แชร์

ผู้เปิดโลกจุลินทรีย์ในเมืองไทย เพื่อสุขภาพดีของคนไทย โดย ดร.วิเชียร ยงมานิต

อัพเดทล่าสุด: 17 ธ.ค. 2024
122 ผู้เข้าชม

ดร.วิเชียร ยงมานิตชัย
_______________

ผู้เปิดโลกจุลินทรีย์ในเมืองไทย เพื่อสุขภาพดีของคนไทย

หากกล่าวถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ในประเทศไทยนี้ นักวิชาการระดับนานาชาติ ที่ต้องนึกถึงคือ ดร.วิเชียร ยงมานิตชัย กรรมการ และผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS

อาจารย์วิเชียรเป็นนักศึกษานอกกรอบมาตั้งแต่วัยเด็ก ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ของอาจารย์จึงมีความ ลุ่มลึก มีเสน่ห์ มีมิติของชีวิตอย่างรอบด้าน

ผมจบวิทยาศาสตรบันฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2517 เรียนต่อปริญญาโท ฟูดเทคโนโลยี (Food Technology) ที่ Mysore University ประเทศอินเดีย ปริญญาโทด้าน Community Health Nutrition in University of Queensland และปริญญาเอกเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ที่University of Waterloo ประเทศแคนาดา ความเชี่ยวชาญของผมจึงเป็นเรื่องของอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกันในการเรียนตั้งแต่ ปริญญาตรี โท และเอก


ธนาคารจุลินทรีย์ แห่งประเทศไทยโดย SAS

เมื่อผู้บริหาร SAS เชิญอาจารย์วิเชียรมาเป็นที่ปรึกษา อาจารย์วิเชียรจึงสนับสนุนและผลักดันงานเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านจุลินทรีย์ซึ่งกําลังได้รับความสนใจในช่วงนั้น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมาย

เป้าหมายแรกที่ SAS ทําคือ ทําจุลินทรีย์โพรไบโอติก สําหรับสัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ หมู ไก่ กุ้ง เมื่อทําเรื่องนี้ เราต้องให้ความสำคัญเรื่องกฎหมาย เพราะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ ซึ่งในทางกฎหมายจะมีจุลินทรีย์ที่อนุมัติว่าเป็นโพรไบโอติกประมาณ 40-50 ชนิด และพบว่ามีสายพันธุ์บาซิลลัสเยอะมากเกือบ 10 ชนิด เราจึงมั่นใจว่าสามารถใช้สายพันธุ์กลุ่มบาซิลลัสมาเป็นจุดตั้งต้นการผลิตได้ 


เป้าหมายที่ 2 เราจะเอาเชื้อมาจากที่ไหน ซึ่งวิธีการ ที่ถูกต้องตามกฎหมายและอยู่ในหลักจริยธรรมคือ เราต้อง ไปหาจากแหล่งธรรมชาติ ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายของจุลินทรีย์เยอะมาก เพียงแต่ เราไม่ได้ทํางานวิจัยการใช้ประโยชน์ของจุลินทรีย์

ดังนั้นเราจึงไปเก็บเชื้อจากแหล่งที่เขาอาศัยอยู่ บาซิลลัสอยู่ในอาหารหมักดอง ซึ่งอาหารหมักดองของชาวเอเชียตะวันออกชนิดหนึ่งก็คือถั่วเน่า เราจึงเดินทางไปเก็บ ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ในจังหวัดภาคเหนือกว่า 10 จังหวัด และข้ามไปเขตพม่าที่เป็นพื้นที่รอยต่อด้วย เนื่องจากมี ประเพณีวัฒนธรรมการกินอยู่คล้าย ๆ กัน เพื่อรวบรวม ตัวอย่างเชื้อมา แล้วใช้วิธีการทางจุลินทรีย์วิทยาในการคัดแยกเชื้อให้ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์

เมื่อได้สายพันธุ์บริสุทธิ์แล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสายพันธุ์ที่เราต้องการหรือไม่ เราต้องทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ว่าจุลินทรีย์ที่มีอยู่มีชื่อเสียงเรียงนามอย่างไร จึงต้องส่งข้อมูลดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ที่รวบรวมได้ไปที่สหรัฐอมเมริกาเพื่อเปรียบเทียบฐานข้อมูลของโลกว่าตรงกับสายพันธุ์ไหน เมื่อทราบสายพันธุ์แล้ว เราก็เก็บมาไว้ใน ธนาคารจุลินทรีย์ ของเรา

นอกจากนี้อาจารย์วิเชียรยังรวบรวมสายพันธุ์จุลินทรีย์ ในถั่วหมักของญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน นํามาทดสอบความ สามารถในการย่อย พบว่ามีประสิทธิภาพสู้จุลินทรีย์สายพันธุ์ของไทยไม่ได้

ปัจจุบันในธนาคารจุลินทรีย์ของ SAS เรามีเชื้อที่เก็บ เข้าธนาคาร 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มบาซิลลัส และกลุ่มแล็กโตบาซิลลัส

บาซิลลัส...จุลินทรีย์พลังดีช่วยย่อย

อาจารย์วิเชียร อธิบายคุณสมบัติของเชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัสว่า

บาซิลลัสมีคุณสมบัติในการย่อยสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้ดี ไม่เฉพาะอาหาร ของเสียก็ย่อยได้ ลดกลิ่นได้ เราพัฒนา จุลินทรีย์ชุดนี้เพื่อบําบัดน้ำเสียในบ้าน โรงงานอุตสาหกรรม ที่ชาวบ้านร้องเรียนการปล่อยน้ำเสีย น้ำเหม็นจากไขมันสะสม เพราะย่อยไม่ได้ เราส่งทีมไปช่วยแก้ปัญหา นําจุลินทรีย์ ลงไปช่วยแก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มสุกร ชาวบ้านที่มีบ้าน อยู่ใกล้ฟาร์มร้องเรียนและให้แก้ปัญหาด่วนภายใน 7 วัน เรานําจุลินทรีย์ลงไปทดลอง พบว่ากลิ่นลดลงภายใน 2 วัน และกลิ่นหายเด็ดขาดภายใน 4 วัน ซึ่งตอนแรกใช้กันในฟาร์ม สุกรเอกชน ตอนนี้ขยายไปสู่เครือข่ายฟาร์มสุกรอีกนับพันแห่ง

นอกจากนี้อาจารย์วิเชียรยังเล่าถึงโปรเจ็กต์แห่งความภูมิใจ คือการนำจุลินทรีย์บาซิลลัสไปใช้ในภาคเกษตรเพื่อย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้เป็นสารอินทรีย์ในดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และช่วยย่อยฟางข้าวให้นิ่มลง ชาวนาสามารถทำนาได้ตามรอบระยะเวลาที่จำกัด

เราเริ่มโครงการนี้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ทดลองในแปลงข้าว ที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ที่นั่นปลูกข้าวออร์แกนิก อยู่แล้ว ปรากฏว่าเราไปช่วยเตรียมแปลง พอใส่จุลินทรีย์ ลงไปช่วยย่อยฟางที่ตกค้าง พอฟางนิ่มก็สามารถไถกลบได้ จุลินทรีย์ย่อยฟางให้นิ่มและเป็นสารอาหารพืช ปรากฏว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์

ในชุดจุลินทรีย์บาซิลลัสมีสายพันธุ์หนึ่งน่าสนใจเพราะสามารถกําจัดก๊าซมีเทนได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ก๊าซเรือนกระจก ถ้าสามารถใช้บาซิลลัสลดก๊าซมีเทนได้ 2-3 เปอร์เซ็นต์ก็สำคัญแล้ว เพราะยุคนี้เป็นยุคของคาร์บอน เครดิต นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อประเทศ เพราะประเทศไทย ได้เซ็นสัญญาที่ปารีสเรื่องการแก้ไขปัญหาโลกร้อน คนไทย จะนําเสนอผลงานระดับสากลในปี 2570 ว่าประเทศไทย ได้มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ประเด็นนี้ก็สำคัญ

หลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ที่ปลูก ข้าว พยายามทำเรื่องนี้อยู่แต่ยังไม่สำเร็จ และตอนนี้เราก็ พยายามรวบรวมเชื้อสายพันธุ์ใหม่อีกชุดที่สามารถย่อยตอซังได้เร็วและลดการสร้างก๊าซมีเทน ซึ่งบางครั้งการพบเชื้อชนิดใหม่ว่าตัวไหนช่วยย่อยตอซังได้เร็วก็ขึ้นกับโชคด้วย ให้ลองเดากันเล่นๆ ว่าผมจะไปเก็บเชื้อที่ไหน คำตอบคือผมไปเก็บเชื้อจากขี้ช้าง ผมขึ้นเหนือไปปางช้างเก็บตัวอย่างมา เยอะ แล้วก็แยกเชื้อได้ค่อนข้างดี ผมคาดหวังกับตัวอย่าง ที่เก็บมาค่อนข้างสูง นี่คือเทคนิค เราจะไปหาเชื้อที่ไหน ก็ต้อง ตามเหตุหรือสภาพแวดล้อมที่ควรจะมี แล้วนํามาคัดแยก

นอกจากนี้อาจารย์วิเชียรยังเล่าว่า SAS ทํางานร่วมกับ RAIN (Regional Agriculture Innovation Network) องค์กรไม่แสวงหากําไร ซึ่งได้รับการสนับสนุนนวัตกรรม จุลินทรีย์จากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทําหน้าที่ ค้นหานวัตกรรมที่จะลดการเผาตอซังก่อนปลูกข้าวฤดูกาล ใหม่ ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ สร้างปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เป็นปัญหาระดับประเทศและภูมิภาคในขณะนี้ และ นวัตกรรมจุลินทรีย์ยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรลดต้นทุนการผลิตอีกด้วยโดย RAIN ได้ทดลองผลิตภัณฑ์ Soil Digest ซึ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยย่อยสลายตอซังข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการเผา และเพิ่มสาร อินทรีย์ในดินให้เปลี่ยนมาเป็นสารอาหารบํารุงดิน

ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา RAIN มีการจัดเสวนาเพื่อ แก้ปัญหาเรื่องการลดการเผา ทุกประเทศมีปัญหาเหมือนกันหมด ไม่มีใครพูดเรื่องจุลินทรีย์ ผมเป็นคนเดียวที่พูดเรื่อง จุลินทรีย์ที่ใช้ในการย่อยสลายตอซังข้าวเพื่อลดปัญหาการเผา คนฟังกว่า 200 คนสนใจ อภิปรายกันกว่า 3 ชั่วโมง จากนั้น ก็มีหน่วยงานทั้งมูลนิธิข้าวขวัญและมูลนิธิชัยพัฒนาสนใจโครงการนี้และเริ่มทำงานด้วยกัน และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ



แล็กโตบาซิลลัส โพรไบโอติก...

จุลินทรีย์สดใหม่สายพันธุ์ไทย

นอกจากจุลินทรีย์บาซิลลัสที่มีพลังในการฟื้นฟูดิน น้ำ อากาศแล้ว จุลินทรีย์สายพันธุ์แล็กโตบาซิลลัสที่อยู่ใน ธนาคารจุลินทรีย์ของ SAS ก็ดีต่อสุขภาพมนุษย์และสัตว์ เช่นเดียวกัน

สำหรับจุลินทรีย์สำหรับคน ควบคุมโดยสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าอนุญาตให้ใช้เชื้อ สายพันธุ์ไหนเพื่อผลิตเป็นโพรไบโอติก เชื้อบาซิลลัสจะมีน้อย ส่วนมากจะเป็นแล็กโตบาซิลลัส เราจึงเริ่มไปเก็บตัวอย่าง ใหม่ แยกเชื้อใหม่ เอาเฉพาะแล็กโตบาซิลลัสซึ่งอยู่ใน อาหารหมักดองรสเปรี้ยวในบ้านเรา เดินทางตระเวนไปเก็บเชื้อ ภาคเหนือ อีสาน ใต้ เพื่อเก็บตัวอย่างมาแยกและจำแนก เชื้อว่าเป็นสายพันธุ์ไหน นําเก็บเข้าธนาคารจุลินทรีย์ของเรา

อาจารย์วิเชียรอธิบายว่า การผลิตโพรไบโอติกสําหรับคน จะมีมาตรฐานทางกฎหมายที่ อย.ใช้ควบคุมคุณภาพเข้มงวด มาก ไม่สามารถจ้างให้ใครเลี้ยงเชื้อก็ได้ เริ่มต้น SAS จึง มีการนําเข้าเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี เมื่อถึงจุดหนึ่ง SAS เห็นว่าควรตั้งโรงงานเพื่อผลิต โพรไบโอติกเองจะเหมาะสมกว่า

ผู้บริหาร SAS เห็นควรว่าเราน่าจะตั้งโรงงานผลิต โพรไบโอติกเองจะดีกว่า เพราะเราผลิตเชื้อที่ใหม่มาก สดมาก สามารถควบคุมการผลิตเองได้ เป็นโรงงานเล็ก มีเครื่องจักรขนาดไม่ใหญ่ ซึ่งเมื่อทำโรงงานเสร็จ ผ่านการ ตรวจสอบโดย อย. ใช้เวลาปีกว่าๆ อย.ก็อนุญาตให้โรงงาน ผลิตอาหารเสริมโพรไบโอติก และที่ SAS พิเศษกว่าที่อื่นๆ

คือ อย. อนุญาตให้เราผลิตเชื้อได้เองเพื่อผลิตสินค้า เพราะ SAS มีข้อมูล สามารถยื่นหลักฐาน DNA ของเชื้อจุลินทรีย์ จากธนาคารจุลินทรีย์ที่ผ่านการวิเคราะห์มาอย่างถูกต้อง

นอกจากความลุ่มลึกและเชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ระดับโลก แล้ว อาจารย์วิเชียรยังมีมุมมองของการส่งต่อโพรไบโอติก สู่มือประชาชนในทุกระดับ

ที่ผ่านมาเวลาทํางานวิจัยผมยึดคอนเซ็ปต์ทำทุกอย่าง ให้ง่าย อย่างโรงงานที่ผลิตเราใช้เครื่องจักรเล็ก ๆ บางแห่ง ลงทุนซื้อถังหมัก ถังเลี้ยงเป็นร้อย ๆ ล้านบาท แต่สุดท้าย เราได้จุลินทรีย์คุณภาพออกมาเหมือนกัน เราไม่ต้องผลิตเยอะแต่ผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ ทำให้เราสามารถ ควบคุมคุณภาพ ความสดใหม่ และต้นทุนของสินค้า ทำให้สามารถทำราคาที่ทุกคนสามารถจับต้องได้

อาจารย์วิเชียรฝากความเห็นทิ้งท้ายไว้ว่า

จุลินทรีย์ที่เก็บจากเมืองไทยเป็นจุลินทรีย์ที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์เพื่อคน สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม เพราะเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน

อีกสิ่งหนึ่งก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีอะไรก็แล้วแต่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเก่งกว่าผม แต่สิ่งที่ผมแตกต่าง จากเขาก็คือ การนําเทคโนโลยีนั้นมาปรับปรุงให้เหมาะกับประเทศไทย เหมาะสมกับคนทั่วไป ต้นทุนประเทศไทยเรา น้อย คนไทยส่วนใหญ่มีรายได้ไม่มาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ เขาจะได้ประโยชน์ต้องอยู่ในระดับที่เขาสามารถเอื้อมถึง

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์มันต้องพัฒนา ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะเรารู้จักจุลินทรีย์ในโลกใบนี้น้อยมาก งานวิจัยจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นและดีกว่า เป็นสิ่งที่ทีมงานของเราทำมาโดยตลอดและจะไม่หยุดพัฒนา เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy