เหล่านี้ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสลายเซลลูโลส (cellulose) และเฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ในฟางข้าวและสามารถย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรประเภทอื่นได้อีกด้วย เมื่อใส่จุลินทรีย์เหล่านี้ลงไปในฟางข้าวเราสามารถแปรสภาพฟางข้าวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ยอดเยี่ยมวิธีหนึ่ง วิธีการนี้ไม่เพียงทำให้เกษตรกรได้ปัยอินทรีย์ที่เก็บไว้ใช้ได้นาน แต่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฮิวมัส (humus) อีกด้วย
แม้จะมีผลิตภัณฑ์สารอินทรีย์ปรับปรุงดินหลายชนิดในตลาด แต่ผลิตภัณฑ์นี้โดดเด่นกว่าชนิดอื่นเพราะเกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย เมื่อเดินทางมาถึง ดร.วิเชียรพาเราไปชมถังน้ำอาจุลินทรีย์ย่อยสลายตอชัง (Soil Digest) ที่ได้จากการผสมผงแบคทีเรียกับน้ำ ซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนเพื่อเพาะเชื้อจุลินทรีย์ น้ำยาถูกเตรียมไว้สำหรับการใช้ในแปลงข้าวและมีคุณสมบัติสามารถเร่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์อย่างรวดเร็ว จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังประกอบด้วยแบคทีเรีย Bocillus 4 สายพันธ์ที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสในซังข้าวภายในเวลา 2 สัปดาห์ แบคทีเรียเหล่านี้จะคงอยู่ในดินและช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุและเพิ่มการดูดซึมสารอาหารของพืชซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มผลผลิตเท่านั้น แต่สามารถลดความจำเป็นในการใช้ปุ้ยและสารเคมีอีกด้วย อีกทั้งช่วยควบคุมโรคและศัตรูพืชในเวลาเดียวกัน ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยแก้ปัญหาใหญ่ที่ชาวนาในเขตชลประทานประสบโดยเฉพาะนั่นคือ ความจำเป็นต้องเอาเศษวัสดุชีวมวลออกไปโดยเร็วหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเตรียมแปลงสำหรับการเพาะปลูกครั้งใหม่โดยไม่ใช้วิธีการเผา
น้ำยาในถังถูกนำไปใช้ในแปลงนาข้าวที่มูลนิธิชัยพัฒนา หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ เราพบว่าสภาพดินดีขึ้นมากมีปริมาณแก๊สไฮโครเจนซัลไฟด์น้อยลง พวกเราเป็นประจักษ์พยานที่ยืนยันได้ว่าจลินทรีที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นขึ้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในเวลา 7 วัน และการย่อยสลายฟางข้าวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญยิ่งยิ่งคือน้ำยานี้ช่วยทำให้ฟางข้างข้าวอ่อนนุ่มลงอย่างมากด้วยอย่างไรก็ตาม RAIN เป็นผู้ขอใช้พื้นที่โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาในการทดลองและทดสอบประสิทธิภาพรวมไปถึงความสะดวกในการใช้งานของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายชนิดต่างๆ ซึ่งในอนาคตจะมีจลินทรีย์จากบริษัทและองค์กรอื่นๆ ในท้องตลาดอีกมากมาย ที่ RAIN จะนำมาทดสอบในพื้นที่โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาหากได้ผลเป็นที่น่าพอใจ RAIN จะร่วมมือกับมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินการขยายผลสู่เกษตรกรต่อไปกิจกรรมรณรงค์ "หยุดเผา" ที่ริเริ่มโดย RAIN มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ผงจุลินทรีย์โดยชาวนาไทยในหลายจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การรณรงค์นี้สนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังเพื่อเป็นก้าวสำคัญไปสู่การพัฒนาวิถีการเกษตรแบบยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนจากวิธีการเผาเป็นการใช้วิธีการทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพิ่มผลผลิต และปรับปรุงสุขภาพของระบบนิเวศให้ดีขึ้น เพื่อให้การเกษตรของไทยวัฒนาสถาพรสืบไปสำหรับชนรุ่นหลังในอนาคต
วันดินโลกมุ่งเน้นความสำคัญของดินต่อความมั้นคงทางอาหาร และสุขภาพของระบบนิเวศและเป็นอีกวิธีการที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความตระหนักและ การถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนและชนรุ่นหลังในอนาคตเกี่ยวกับแนวทางการปกปักรักษาดินอย่างยั่งยืน
พระองค์ทรงเน้นถึงความสำคัญของคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะดินด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมการเกษตรสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ
เพราะเป็นแหล่งการจ้างงานที่มีสัดส่วนสูงมากและเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ที่สำคัญโดยเฉพาะการผลิตข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนส่วนใหญ่และสินค้าส่งออกหลักรวมทั้งพืชชนิดอื่นที่สำคัญ ได้แก่มันสำปะหลังอ้อยและผักผลไม้หลายชนิดสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย และแผ่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยเอื้ออำนวยให้เกิดกิจกรรมการเกษตรมากมายหลายประเภท
อย่างไรก็ตาม วิธีการทำเกษตรบางอย่างมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การเผาตามฤดูกาลที่เป็นวิถีปฏิบัติที่พบทั่วไปของเกษตรกร ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกอ้อยและข้าวเป็นเหตุให้ดินเสื่อมสภาพและคุณภาพอากาศตกต่ำ วิถีปฏิบัติเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อจุลชีพในดินและทำให้เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุในดิน เนื่องจากการเผาไหม้ปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มาจากซากพืชไปสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) คาร์บอนมอนอกไซด์(co) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวมทั้งการแพร่กระจายของอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศ เช่น PM2.5 และ PM10 เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีการเสนอให้ใช้การกักเก็บคาร์บอนในดิน (soil carbon sequestration) เป็นยุทรศาสตร์การคืนซากพืชกลับสู่ดินได้รับการสนับสนุนเป็นวิธีการเพิ่มระดับสารอินทรีย์คาร์บอน ประมาณการได้ว่าเราสามารถกักเก็บซากพืชไว้ในดินได้มากถึงร้อยละ 15 และเมื่อใช้ปุ้ยหมักก็สามารถกระตุ้นให้มีกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นและลดการปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) ในเวลาเดียวกัน
เมื่อราวต้นปี Regional Agricultural Information Network (RAIN) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มของกระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ (USDA) ที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำคัญๆ ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรนักวิจัย และผู้กำหนดนโยบาย ได้ติดต่อมูลนิลนิธชัยพัฒนาผ่านสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรงเทพฯ เพื่อแสวงหาแนวทางการทำงานร่วมกันที่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่นั้นมา ทั้งสององค์กรได้จับมือกันทำกิจกรรมร่วมกันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือโครงการสำคัญในปีนี้คือ การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง (Soil Digest) สูตรปรับปรุงดินนี้เป็นส่วนผสมชนิดใหม่ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ย่อยสลายวัสดุจากพืช ซึ่งสามารถเร่งการย่อยสลายเน่าเปื่อยของฟางข้าวภายในเวลาเพียง 10-15 วัน จุลินทรีย์เหล่านี้ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสลายเซลลูโลส (cellulose) และเฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ในฟางข้าวและสามารถย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรประเภทอื่นได้อีกด้วย เมื่อใส่จุลินทรีย์เหล่านี้ลงไปในฟางข้าวเราสามารถแปรสภาพฟางข้าวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ยอดเยี่ยมวิธีหนึ่ง วิธีการนี้ไม่เพียงทำให้เกษตรกรได้ปัยอินทรีย์ที่เก็บไว้ใช้ได้นาน แต่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฮิวมัส (humus) อีกด้วย
แม้จะมีผลิตภัณฑ์สารอินทรีย์ปรับปรุงดินหลายชนิดในตลาด แต่ผลิตภัณฑ์นี้โดดเด่นกว่าชนิดอื่นเพราะเกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย เมื่อเดินทางมาถึง ดร.วิเชียรพาเราไปชมถังน้ำอาจุลินทรีย์ย่อยสลายตอชัง (Soil Digest) ที่ได้จากการผสมผงแบคทีเรียกับน้ำ ซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนเพื่อเพาะเชื้อจุลินทรีย์ น้ำยาถูกเตรียมไว้สำหรับการใช้ในแปลงข้าวและมีคุณสมบัติสามารถเร่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์อย่างรวดเร็ว จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังประกอบด้วยแบคทีเรีย Bocillus 4 สายพันธ์ที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสในซังข้าวภายในเวลา 2 สัปดาห์ แบคทีเรียเหล่านี้จะคงอยู่ในดินและช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุและเพิ่มการดูดซึมสารอาหารของพืชซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มผลผลิตเท่านั้น แต่สามารถลดความจำเป็นในการใช้ปุ้ยและสารเคมีอีกด้วย อีกทั้งช่วยควบคุมโรคและศัตรูพืชในเวลาเดียวกัน ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยแก้ปัญหาใหญ่ที่ชาวนาในเขตชลประทานประสบโดยเฉพาะนั่นคือ ความจำเป็นต้องเอาเศษวัสดุชีวมวลออกไปโดยเร็วหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเตรียมแปลงสำหรับการเพาะปลูกครั้งใหม่โดยไม่ใช้วิธีการเผา
น้ำยาในถังถูกนำไปใช้ในแปลงนาข้าวที่มูลนิธิชัยพัฒนา หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ เราพบว่าสภาพดินดีขึ้นมากมีปริมาณแก๊สไฮโครเจนซัลไฟด์น้อยลง พวกเราเป็นประจักษ์พยานที่ยืนยันได้ว่าจลินทรีที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นขึ้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในเวลา 7 วัน และการย่อยสลายฟางข้าวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญยิ่งยิ่งคือน้ำยานี้ช่วยทำให้ฟางข้างข้าวอ่อนนุ่มลงอย่างมากด้วยอย่างไรก็ตาม RAIN เป็นผู้ขอใช้พื้นที่โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาในการทดลองและทดสอบประสิทธิภาพรวมไปถึงความสะดวกในการใช้งานของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายชนิดต่างๆ ซึ่งในอนาคตจะมีจลินทรีย์จากบริษัทและองค์กรอื่นๆ ในท้องตลาดอีกมากมาย ที่ RAIN จะนำมาทดสอบในพื้นที่โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาหากได้ผลเป็นที่น่าพอใจ RAIN จะร่วมมือกับมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินการขยายผลสู่เกษตรกรต่อไปกิจกรรมรณรงค์ "หยุดเผา" ที่ริเริ่มโดย RAIN มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ผงจุลินทรีย์โดยชาวนาไทยในหลายจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การรณรงค์นี้สนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังเพื่อเป็นก้าวสำคัญไปสู่การพัฒนาวิถีการเกษตรแบบยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนจากวิธีการเผาเป็นการใช้วิธีการทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพิ่มผลผลิต และปรับปรุงสุขภาพของระบบนิเวศให้ดีขึ้น เพื่อให้การเกษตรของไทยวัฒนาสถาพรสืบไปสำหรับชนรุ่นหลังในอนาคต
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาวะโลกร้อน หรือความร้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้โคมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
6 ธ.ค. 2024
ในปัจจุบันโรคทางจิตเวชอยู่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสมองมีการทำงานผิดปติของของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีปริมาณลดต่ำลง ทำให้การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถแบ่งโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม
1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว
2.โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไป
9 ธ.ค. 2024
โคเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีระบบการย่อยอาหารที่ซับซ้อน เนื่องจากมีกระเพาะถึง 4 กระเพาะ ได้แก่ รูเมนหรือกระเพาะผ้าขี้ริ้ว (rumen), เรติคิวลัมหรือกระเพาะรังผึ้ง (reticulum), โอมาซัมหรือกระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) และกระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) แต่ละกระเพาะจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ในทุกกระเพาะจะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ต่างกันอีกด้วย
19 มี.ค. 2025