แชร์

ประจำเดือนหาย จุดเริ่มต้นของวัยทอง

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
78 ผู้เข้าชม

วัยทอง (Menopause)

            เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนสตรีวัยหมดประจำเดือนทั่วโลกก็เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีประมาณ 1.2 พันล้านคนทั่วโลกภายในปี 2573 สตรีวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ที่ฮอร์โมนเพศลดน้อยลง โดยนับหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 1 ปี ถ้านับตามค่าเฉลี่ยอายุแล้วก็จะอยู่ที่ราว ๆ อายุ 45-50 ปี ในปัจจุบันผู้หญิงประมาณร้อยละ 8 ของผู้หญิงทั่วโลกกำลังประสบปัญหาภาวะหมดประจำเดือนที่เร็วขึ้นในช่วง 40-45 ปี  จึงสามารถแบ่งช่วงการเกิดวัยทองได้ 3 ช่วง ได้แก่

Perimenopause หรือ Menopause transition

วัยก่อนหมดประจำเดือนสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ 8 ถึง 10 ปีก่อนหมดประจำเดือน เมื่อรังไข่ค่อย ๆ ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง เป็นผลให้ประจำเดือนลดน้อยลงตาม โดยปกติจะเริ่มเมื่อคุณอายุ 40 ปี แต่ในช่วงระยะนี้ยังคงมีประจำเดือนและสามารถตั้งครรภ์ได้

Menopause

วัยหมดประจำเดือนคือจุดที่ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป ในระยะนี้รังไข่จะหยุดปล่อยไข่และหยุดผลิตเอสโตรเจนส่วนใหญ่ เป็นผลให้ไม่มีการสร้างประจำเดือน โดยแพทย์จะวินิจฉัยภาวะหมดประจำเดือนเมื่อไม่มีประจำเดือนเป็นเวลา 12 เดือนติดต่อกัน

Postmenopause

เป็นวัยที่หมดประจำเดือนหรือไม่มีประจำเดือนมาตลอดทั้งปี ในระยะนี้จะพบอาการวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ในบางรายจะมีอาการหมดประจำเดือนนานถึง 10 ปี หลังจากช่วงเปลี่ยนผ่านของวัยหมดประจำเดือน ผลจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับภาวะสุขภาพ เช่น โรคกระดูกพรุนและโรคหัวใจ

อาการวัยหมดประจำเดือน

1. อาการของวาโซมอเตอร์ (Vasomotor)

อาการของวาโซมอเตอร์ หรือ อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออก เกิดขึ้นจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนกับอุณหภูมิร่างกายหลักของคุณ ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง เป็นผลต่อการควบคุมอุณหภูมิ ทำให้ตัวควบคุมอุณหภูมิภายในไวต่อการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ มากขึ้น หากร่างกายสัมผัสอากาศที่ร้อนเกินไป ร่างกายจะปรับตัวให้เย็นลง โดยการขยายของหลอดเลือด เมื่อมีการขยายของหลอดเลือดจะเพิ่มการส่งเลือดไปที่ผิวมากขึ้นเพื่อกำจัดความร้อน เป็นผลให้ร่างกายเย็นลง อาการร้อนวูบวาบจะเริ่มในช่วงวัยหมดประจำเดือนและจะอยู่เป็นเวลา 4-5 ปีหลังวัยหมดประจำเดือน โดยอาการร้อนวูบวาวมักมาพร้อมกับอาการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเหนื่อยล้า นอนไม่หลับ เพลียสะสม และหงุดหงิด ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

2. ปัญหาการนอนหลับ

รูปแบบการนอนหลับในวัยกลางคนอาจถูกรบกวนโดยอาการของวาโซมอเตอร์ เป็นผลทำให้นอนหลับได้ลำบาก ส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง อาจส่งให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาอีกด้วย

3. ความผิดปกติทางสติปัญญาและอารมณ์

สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือวัยหมดประจำเดือนมีอาการวูบวาว นอนไม่หลับ ตามมาด้วยอารมณ์แปรปรวนเนื่องจากฮอร์โมน หงุดหงิด เหนื่อยล้า ปัญหาสมาธิ รวมถึงปวดกล้ามเนื้อและข้อ นอกจากยังพบในส่วนของความจำบกพร่อง สมาธิสั้น ร่วมด้วย

4. กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะของวัยหมดประจำเดือน

กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะในวัยหมดประจำเดือน (genitourinary syndrome of menopause: GSM) กลุ่มอาการที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลต่อช่องคลอด ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ โดยมีอาการระคายเคือง แห้ง แสบร้อน ปัสสาวะบ่อยและเร่งด่วน การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ และอาการปวดและแห้งขณะมีเพศสัมพันธ์

การรักษา

o  สังเกตและจดจำอาการต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดอาการและการสัมผัสอาการร้อน อาหารรสจัด เครื่องดื่มร้อนและเครื่องดื่มที่ช่วยกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์

o  งดสูบบุหรี่

o  ผ่อนคลายจิตใจ และหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะความเครียดมีผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น

o  ใช้สารหล่อลื่นและใช้ครีมเอสโตรเจนทาเพื่อกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น ป้องกันช่องคลอดแห้ง

o  หากมีอาการซึมเศร้าแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาลดอาการซึมเศร้า เช่น ยาในกลุ่ม SSRI รวมถึงทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคายความเครียด และทำให้จิตใจแจ่มใส

o  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้แรงมากหรือใช้แรงในการกระทำต่อข้อต่อ เพื่อลดการเกิดภาวะกระดูกพรุน

o   รับประทานอาหารเสริมต่าง ๆ เช่น วิตามินอี และ บีคอมเพล็กซ์ ช่วยในการบำรุงสมองและฮอร์โมน แคมเซียม ช่วยในการบำรุงกระดูกเพื่อไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือ โพรไบโอติก โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการทำงานเชิงหน้าที่ ผลิตภัณฑ์ bioCRAFT biocap seabuckthorn extract เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยโพรไบโอติก 3 สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการดูแลสุขภาพภายในช่องคลอด ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ปรับค่ากรด-ด่างในช่องคลอดให้เหมาะสม ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ลดการตกขาวปกติและเรื้อรัง ช่องคลอดแห้ง แสบ คัน กลิ่นไม่พึงประสงค์  นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ยังเสริมสารสกัด ซีบัคธอร์น ซึ่งเป็นพืชตระกูลเบอร์รีที่มีคุณสมบัติสูง ประกอบด้วย วิตามิน  เกลือแร่ กรดอะมิโน กรดไขมันไม่อิ่มตัวต่าง ๆ เช่น Omega 3, 6, 7 และ 9 โดยเฉพาะ Omega 7 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในพืชเพียงไม่กี่ชนิด หนึ่งในนั้น คือ ซีบัคธอร์น โดยมีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญให้ร่างกายดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับ ผิว ดวงตา รวมถึงช่องคลอดอีกด้วย

อ้างอิง

Barrea L, Verde L, Auriemma RS, Vetrani C, Cataldi M, Frias-Toral E, Pugliese G, Camajani E, Savastano S, Colao A, Muscogiuri G. Probiotics and Prebiotics: Any Role in Menopause-Related Diseases. Curr Nutr Rep. 2023;12(1):83-97.

 Lambrinoudaki I, Armeni E, Goulis D, Bretz S, Ceausu I, Durmusoglu F, el at. Menopause, wellbeing and health: A care pathway from the European Menopause and Andropause Society. Maturitas. 2022; 163: 1-14.


บทความที่เกี่ยวข้อง
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไรกับ โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไร ? กว่า 2 ทศวรรษ มากกว่าครึ่งชีวิต ในทุกลมหายใจกับเรื่องราวของโพรไบโอติก โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT Human by SAS จะมาตอบคำถามให้ฟังไปพร้อม ๆ กัน
17 ธ.ค. 2024
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย เพื่อสุขภาพคนไทย โพรไบโอติก เป็นเทรนด์สุขภาพที่มาแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากมีงานวิจัยออกมายืนยันเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากมาย ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน หรือ ดร.แบงค์ Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาบอกเล่าถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy