แชร์

ไขมันสูง เสี่ยงอย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
88 ผู้เข้าชม

โรคไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

            โรคไขมันสูงเป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของระดับไขมันที่สูงเกินเกณฑ์ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น  

โดยไขมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) 

คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

เป็นไขมันที่อยู่ในกลุ่มของสเตอรอลจัดเป็นสาระสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์เยื่อหุ้มเซลล์ ฮอร์โมน กรดน้ำดี และวิตามิน ร่างกายสามารถรับคอเลสเตอรอลได้จากตับเพื่อใช้ในการทำงานของร่างกาย อีกส่วนได้จากการรับประทานอาหารในกลุ่มของ เนื้อสัตว์ ไข่ นม นอกจากนี้อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์จัดเป็นไขมันที่สามารถเพิ่มระดับของคลเลสเตอรอลในร่างกายได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ คลอเลสเตอรอลสามารถแบ่งได้สองประเภทคือ

High-Density Lipoprotein (HDL)

 HDLหรือมักถูกเรียกว่าไขมันดี เนื่องจากเป็นคลอเลสเตอรอลที่สามารถดูดซับคลอเรสเตอรอลชนิดอื่นออกจากหลอดเลือดและกลับไปตับ จากนั้นร่างกายจะกำจัดคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีออกจากร่างกาย

Low-Density Lipoprotein (LDL)

เป็นไขมันชนิดไม่ดีที่มาจากไขมันสัตว์ ถ้าไขมันชนิดนี้สูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือดทำให้ตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจเป็นสองเท่า

อาการของภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นไปได้อย่างไร?

ในคนที่มีภาวะไขมันสูงมักจะไม่พบการแสดงอาการ แต่หากไขมันในเลือดสูงมากส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อน ได้แก่

o  ความดันโลหิตสูง

o  อาการวิงเวียนศีรษะ

o  อาการเจ็บหน้าอก

o  หายใจถี่

o  ชาหรือรู้สึกเสียวซ่าในแขนขา

o  สมานแผลช้า

การวินิจฉัยไขมันในเลือดสูง

เนื่องจากไขมันในเลือดสูงระยะแรกไม่มีอาการแสดงออกอย่างชัดเจน การวินิจฉัยโรคจึงใช้วิธีการตรวจหาระดับไขมันในเลือดที่เรียกว่าหรือ Lipid Profile โดยแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยและส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ แพทย์อาจสั่งให้งดอาหารและเครื่องดื่มเป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ โดยเกณฑ์วัดระดับไขมันในเลือดจะแสดงค่าต่าง ๆ ดังนี้

ค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือเอชดีแอล 

o  ไม่ควรน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

o  ค่าที่เหมาะสมคือควรมากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ค่าคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือแอลดีแอล

o  ค่าปกติคือ น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

o  ค่า 100-129 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าใกล้เคียงปกติ

o  ค่า 130-159 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าสูงเล็กน้อย

o  ค่า 160-189 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าสูง

o  ค่ามากกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ถือเป็นระดับที่สูงมากและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ค่าไตรกลีเซอไรด์

ค่าคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol)

o  น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าปกติ

o  ค่า 200-239 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าสูงเล็กน้อย เริ่มอันตราย

o  มากกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าสูงมาก

ค่าไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

o  ระดับปกติ คือ 50 150 mg/dL

o  ระดับสูงปานกลาง คือ 150 199 mg/dL

o  ระดับสูง คือ 200 499 mg/dL

o  ระดับสูงมาก คือ > 500 mg/dL

ปัจจัยที่อาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้

o  ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากเกินไป

o  โรคอ้วน

o  โรคเบาหวาน

o  โรคเมตาบอลิก

o  ใช้ยาฮอร์โมนหรือสเตียรอยด์

o  วัยหมดประจำเดือน

o  ผู้ป่วยโรคไต

o  ผู้ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์

การรักษาไขมันในเลือดสูง

o   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

o   หากไขมันในเลือดสูงจากสาเหตุทางพันธุกรรม แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาร่วมด้วย เช่น ยาซินวาสแตติน (Simvastatin), ยาโลวาสแตติน (Lovastatin)

o  การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจจะต้องใช้เวลานานและความสม่ำเสมอ และการใช้ยาในการรักษามักมีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องผูก หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมอย่างมากคือ ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จาก bioCRAFT bioCAP HEPA ซึ่งประกอบด้วยโพรไบโอติก 3 สายพันธุ์ คือ Bifidobacterium animalis TA-1, Lactobacillus paracasei MSMC39-1, Lactobacillus reuteri TF314 ช่วยในการลดการดูดซึมไขมันไม่ดี ลดไขมันพอกตับ ลงระดับไขมันในกระแสเลือด นอกจากนี้  bioCRAFT bioCAP HEPA ยังช่วยปรับสมดุลลำไส้ ลดการอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ที่สำคัญโพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่ดีและเป็นเชื้อประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหารจึงยังไม่มีรายงานการแพ้ด้วย

อ้างอิง

Ezeh KJ, Ezeudemba O. Hyperlipidemia: A Review of the Novel Methods for the Management of Lipids. Cureus. 202, 13(7):16412. 

Liu T, Zhao D, Qi Y. Global Trends in the Epidemiology and Management of Dyslipidemia. J Clin Med. 2022, 11(21):6377. 


บทความที่เกี่ยวข้อง
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไรกับ โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไร ? กว่า 2 ทศวรรษ มากกว่าครึ่งชีวิต ในทุกลมหายใจกับเรื่องราวของโพรไบโอติก โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT Human by SAS จะมาตอบคำถามให้ฟังไปพร้อม ๆ กัน
17 ธ.ค. 2024
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย เพื่อสุขภาพคนไทย โพรไบโอติก เป็นเทรนด์สุขภาพที่มาแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากมีงานวิจัยออกมายืนยันเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากมาย ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน หรือ ดร.แบงค์ Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาบอกเล่าถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy