แชร์

แสบ ร้อน คัน แห้งผาก ช่องคลอดแห้งแบบนี้ ทำยังไงดี

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
172 ผู้เข้าชม

ช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness)

ภาวะช่องคลอดแห้ง คือ ภาวะที่ช่องคลอดเกิดการขาดความชุ่มชื้น ขาดเมือกหล่อลื่นจนภายในช่องคลอดแห้ง ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วภาวะช่องคลอดแห้งเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้ เช่น การอักเสบในช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ตกขาวเรื้อรัง

สาเหตุของการเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง

การเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักคือ การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ โดยฮอร์โมนจะถูกผลิตที่รังไข่ ต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศหญิงต่าง ๆ การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน เมื่อระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลงลดลง ส่งผลให้ผนังช่องคลอดบางลง แห้งขึ้น ยืดหยุ่นน้อยลง และทำให้สารคัดหลั่งน้อยลง  นอกจากนี้ภาวะการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ทำให้เนื้อเยื่อที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นมีความบางลง เป็นผลให้ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อได้ง่าย  ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นการทำลายจุลินทรีย์ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะช่องคลอด การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ทำให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นลดลง ค่าความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอดเปลี่ยน มีโอกาสติดเชื้อง่าย สารหล่อลื่นลดลง อีกหนึ่งสาเหตุที่มักพบคือ การสวนช่องคลอด ขณะที่มีการสวนช่องคลอดแรงดันของน้ำจะทำการซะล้างจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณผนังช่องคลอดหลุดออกมากับน้ำ เป็นผลให้เกิดการเสียสมดุลจุลินทรีย์ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผนังช่องคลอดขาดเมือก เป็นผลทำให้ช่องคลอดแห้งได้

อาการ

คัน ระคายเคืองในช่องคลอด

แสบ ร้อน ขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์

ปัสสาวะบ่อย รู้สึกร้อนๆ แสบขณะปัสสาวะ

ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่ได้

ช่องคลอดอักเสบ

ตกข่าวบ่อย เป็นๆ หายๆ

ผิวแห้ง ผิวบาง

รักษา

การใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน ในกรณีผู้ที่ขาดฮอร์โมนฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ผู้มีภาวะวัยทอง ซึ่งการใช้ฮอร์โมนมีทั้งแบบชนิดเม็ด ครีม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอสโตเจนให้สูงขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสมดุลของฮอร์โมน

ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) ช่วยปกป้องและเคลือบผนังช่องคลอดให้ชุ่มชื้น ซึ่งมีหลายรูปแแบบ เช่น แบบน้ำ เจล เม็ดสอด

ใช้เจลหล่อลื่น สำหรับผู้มีปัญหาเฉพาะกรณีเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยทาบริเวณช่องคลอด หรืออวัยวะเพศชาย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

โดยปัญหาช่องคลอดแห้งเป็นหนึ่งในปัญหาหลัก ๆ ขอผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และ ในผู้หญิงทุกคน จึงมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นจำนวนมากที่คิดค้นเพื่อดูแลปัญหาเกี่ยวกับภาวะช่องคลอดแห้ง แต่ที่กำลังได้รับความนิยมในตอนคือ ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติก ซึ่งโพรไบโอติกจะช่วยเพิ่มการหลั่งสารเมตาบอไลต์เข้าสู่กระแสเลือด ให้มีการปรับสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน มีการศึกษาการโพรไบโอติก สายพันธุ์ Lactobacillus plantarum 30M5 Bifidobacterium longum 15M1 กับผู้ที่เกิดการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนและมีภาวะอ้วนร่วมด้วย  พบว่า B. longum 15M1 สามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมันได้ นอกจากนี้ B. longum 15M1 และ L. plantarum 30M5 ช่วยปรับจุลินทรีย์ในลำไส้และเพิ่มการหลั่งของสารเมตาบอไลต์ได้ เป็นผลให้ลดการอักเสบ ติกเชื้อ ของช่องคลอดได้ นอกจากนี้สารสกัดที่เหมาะกับปัญหาช่องคลอดแห้ง คือ สาร   สกัดจาก ซีบัคธอร์น จำเป็นพืชพืชตระกูลเบอร์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและยุโรป และมักโตที่ บริเวณที่มีอากาศหนาว มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น วิตามิน C และ วิตามิน E   เกลือแร่ สารต้าน   อนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน ไลโคปีน และที่สำคัญยังพบ Omega 7 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในพืชน้อยมาก โดยมีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม ลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด และที่สำคัญสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ช่องคลอด ซึ่งสามารถลดปัญหาของภาวะช่องคลอดแห้งได้ 

อ้างอิง

Chen Q, Wang B, Wang S, Qian X, Li X, Zhao J, Zhang H, Chen W, Wang G. Modulation of the Gut Microbiota Structure with Probiotics and Isoflavone Alleviates Metabolic Disorder in Ovariectomized Mice. Nutrients. 2021 May 25;13(6):1793. 

van Nimwegen JF, van der Tuuk K, Liefers SC, Verstappen GM, Visser A, Wijnsma RF, Vissink A, Hollema H, Mourits MJE, Bootsma H, Kroese FGM. Vaginal dryness in primary Sjögren's syndrome: a histopathological case-control study. Rheumatology (Oxford). 2020 Oct 1;59(10):2806-2815


บทความที่เกี่ยวข้อง
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไรกับ โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไร ? กว่า 2 ทศวรรษ มากกว่าครึ่งชีวิต ในทุกลมหายใจกับเรื่องราวของโพรไบโอติก โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT Human by SAS จะมาตอบคำถามให้ฟังไปพร้อม ๆ กัน
17 ธ.ค. 2024
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย เพื่อสุขภาพคนไทย โพรไบโอติก เป็นเทรนด์สุขภาพที่มาแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากมีงานวิจัยออกมายืนยันเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากมาย ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน หรือ ดร.แบงค์ Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาบอกเล่าถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy