แชร์

งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไรกับ โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS

อัพเดทล่าสุด: 17 ธ.ค. 2024
368 ผู้เข้าชม

งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไร ?

กว่า 2 ทศวรรษ มากกว่าครึ่งชีวิต ในทุกลมหายใจกับเรื่องราวของโพรไบโอติก โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT Human by SAS จะมาตอบคำถามให้ฟังไปพร้อม ๆ กัน

Q ทำไมถึงสนใจศึกษาโพรไบโอติก ?

A เราเคยศึกษาจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น กลไกของเชื้อที่ก่อโรคในกระเพาะอาหาร การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ แต่คิดว่าการมุ่งเน้นในสิ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า จึงเริ่มสนใจจุลินทรีย์ตัวดี ซี่งในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนศึกษา เราเห็นว่าในอนาคตมนุษย์อาจไม่อยากพึ่งยาปฏิชีวนะ หรือสารต้านจุลชีพ แต่จะมองหาสิ่งที่เป็นมิตรกับร่างกายแทน โพรไบโอติกจึงน่าสนใจ เพราะเป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติในร่างกาย และไม่มีผลข้างเคียง


Q อาจารย์เริ่มศึกษาโพรไบโอติกอย่างไร ?

A ตอนแรกเริ่มจากศูนย์เลยค่ะ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะใช้อาหารเลี้ยงเชื้อชนิดใด หรือหาจุลินทรีย์จากแหล่งใด ต้องอ่านตำราศึกษาจากงานวิจัยทั่วโลก และค่อย ๆ เรียนรู้ทีละขั้นและยังไม่ค่อยมีผู้ศึกษา แม้จะเป็นเรื่องยากในช่วงแรกเพราะยังไม่มีข้อมูลมากนัก แต่ด้วยใจรักในงานวิจัย ทำให้เราสนุกับการแก้ปัญหา และอยากเรียนรู้


Q สิ่งใดที่ทำให้อาจารย์มุ่งมั่นในงานวิจัยด้านโพรไบโอติกนี้ตลอดมา ?

A อาจารย์ที่ปรึกษาท่างมองการณ์ไกลมาก ท่านพูดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ว่าโพรไบโอติกจะเป็นสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้ทดแทนยาในอนาคต คำพูดของท่านกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญ และทุกวันนี้ก็พิสูจน์ได้ว่าท่านพูดถูก

สิ่งที่ทำให้อยู่กับงานวิจัยนี้ได้คือใจรัก และเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำค่ะ โพรไบโอติกไม่ได้เป็นแค่งานวิจัย แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว


Q อาจารย์พัฒนาสายพันธุ์โพรไบโอติกของตัวเองใช่ไหม ?

A ใช่คะ เรามีสายพันธุ์โพรไบโอติกของตัวเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพราะถ้าไม่มีสายพันธุ์ของเราเองเหมือนต้องพึ่งพาที่อื่น เราจะศึกษาหรือพัฒนาได้ไม่เต็มที่ การคัดแยกสายพันธุ์ของเราเองจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ การคัดแยกสายพันธุ์ต้องอดทน เพราะใช้ทั้งเวลา แรงกาย แรงใจ และแรงงานมหาศาล เราเริ่มจากการคัดแยกจุลินทรีย์จากเด็กแรกเกิดกว่า 300 ราย และจากอาหารหมักของไทยกว่า 100 ชนิด เมื่อคัดแยกได้แล้วต้องผ่านกระบวนการกรองอีกหลายขั้น จากหลักหมื่นสายพันธุ์เหลือเพียงหลักสิบสายพันธุ์ที่ดีที่สุด

 
Q สายพันธุ์ที่ได้มีความพิเศษอย่างไรบ้าง ?

A อันดับแรกเลยค่ะ คำว่า "สายพันธุ์ไทย" ก็บ่งบอกถึงความพิเศษแล้ว เพราะเราคัดแยกจากประชากร และอาหารในประเทศไทย ซึ่งจะเหมาะสมและคุ้นเคยมากที่สุดมีการพิสูจน์แล้วว่าสายพันธุ์เหล่านี้มีฟังก์ชันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดไขมัน ลดการอักเสบ ลดอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน เป็นต้น กระบวนการพิสูจน์ก็ครบถ้วนทั้งในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และกลุ่มประชากรคนไทยจริง ๆ เราภูมิใจกับสายพันธุ์โพรไบโอติกของเราเพราะเหมือนเลี้ยงลูกค่ะ เราเห็นพวกเขาตั้งแต่เริ่มต้นดูการเติบโต ดูรูปร่างภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ลุ้นว่าเขาจะโตไหม จะมีคุณสมบัติที่ดีไหม จนกระทั้งได้สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทุกกระบวนการสะท้อนถึงความทุ่มเทของทีมงานทั้งหมดค่ะ

 

Q โพรไบโอติกสายพันธุ์ต่างประเทศ กับสายพันธุ์ไทยต่างกันอย่างไร ?

A จริงอยู่ที่โพรไบโอติกจากต่างประเทศก็มีประโยชน์ แต่สายพันธุ์ไทยมีจุดเด่นตรงที่เราพิสูจน์และทดสอบในกลุ่มประชากรไทยโดยเฉพาะ สายพันธุ์ที่มาจากท้องถิ่นมีวิวัฒนาการร่วมกันมาย่อมเหมาะสมกับประชากรในพื้นที่มากกว่า

 

Q รางวัลที่สำคัญที่สุดคืออะไร ?

A รางวัลที่สำคัญที่สุดสำหรับอาจารย์หรือนักวิจัยคือ การที่สามารถผลิตลูกศิษย์ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพนำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและสมารถก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ นี่คือรางวัลที่สำคัญที่สุดในอาชีพของนักวิจัยและอาจารย์

 

Q อาจารย์มีคำแนะนำอะไรสำหรับผู้บริโภคเกี่ยวกับโพรไบโอติก และในฐานะผู้เชี่ยวชาญมีข้อคิดอะไรอยากฝากไว้ ? 


A โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่ดีที่อยู่ในร่างกายเรามาตั้งแต่เกิดค่ะ ช่วยรักษาสมดุล โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสำคัญมากต่อสุขภาพโดยรวม การเติมโพรไบโอติกเป็นวิธีที่ปลอดภัยและช่วยเสริมการทำงานของร่างกายได้

ถ้าจุลินทรีย์ในร่างกายไม่สมดุล เช่น จุลินทรีย์ดีลดลง จุลินทรีย์ไม่ดีมีมากขึ้น จะเกิดการอักเสบและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ การเติมโพรไบโอติกจึงช่วยฟื้นฟูสมดุลตรงนี้และลดโอกาสการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบค่ะ

การดูแลโพรไบโอติกในร่างกายทำได้ง่าย ๆ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และเป็นส่วนสำคัญของการดูแลสุขภาพร่างกายที่เราควรให้ความใส่ใจค่ะ

 

Q เราสามารถรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกได้หรือไม่ ?

A ค่ะ เช่นในอาหารหมักดองจะมีจุลินทรีย์หลายชนิดผสมกัน ซึ่งอาจมีโพรไบโอติกไม่เพียงพอ หรืออาจมีจุลินทรีย์ที่ไม่ดีเข้ามาด้วย การได้รับโพรไบโอติกในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะช่วยให้ได้รับโพรไบโอติกที่คัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีและบริสุทธิ์ ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถคัดเลือกจุลินทรีย์ที่ดีออกมา และผลิตในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกายได้ง่าย และมีความปลอดภัยเพราะเป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งอื่นเจอปน


บทความที่เกี่ยวข้อง
เลี้ยงโคอย่างไร? เมื่อโลกร้อนขึ้น
ภาวะโลกร้อน หรือความร้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้โคมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
6 ธ.ค. 2024
โพรไบโอติกเกี่ยวอย่างไรกับโรคซึมเศร้า
ในปัจจุบันโรคทางจิตเวชอยู่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสมองมีการทำงานผิดปติของของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีปริมาณลดต่ำลง ทำให้การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถแบ่งโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว 2.โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไป
9 ธ.ค. 2024
สมดุลจุลินทรีย์สร้างสุขภาพที่ดีของโค
โคเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีระบบการย่อยอาหารที่ซับซ้อน เนื่องจากมีกระเพาะถึง 4 กระเพาะ ได้แก่ รูเมนหรือกระเพาะผ้าขี้ริ้ว (rumen), เรติคิวลัมหรือกระเพาะรังผึ้ง (reticulum), โอมาซัมหรือกระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) และกระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) แต่ละกระเพาะจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ในทุกกระเพาะจะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ต่างกันอีกด้วย
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy