แชร์

ตกขาว ปัญหาใหญ่ของผู้หญิง

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
82 ผู้เข้าชม

ตกขาว

คือสารคัดหลั่งที่ขับมาจากช่องคลอด การตกขาวเป็นเรื่องปกติ โดยตกขาวจะมีลักษณะขาวหรือใส ที่ไม่เป็นอันตราย และของเหลวที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้วขับออกทางช่องคลอด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ เช่น การติดเชื้อ เนื้อร้าย และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีผลทำให้ตกขาวมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเช่น มีการเปลี่ยนแปลงของสี ความสม่ำเสมอ ปริมาตร กลิ่นและอาจเกี่ยวข้องกับอาการต่างๆ เช่น คัน ปวด ปัสสาวะลำบาก ปวดอุ้งเชิงกราน มีเลือดออกระหว่างรอบเดือนหรือหลังมีเพศสัมพันธ์แสดงถึงความผิดปกติของการตกขาวเกิดขึ้น

สาเหตุการเกิดตกขาว

สาเหตุของการตกขาวเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย

o   การติดเชื้อจากแบคทีเรีย (bacterial vaginosis :BV) ซึ่งเป็นภาวะที่มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคหรือแบคทีเรียที่ไม่ดีมีการการเจริญเติบโตแทนที่แบคทีเรียประจำถิ่น เป็นผลให้เกิดการเสียสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดและนำไปสู่ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอาจทำให้ตกขาวของมีกลิ่น คาว นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในช่องคลอด

o  การติดเชื้อจากเชื้อรา มักเกิดจากเชื้อรากลุ่ม Canfida โดยเฉพาะ Candida albicans เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่า pH ช่องคลอดที่มีความเป็นด่างสูงขึ้น สามารถทำให้เชื้อรากลุ่มนี้เจริญเติบโตได้ดี ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น อาการคัน ปวดช่องคลอด ปัสสาวะลำบากจากภายนอก

o  การติดเชื้อจากปรสิต เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Trichomonas vaginalis ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น คัน แสบ ในช่องคลอดและบริเวณรอบ ๆ เจ็บและแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ รู้สึกระคายเคืองขณะปัสสาวะ

o  แพ้สารเคมี ก่อให้เกิดความระคายเคือง เนื่องจากช่องคลอดผู้หญิงเป็นจุดที่บอกบาง จึงตอบสนองต่อสารเคมีที่ไว เป็นผลให้เกิดความระคายเคืองได้ง่าย

o  การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

อาการ

o  อาการคันในช่องคลอด แสบร้อน หรือระคายเคือง

o  การเปลี่ยนแปลงลักษณะการตกขาวปกติ

o  กลิ่นเหม็นไม่พึ่งประสงค์

o  เจ็บ ปวด ขณะมีเพศสัมพันธ์

o  เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ

o  ปวดหรือเจ็บบริเวณช่องท้องส่วนล่าง

o  แผลพุพอง ตุ่ม หรือแผลบริเวณอวัยวะเพศ

การดูแลรักษา

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

            ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังทำกิจวัตรทุกครั้ง โดยทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดโดยไม่จำเป็น เนื่องจากการสวนล้างจะทำให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นในช่องคลอดมีปริมาณลดลง ส่งผลให้เพิ่มโอกาสให้เชื้อก่อโรคสามารถยึดเกาะและเกิดการติดเชื้อได้ หลีกเลียงการใช้ผ้าอนามัยแผ่นบางติดต่อกัน

การใช้ยา

            เมื่อมีอาการรุนแรงหรือแพทย์ได้มีการวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา ซึ่งกลุ่มยาที่แพทย์จ่ายมีหลายประเภท เช่น ใช้ยารับประทาน เช่น metronidazole, tinidazole, clindamycin ใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น clotrimazole cream และ ใช้ยาเหน็บช่องคลอด เช่น clotrimazole suppository  ซึ่งการรักษาด้วยยาจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลโดยแพทย์

การรับประทานอาหารเสริม

            ปัจจุบันมีการศึกษาด้านจุลินทรีย์และการศึกษา microbiome ซึ่งเป็นการศึกษาจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ ช่องคลอดปกติจะมีเชื้อแบคทีเรียดีอาศัยอยู่หนาแน่ราว ๆ 108-109 Colony ต่อ 1 มิลลิลิตรของสารน้ำในช่องคลอดโดยสายพันธุ์ที่พบมาสุด คือ Lactobacillus  acidophilus  สามารถสร้าง hydrogen peroxide โดยมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ซึ่งจะทำลายองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย เพื่อลดการติดเชื้อและการอักเสบ จากงานวิจัยพบว่า โพรไบโอติกบางสายพันธุ์จะมีคุณสมบัติเฉพาะในการลดการอักเสบ เมื่อมีการอักเสบร่างกายจะถูกกระตูนให้เกิดการหลั่งสารสื่ออักเสบ( proinflammatory cytokines) ต่าง ๆ ออกมา เช่น Tumor Necrosis Factor Alpha (TNF-α),  Interleukin-1 (IL-1), Interleukin-1(IL-6) โพรไบโอติกจะมีการยับยั้งหรือลดการหลังของสารสื่อการอักเสบ เป็นผลให้มีการอักเสบลดลง จากงานวิจัยพบว่า เมื่อให้โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus paracasei MSMC 39-1 หนูทดลองเป็นเวลา 4 เดือน พบว่าระดับของ TNF-α  และ IL-1

ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียกับหนูที่ไม่ได้รับโพรไบโอติก นอกจากนี้โพรไบโอติกจะช่วยย่อยสารอาหารและผลิตกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acids : SCFAs) ซึ่งมีบทบาททางสรีรวิทยาที่หลากหลายในการทำงานของร่างกายโดยมีผลต่อความอยากอาหารและสุขภาพหัวใจ เมตาบอลิซึม สุขภาพจิตและอารมณ์ เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นผลทำให้จุลินทรีย์ในช่องคลอดสามารถกลับสูงสภาวะสมดุลได้ ดังนั้นโพรไบโอติกจึงมีบทบาทในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในช่องคลอง ลดการอักเสบและการติดเชื้อในช่องคลอด


บทความที่เกี่ยวข้อง
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไรกับ โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไร ? กว่า 2 ทศวรรษ มากกว่าครึ่งชีวิต ในทุกลมหายใจกับเรื่องราวของโพรไบโอติก โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT Human by SAS จะมาตอบคำถามให้ฟังไปพร้อม ๆ กัน
17 ธ.ค. 2024
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย เพื่อสุขภาพคนไทย โพรไบโอติก เป็นเทรนด์สุขภาพที่มาแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากมีงานวิจัยออกมายืนยันเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากมาย ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน หรือ ดร.แบงค์ Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาบอกเล่าถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy