แบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหารสัตว์ปีก
เชื้อ E. coli ยังคงเป็น
อยู่ในปัจจุบัน สายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคในไก่ที่พบได้บ่อย เช่น 01, 02 และ 078 แต่เชื้อที่พบได้จากไก่ที่เป็นโรคในประเทศไทยพบสายพันธุ์ 078 พบได้ในไก่เนื้อทุกช่วงอายุ แหล่งที่พบเชื้อ คือ ทางเดินอาหารในส่วนของลำไส้ E. coli เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative bacteria) ในไก่เนื้อช่วงอายุ 4-5 สัปดาห์ มักจะเกิดความรุนแรงมากถ้าพบเชื้อ จะทำให้อัตราการตายสูงกว่าปกติ ส่วนในเรื่องของการเจริญเติบโตจะส่งผลทำให้ต่ำกว่าเกณฑ์ ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ อันเนื่องมากจากตัวเชื้อได้เข้าทำลายผลังลำไส้เล็กทำให้เสียหาย หลุดหลอกและอักเสบ เชื้อ E.coli ฝังตัวและเพิ่มจำนวนที่ลำไส้เล็กและเข้าสู่ระบบของร่างกายได้ง่ายขึ้นถ้าไก่ป่วยเป็นโรคบิด ไก่สามารถได้รับเชื้อ E. coli โดยวิธีต่างๆ คือ
1.การแพร่เชื้อผ่านไข่ พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุทำให้ลูกไก่ตายได้สูงหลังจากฟักออกมา
2. การที่เชื้อ E. coli จากมูลไก่เปื้อนมาสัมผัสเปลือกไข่ ซึ่งเชื้อสามารถแทรกตัวผ่านเปลือกไข่เข้าไปได้
3. ไก่อาจได้รับเชื้อ E. coli ที่กระจายปะปนมากับฝุ่นละอองภายในโรงเรือน จากวัสดุรองพื้น จากสิ่งขับถ่ายของไก่ตัวอื่น หรือจากน้ำที่ไก่กินไม่สะอาด
สมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ กล่าวว่า โรคที่ไก่ได้รับเชื้อ E. coli มักจะเกิดเป็นโรคโคไลบาซิลโลซิส (Colibacillosis) แต่ส่วนมากมักเกิดภายหลังจากไก่ เกิดเครียด ภูมิคุ้มกันตก ซึ่งสาเหตุที่เกิดความเครียดและเกิดโรคอาจเกิดมากจาก
1) ไก่มีเชื้อ MG และได้รับวัคซีนนิวคาสเซิล วัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ หรือวัคซีนกล่องเสียงอักเสบติดต่อ (Infectious Laryngotracheitis vaccine) เป็นต้น
2) สภาพภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากโรคกัมโบโร (Gumboro หรือ Infectious Bursal Diseases) หรือสารพิษจากเชื้อรา เป็นต้น
3) สภาพสิ่งแวดล้อม อากาศแปรปรวน อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางคืน ล้างโรงเรือนไม่สะอาด การฟักไม่ดี แอมโมเนียสูง ความชื้นสูง การระบายอากาศมากหรือน้อยเกินไป เป็นต้น
ด้วยผลกระทบทั้งหมดที่เกิดจากตัวเชื้อ E. coli ร่วมกับไก่มีความเครียดและภูมิคุ้มกันตกด้วย การแก้ปัญหานี้ก็ต้องทำทั้ง 2 ทางคือ
3.1 กำจัดเชื้อ E. coli ออกจากระบบการเลี้ยง และ
3.2 การเลี้ยงให้ไก่เกิดความเครียดน้อยที่สุด ไม่เลี้ยงหนาแน่นจนเกินไป ไก่ได้รับน้ำและอาหารเต็มที่ เสริมแร่ธาตุ วิตามินในวันที่อากาศร้อนเพื่อลดความเครียด และส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการเสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (Probiotic) เพื่อรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายไก่ในสมดุล จุลินทรีย์ที่ดีจะเข้าไปจัดการเชื้อก่อโรค และที่สำคัญการเลี้ยงไก่ยุคใหม่ต้องหลีกเลี่ยงและลดการใช้ยาปฏิชีวนะให้มากที่สุด เมื่อเราจัดการทุกอย่างอย่างเหมาะสมและถูกต้องแล้วผลที่ตามมา ก็คือ ไก่สุขภาพที่แข็งแรง ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ และประสิทธิภาพการเจริญเติบโตเป็นไปตามมาตรฐาน ผลกำไรจากการประกอบธุรกิจก็ดีตามมาด้วย