แชร์

ประจำเดือนหาย จุดเริ่มต้นของวัยทอง

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
144 ผู้เข้าชม

วัยทอง (Menopause)

            เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนสตรีวัยหมดประจำเดือนทั่วโลกก็เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีประมาณ 1.2 พันล้านคนทั่วโลกภายในปี 2573 สตรีวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ที่ฮอร์โมนเพศลดน้อยลง โดยนับหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 1 ปี ถ้านับตามค่าเฉลี่ยอายุแล้วก็จะอยู่ที่ราว ๆ อายุ 45-50 ปี ในปัจจุบันผู้หญิงประมาณร้อยละ 8 ของผู้หญิงทั่วโลกกำลังประสบปัญหาภาวะหมดประจำเดือนที่เร็วขึ้นในช่วง 40-45 ปี  จึงสามารถแบ่งช่วงการเกิดวัยทองได้ 3 ช่วง ได้แก่

Perimenopause หรือ Menopause transition

วัยก่อนหมดประจำเดือนสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ 8 ถึง 10 ปีก่อนหมดประจำเดือน เมื่อรังไข่ค่อย ๆ ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง เป็นผลให้ประจำเดือนลดน้อยลงตาม โดยปกติจะเริ่มเมื่อคุณอายุ 40 ปี แต่ในช่วงระยะนี้ยังคงมีประจำเดือนและสามารถตั้งครรภ์ได้

Menopause

วัยหมดประจำเดือนคือจุดที่ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป ในระยะนี้รังไข่จะหยุดปล่อยไข่และหยุดผลิตเอสโตรเจนส่วนใหญ่ เป็นผลให้ไม่มีการสร้างประจำเดือน โดยแพทย์จะวินิจฉัยภาวะหมดประจำเดือนเมื่อไม่มีประจำเดือนเป็นเวลา 12 เดือนติดต่อกัน

Postmenopause

เป็นวัยที่หมดประจำเดือนหรือไม่มีประจำเดือนมาตลอดทั้งปี ในระยะนี้จะพบอาการวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ในบางรายจะมีอาการหมดประจำเดือนนานถึง 10 ปี หลังจากช่วงเปลี่ยนผ่านของวัยหมดประจำเดือน ผลจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับภาวะสุขภาพ เช่น โรคกระดูกพรุนและโรคหัวใจ

อาการวัยหมดประจำเดือน

1. อาการของวาโซมอเตอร์ (Vasomotor)

อาการของวาโซมอเตอร์ หรือ อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออก เกิดขึ้นจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนกับอุณหภูมิร่างกายหลักของคุณ ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง เป็นผลต่อการควบคุมอุณหภูมิ ทำให้ตัวควบคุมอุณหภูมิภายในไวต่อการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ มากขึ้น หากร่างกายสัมผัสอากาศที่ร้อนเกินไป ร่างกายจะปรับตัวให้เย็นลง โดยการขยายของหลอดเลือด เมื่อมีการขยายของหลอดเลือดจะเพิ่มการส่งเลือดไปที่ผิวมากขึ้นเพื่อกำจัดความร้อน เป็นผลให้ร่างกายเย็นลง อาการร้อนวูบวาบจะเริ่มในช่วงวัยหมดประจำเดือนและจะอยู่เป็นเวลา 4-5 ปีหลังวัยหมดประจำเดือน โดยอาการร้อนวูบวาวมักมาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเหนื่อยล้า นอนไม่หลับ เพลียสะสม และหงุดหงิด ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

2. ปัญหาการนอนหลับ

รูปแบบการนอนหลับในวัยกลางคนอาจถูกรบกวนโดยอาการของวาโซมอเตอร์ เป็นผลทำให้นอนหลับได้ลำบาก ส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง อาจส่งให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาอีกด้วย

3. ความผิดปกติทางสติปัญญาและอารมณ์

สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือวัยหมดประจำเดือนมีอาการวูบวาว นอนไม่หลับ ตามมาด้วยอารมณ์แปรปรวนเนื่องจากฮอร์โมน หงุดหงิด เหนื่อยล้า ปัญหาสมาธิ รวมถึงปวดกล้ามเนื้อและข้อ นอกจากยังพบในส่วนของความจำบกพร่อง สมาธิสั้น ร่วมด้วย

4. กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะของวัยหมดประจำเดือน

กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะในวัยหมดประจำเดือน (genitourinary syndrome of menopause: GSM) กลุ่มอาการที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลต่อช่องคลอด ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ โดยมีอาการระคายเคือง แห้ง แสบร้อน ปัสสาวะบ่อยและเร่งด่วน การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ และอาการปวดและแห้งขณะมีเพศสัมพันธ์

การรักษา

o  สังเกตและจดจำอาการต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดอาการและการสัมผัสอาการร้อน อาหารรสจัด เครื่องดื่มร้อนและเครื่องดื่มที่ช่วยกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์

o  งดสูบบุหรี่

o  ผ่อนคลายจิตใจ และหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะความเครียดมีผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น

o  ใช้สารหล่อลื่นและใช้ครีมเอสโตรเจนทาเพื่อกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น ป้องกันช่องคลอดแห้ง

o  หากมีอาการซึมเศร้าแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาลดอาการซึมเศร้า เช่น ยาในกลุ่ม SSRI รวมถึงทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคายความเครียด และทำให้จิตใจแจ่มใส

o  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้แรงมากหรือใช้แรงในการกระทำต่อข้อต่อ เพื่อลดการเกิดภาวะกระดูกพรุน

o   รับประทานอาหารเสริมต่าง ๆ เช่น วิตามินอี และ บีคอมเพล็กซ์ ช่วยในการบำรุงสมองและฮอร์โมน แคมเซียม ช่วยในการบำรุงกระดูกเพื่อไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือ โพรไบโอติก โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการทำงานเชิงหน้าที่ ผลิตภัณฑ์ bioCRAFT biocap seabuckthorn extract เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยโพรไบโอติก 3 สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการดูแลสุขภาพภายในช่องคลอด ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ปรับค่ากรด-ด่างในช่องคลอดให้เหมาะสม ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ลดการตกขาวปกติและเรื้อรัง ช่องคลอดแห้ง แสบ คัน กลิ่นไม่พึงประสงค์  นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ยังเสริมสารสกัด ซีบัคธอร์น ซึ่งเป็นพืชตระกูลเบอร์รีที่มีคุณสมบัติสูง ประกอบด้วย วิตามิน  เกลือแร่ กรดอะมิโน กรดไขมันไม่อิ่มตัวต่าง ๆ เช่น Omega 3, 6, 7 และ 9 โดยเฉพาะ Omega 7 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในพืชเพียงไม่กี่ชนิด หนึ่งในนั้น คือ ซีบัคธอร์น โดยมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญให้ร่างกายดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับ ผิว ดวงตา รวมถึงช่องคลอดอีกด้วย

อ้างอิง

Barrea L, Verde L, Auriemma RS, Vetrani C, Cataldi M, Frias-Toral E, Pugliese G, Camajani E, Savastano S, Colao A, Muscogiuri G. Probiotics and Prebiotics: Any Role in Menopause-Related Diseases. Curr Nutr Rep. 2023;12(1):83-97.

 Lambrinoudaki I, Armeni E, Goulis D, Bretz S, Ceausu I, Durmusoglu F, el at. Menopause, wellbeing and health: A care pathway from the European Menopause and Andropause Society. Maturitas. 2022; 163: 1-14.


บทความที่เกี่ยวข้อง
ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank)
บนโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์นับหมื่นนับแสน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล แต่ปัจจุบันเราสามารถศึกษาได้เพียง 1% ของจุลินทรีย์ทั้งหมดบนโลก ดังนั้นคำถามสำคัญคือ “เราจะทำอะไรกับจุลินทรีย์ที่เรามีอยู่ในมือได้บ้าง?” เพื่อหาคำตอบนี้ จึงได้เกิดแนวคิด ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank) ขึ้นมา ธนาคารจุลินทรีย์เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูล และตัวอย่างจุลินทรีย์ที่รวบรวมไว้เพื่อการอนุรักษ์ วิจัย และพัฒนา นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทยมี ธนาคารจุลินทรีย์แห่งชาติ (NBT - National Biobank of Thailand) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาจุลินทรีย์ให้คงอยู่ในระยะยาวและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจุลินทรีย์ การจัดการธนาคารจุลินทรีย์จำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เช่น ได้รับการรับรอง ISO9001 ซึ่งเน้นคุณภาพของตัวอย่างจุลินทรีย์ และ ISO20387 ที่เป็นมาตรฐานการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
6 ก.พ. 2025
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy