แชร์

ปัสสาวะทีไร แสบขัด มีกลิ่น แถมกลั้นไม่อยู่ ใช่กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเปล่า

อัพเดทล่าสุด: 5 ธ.ค. 2024
130 ผู้เข้าชม

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเกิดการติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อม พบมากในผู้หญิง เนื่องจากท่อทางเดินปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย โดยท่อทางเดินผู้หญิงยาวแค่ 4 ซม. แต่ผู้ชายยาวถึง 18-20 ซม. จึงเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีการติดเชื้อได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น การกลั้นปัสสาวะ มีเพศสัมพันธ์บ่อย เป็นนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดได้หลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักในการเกิดคือ การอักเสบจากเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งปกติในท่อทางเดินปัสสาวะไม่ควรพบการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ แต่การติดเชื้อของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะ Escherichia coli (E. Coli) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้มากสุดในระบบทางเดินปัสสาวะจะก่อให้เกิดการหลั่งสารกระตุ้นการอักเสบ เช่น interleukins-1, interleukins-6, interleukins-8 และ Tumour necrosis factor α  (TNF-α) เป็นผลให้เกิดการอักเสบสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบเชื้อ Klebsiella, Pseudomonas, Enterobacter และมีรายงานว่า  Staphylococcus saprophyticus พบได้ร้อยละ 10 ของอาการติดเชื้อของระบบปัสสาวส่วนล่างในผู้ป่วยอายุน้อยและผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้ เมื่อเกิดการอักเสบ ผลที่ตามมาคือ เนื้อเยื่อที่ท่อปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัวหรือบางลง ทำให้การซึมผ่านของสารต่างๆและการป้องกันสารพิษลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลให้การทำงานของโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวคัดกรองสารถูกทำลาย เช่น ZO-1, Occludin, Cluadins เป็นผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น

             ดังนั้นการรักษาความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดการติดเชื้อจากแบคทีเรียและมีอีกหนึ่งปัจจัยที่หลายคนมองข้ามคือ จุลินทรีย์ประจำถิ่นที่บริเวณช่องคลอดลดลง โดยเชื้อประจำถิ่นที่ช่องคลอดจะคอยควบคุมความเป็นกรดให้ภายในช่องคลอด เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์อื่น ๆ เจริญเติบโตได้และลดการติดเชื้อในช่องคลอดด้วย

อาการ

  • ปวดท้องน้อยบริเวณสีข้าง หลังล่าง หรือ อุ้งเชิงกราน เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน ด้านหลังกระดูกหัวเหน่า และไตอยู่ค่อนไปทางด้านหลัง จึงมีอาการปวดค่อนไปทางข้างหลัง
  • ปวดปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะออกได้ไม่สุด
  • ปัสสาวะติดขัด ปวดแสบ ปัสสาวะบ่อยแต่ออกมาน้อย
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะมีสีขุ่น มีกลิ่นแรงผิดปกติและอาจมีเลือดปน
ใครกันละที่จะมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะ
  • ใช้ยาปฏิชีวนะในการสวนล้างทำความสะอาดช่องคลอด
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์  
  • การรับประทานยากดภูมิต้านทาน
  • การใส่สายสวนปัสสาวะ
การดูแลรักษา

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรมเป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มจากการจัดการตัวเอง โดยการไม่กลั่นปัสสาวะ เพื่อให้ขับเชื้อโรคต่าง ๆ ออกจากร่างกาย ทำความสะอาดร่างกาย อวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะ อุจจาระ และหลังมีเพศสัมพันธุ์ให้สะอาดเพื่อลดการเกิดโรค และเสริมด้วยการดื่มน้ำระหว่างวันให้ร่างกายขับของเสียออกอย่างสม่ำเสมอ

ยา

การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาแบบฉับพลัน โดยใช้ยาในกลุ่มของ fluoroquinolone ได้แก่ Norfloxacin, Ofloxacin, Ciprofloxacin ควรทางไม่เกิด 7 วัน หากมีอาการไม่รุ่นแรงทานประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าหากอาการรุนแรงต้องเพิ่มระยะเวลาในการรับยาปฏิชีวนะประมาณ 7-10 วัน ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร

อาหารเสริม

ในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยในการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุหนึ่งที่เกิดคือ การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องคลอด เป็นผลทำให้ความเป็นความเป็นกรดในช่องคลอดลดลง เพิ่มโอกาสการาเจริญของเชื้อโรค เชื้อฉวยโอกาส ให้มีการเจริญเพิ่มขึ้น ดังนั้นการทานผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสามารถช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในช่องคลอดได้ นอกจากนี้ยังลดการอักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับช่องคลอดและร่างกายได้ ช่วยเสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์ในผนังของท่อปัสสาวะ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ เพิ่มการดูซึมผ่านของสารและลดการแพร่ผ่านของสารพิษ

อ้างอิง

Lin H-Y, Lu J-H, Chuang S-M, Chueh K-S, Juan T-J, Liu Y-C, Juan Y-S. Urinary Biomarkers in Interstitial Cystitis/Bladder Pain Syndrome and Its Impact on Therapeutic Outcome. Diagnostics. 2022; 12(1):75.

Ueda T, Hanno PM, Saito R, Meijlink JM, Yoshimura N. Current Understanding and Future Perspectives of Interstitial Cystitis/Bladder Pain Syndrome. Int Neurourol J. 2021 Jun;25(2):99-110.

บทความที่เกี่ยวข้อง
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไรกับ โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไร ? กว่า 2 ทศวรรษ มากกว่าครึ่งชีวิต ในทุกลมหายใจกับเรื่องราวของโพรไบโอติก โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT Human by SAS จะมาตอบคำถามให้ฟังไปพร้อม ๆ กัน
17 ธ.ค. 2024
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย เพื่อสุขภาพคนไทย โพรไบโอติก เป็นเทรนด์สุขภาพที่มาแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากมีงานวิจัยออกมายืนยันเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากมาย ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน หรือ ดร.แบงค์ Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาบอกเล่าถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy