แชร์

ปัสสาวะทีไร แสบขัด มีกลิ่น แถมกลั้นไม่อยู่ ใช่กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเปล่า

อัพเดทล่าสุด: 5 ธ.ค. 2024
248 ผู้เข้าชม

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเกิดการติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อม พบมากในผู้หญิง เนื่องจากท่อทางเดินปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย โดยท่อทางเดินผู้หญิงยาวแค่ 4 ซม. แต่ผู้ชายยาวถึง 18-20 ซม. จึงเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีการติดเชื้อได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น การกลั้นปัสสาวะ มีเพศสัมพันธ์บ่อย เป็นนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดได้หลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักในการเกิดคือ การอักเสบจากเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งปกติในท่อทางเดินปัสสาวะไม่ควรพบการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ แต่การติดเชื้อของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะ Escherichia coli (E. Coli) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้มากสุดในระบบทางเดินปัสสาวะจะก่อให้เกิดการหลั่งสารกระตุ้นการอักเสบ เช่น interleukins-1, interleukins-6, interleukins-8 และ Tumour necrosis factor α  (TNF-α) เป็นผลให้เกิดการอักเสบสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบเชื้อ Klebsiella, Pseudomonas, Enterobacter และมีรายงานว่า  Staphylococcus saprophyticus พบได้ร้อยละ 10 ของอาการติดเชื้อของระบบปัสสาวส่วนล่างในผู้ป่วยอายุน้อยและผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้ เมื่อเกิดการอักเสบ ผลที่ตามมาคือ เนื้อเยื่อที่ท่อปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัวหรือบางลง ทำให้การซึมผ่านของสารต่างๆและการป้องกันสารพิษลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลให้การทำงานของโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวคัดกรองสารถูกทำลาย เช่น ZO-1, Occludin, Cluadins เป็นผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น

             ดังนั้นการรักษาความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดการติดเชื้อจากแบคทีเรียและมีอีกหนึ่งปัจจัยที่หลายคนมองข้ามคือ จุลินทรีย์ประจำถิ่นที่บริเวณช่องคลอดลดลง โดยเชื้อประจำถิ่นที่ช่องคลอดจะคอยควบคุมความเป็นกรดให้ภายในช่องคลอด เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์อื่น ๆ เจริญเติบโตได้และลดการติดเชื้อในช่องคลอดด้วย

อาการ

  • ปวดท้องน้อยบริเวณสีข้าง หลังล่าง หรือ อุ้งเชิงกราน เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน ด้านหลังกระดูกหัวเหน่า และไตอยู่ค่อนไปทางด้านหลัง จึงมีอาการปวดค่อนไปทางข้างหลัง
  • ปวดปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะออกได้ไม่สุด
  • ปัสสาวะติดขัด ปวดแสบ ปัสสาวะบ่อยแต่ออกมาน้อย
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะมีสีขุ่น มีกลิ่นแรงผิดปกติและอาจมีเลือดปน
ใครกันละที่จะมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะ
  • ใช้ยาปฏิชีวนะในการสวนล้างทำความสะอาดช่องคลอด
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์  
  • การรับประทานยากดภูมิต้านทาน
  • การใส่สายสวนปัสสาวะ
การดูแลรักษา

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรมเป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มจากการจัดการตัวเอง โดยการไม่กลั่นปัสสาวะ เพื่อให้ขับเชื้อโรคต่าง ๆ ออกจากร่างกาย ทำความสะอาดร่างกาย อวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะ อุจจาระ และหลังมีเพศสัมพันธุ์ให้สะอาดเพื่อลดการเกิดโรค และเสริมด้วยการดื่มน้ำระหว่างวันให้ร่างกายขับของเสียออกอย่างสม่ำเสมอ

ยา

การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาแบบฉับพลัน โดยใช้ยาในกลุ่มของ fluoroquinolone ได้แก่ Norfloxacin, Ofloxacin, Ciprofloxacin ควรทางไม่เกิด 7 วัน หากมีอาการไม่รุ่นแรงทานประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าหากอาการรุนแรงต้องเพิ่มระยะเวลาในการรับยาปฏิชีวนะประมาณ 7-10 วัน ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร

อาหารเสริม

ในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยในการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุหนึ่งที่เกิดคือ การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องคลอด เป็นผลทำให้ความเป็นความเป็นกรดในช่องคลอดลดลง เพิ่มโอกาสการาเจริญของเชื้อโรค เชื้อฉวยโอกาส ให้มีการเจริญเพิ่มขึ้น ดังนั้นการทานผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสามารถช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในช่องคลอดได้ นอกจากนี้ยังลดการอักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับช่องคลอดและร่างกายได้ ช่วยเสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์ในผนังของท่อปัสสาวะ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ เพิ่มการดูซึมผ่านของสารและลดการแพร่ผ่านของสารพิษ

อ้างอิง

Lin H-Y, Lu J-H, Chuang S-M, Chueh K-S, Juan T-J, Liu Y-C, Juan Y-S. Urinary Biomarkers in Interstitial Cystitis/Bladder Pain Syndrome and Its Impact on Therapeutic Outcome. Diagnostics. 2022; 12(1):75.

Ueda T, Hanno PM, Saito R, Meijlink JM, Yoshimura N. Current Understanding and Future Perspectives of Interstitial Cystitis/Bladder Pain Syndrome. Int Neurourol J. 2021 Jun;25(2):99-110.

บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy