การเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยในกระเพาะรูเมน
การเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยในกระเพาะรูเมน
สัตว์เคี้ยวเอื้องหรือสัตว์กระเพาะรวม เป็นสัตว์ที่มีโครงสร้างระบบการย่อยอาหารแตกต่างจากสัตว์กระเพาะเดี่ยว คือมีลักษณะของระบบการย่อยอาหารที่ค่อนข้างยาวกว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยวประมาณ 40 เมตร โดยเป็นมีสัดส่วนของกระเพาะมากที่สุด ของทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น กระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องแบ่งได้เป็น 4 ส่วนโดยมีชื่อและลักษณะเฉพาะ ดังนี้
1.กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (rumen) เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวกแบคทีเรียและโพรโทซัวอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะทำหน้าที่สร้างนํ้าย่อยเซลลูเลส จากพืชที่กินเข้าไปและสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราว เพื่อบดเส้นใยให้ละเอียด ดังนั้นเราจึงเรียกสัตว์ที่มีกระเพาะจำพวกนี้ว่า สัตว์เคี้ยวเอื้อง
2.กระเพาะรังผึ้งหรือเรติคิวลัม (reticulum) ทำหน้าที่ย่อยน้ำนม เมื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องยังเล็กอยู่ และมีจุลินทรีย์เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนรูเมน
3.กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (omasum) ทำหน้าที่ผสมและอาหาร นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับนํ้าจากรูเมนอีกด้วย
4.กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) มีการย่อยอาหารจากนํ้าย่อยของสัตว์เองและจากจุลินทรีย์ไปพร้อมๆกัน จากนั้นอาหารจากการที่ได้รับการย่อยแล้วจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์
เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น จะมีการย่อยโปรตีน ไขมันและแป้งจากนํ้าย่อยจากตับอ่อนและนํ้าดีจากตับ จากนั้นก็ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนต่อไป
จากที่กล่าวมาทำให้ทราบว่า สัตว์เคี้ยวเอื้องมีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์กระเพาะเดี่ยวค่อนข้างมาก โดยปกติแล้วสัตว์เคี้ยวเอื้องไม่มีการหลั่งเอนไซม์อะไมเลสออกมากับน้ำลาย แต่จะมีจุลินทรีย์จำพวก แบคทีเรีย โปรโตซัว และเชื้อรา ในกระเพาะรูเมนที่สามารถหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยแป้ง น้ำตาล เยื่อใย โปรตีน ไขมัน และสารอาหารอื่นๆ จุลินทรีย์เหล่านี้เมื่อทำการย่อยแล้ว จะผลิตกรดไขมันระเหยง่าย (Volatile Fatty Acids: VFAs) และดูดซึมโดยเนื้อเยื่อของกระเพาะรูเมน เพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
การเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยให้กับกระเพาะรูเมนของโคนมหรือโคเนื้อ สามารถทำได้โดยการเพิ่มและรักษาระดับกรดไขมันระเหยง่าย (Volatile Fatty Acids: VFAs) กรดไขมันระเหยง่ายที่เกิดจากการย่อยอาหารของจุลินทรีย์นั้น ได้แก่ กรดอะซิติค (Acetic acid) และกรดโพรพิโอนิค (Propionic acid) โดยกรดอะเซทติกส่วนใหญ่ใช้ผลิตเป็นไขมันในน้ำนม กรดโพรพิโอนิคถูกนำไปสร้างกลูโคสและไขมันในร่างกาย กรดไขมันเหล่านี้สัตว์จะได้รับจากอาหารหยาบและอาหารข้น ดังนั้นการให้อาหารหยาบและอาหารข้นต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมเพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ และผลผลิตน้ำนมที่เกษตรกรจะได้รับต่อวัน
ตารางแสดงสัดส่วนการให้อาหารหยาบและอาหารข้นต่อสัดส่วนกรดไขมันระเหยง่าย (%)
ที่มา: Ishler et al., 1996
การเพิ่มระดับโปรตีนไหลผ่านหรือระดับบายพาสโปรตีน (Pypass protein) ให้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องก็มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยในกระเพาะรูเมน เพราะโดยปกติโปรตีนที่สามารถผ่านไปถึงกระเพาะแท้จะ
ประกอบด้วย
โปรตีนที่ได้จากจุลินทรีย์เกิดจากการที่จุลินทรีย์สร้างกรดอะมิโนซึ่งมีปริมาณและสัดส่วนกรดอะมิโนที่จำเป็น เช่น ไลซีนและเมทไธโอนีน ใกล้เคียงกับสัดส่วนกรดอะมิโนที่ได้รับจากโปรตีนจากสัตว์ โปรตีนที่ไม่ถูกจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนย่อยสลายหรือโปรตีนไหลผ่าน
การให้อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงควรมีการทำให้โปรตีนคุณภาพดีในอาหารมีการสลายตัวในกระเพาะรูเมนน้อยที่สุด ดังนั้นจึงมีการทำให้โปรตีนมีการไหลผ่านเพิ่มขึ้นด้วยการผ่านกรรมวิธีง่ายๆ เช่น การนำวัตถุดิบกลุ่มโปรตีนมาผ่านความร้อน ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่โรงงานอาหารสัตว์ที่ผลิตอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องใช้กันในปัจจุบัน
ตารางแสดงสัดส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายในกระเพารูเมนของโปรตีนบางชนิดของวัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านความร้อนเทียบกับที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีต่างๆ
ที่มา: บุญล้อม, 2541
การเพิ่มให้มีโปรตีนไหลผ่านไปถูกย่อยที่กระเพาะแท้และลำไส้เล็กมากขึ้นจะทำให้กรดอะมิโน ซึ่งจะถูกดูดซึมไปใช้ประโยชน์ต่อสัตว์โดยตรง ซึ่งในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ให้ผลผลิตสูง เช่น แม่โคแรกคลอดนอกจากจะได้รับจากจุลินทรีย์แล้วจำเป็นต้องได้รับโปรตีนไหลผ่านเพิ่มมากขึ้นด้วย
จากที่กล่าวมาการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยในกระเพาะรูเมนสามารถทำได้โดย การเพิ่มและรักษาระดับกรดไขมันระเหยง่าย และการเพิ่มระดับโปรตีนไหลผ่านหรือระดับบายพาสโปรตีน โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสามารถปฏิบัติได้โดยการจัดการการให้อาหารสัตว์อย่างถูกวิธีและเหมาะสมตามช่วงอายุหรือตามช่วงการให้ผลผลิตของสัตว์
เอกสารอ้างอิง: บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2541. โภชนศาสตร์สัตว์ เล่ม 1. ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่.
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2546. ชีวเคมีทางสัตวศาสตร์. ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่.
1996 Ishler, V., A. J. Heinrichs, and G. Varga. 1996. From feed to milk: Understanding rumen function. Pennsylvania State University Extension Circular 422, University Park, PA.
การเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยในกระเพาะรูเมน
สัตว์เคี้ยวเอื้องหรือสัตว์กระเพาะรวมมีระบบทางเดินอาหารที่ยาวกว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยวและมักมีหลายกระเพาะ ทำให้ะยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้นกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องแบ่งได้เป็น 4 ส่วน
กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (rumen) เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวกแบคทีเรียและโพรโทซัวอาศัยอยู่จำนวนมาก
กระเพาะรังผึ้งหรือเรติคิวลัม (reticulum) ทำหน้าที่ย่อยน้ำนม เมื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องยังเล็กอยู่ และมีจุลินทรีย์เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนรูเมน
กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (omasum) ทำหน้าที่ผสมและอาหาร นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับนํ้าจากรูเมนอีกด้วย
กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) มีการย่อยอาหารจากนํ้าย่อยของสัตว์เองและจากจุลินทรีย์ไปพร้อมๆกัน จากนั้นอาหารจากการที่ได้รับการย่อยแล้วจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์
การเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยให้กับกระเพาะรูเมน
เพิ่มและรักษาระดับกรดไขมันระเหยง่าย เพื่อนำไปสร้างกลูโคสและไขมันร่างกาย
การเพิ่มระดับโปรตีนไหลผ่านหรือระดับบายพาสโปรตีน (Pypass protein) ให้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องก็มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อยในกระเพาะรูเมน
การเพิ่มให้มีโปรตีนไหลผ่านไปถูกย่อยที่กระเพาะแท้และลำไส้เล็กมากขึ้นจะทำให้กรดอะมิโน ซึ่งจะถูกดูดซึมไปใช้ประโยชน์ต่อสัตว์โดยตรง