แชร์

แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กรดไหลย้อนแน่นอน

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
288 ผู้เข้าชม

แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กรดไหลย้อนแน่นอน

Gastro-Esophageal Reflux Disease (GERD) หรือ โรคกรดไหลย้อน นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตจากอุบัติการณ์ของโรคกรดไหลย้อนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกค่อนข้างสูง เฉลี่ยประมาณร้อยละ 50-60 ส่วนในประเทศไทย พบว่าคนไทยวัยทำงานประสบปัญหาโรคกรดไหลย้อนกันมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วสาเหตุของโรคเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่


 สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนเกิดจากการมีสารจากกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมาหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อาการแสบ ร้อนยอดอก และเรอเปรี้ยว บางรายที่มีความรุ่นแรงอาจทำให้กลืนลำบาก นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การนอนดึกร่วมด้วยกับการประทานยอาหารดึก กระเพาะอาหารยังเกิดกระบวนการย่อยอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขั้น ทำให้กรดในกระเพราะอาหารดันกลับขึ้นไปยังหลอดอาหารได้


ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นผลทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร โดยสมองทำหน้าที่สั่งการให้มีการหลั่งกรดมากขึ้นเมื่อเกิดความเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล อาการเหล่านี้ยังมีผลเพิ่มความเครียดของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การบีบตัวของหลอดอาหารลดลง จึงเกิดแรงดันและลมปริมาณมากในกระเพาะอาหาร เมื่อร่างกายย่อยอาหารได้ช้าจึงเกิดอาการ จุกเสียด แน่นหน้าอกความเครียดยังส่งผลให้หูรูดบริเวณกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติด้วย โดยหากหูรูดหย่อนจะทำให้ไม่สามารถปิดกั้นกรดที่ย้อนขึ้นมาได้ จึงเกิดอาการแสบร้อนกลางอก หายใจไม่อิ่ม เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้


 ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการกรดไหลย้อน
 ดื่มน้ำเกินมาตรฐาน
 ผู้ที่ชอบดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอร์
 ผู้ที่ชอบสูบหรี่
 นอนดึก เครียด วิตกกังวล
 สตรีมีครรภ์
 ผู้ที่ทานอาหารไม่เป็นเวลา
 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน


 อาหารของกรดไหลย้อน
 แสบร้อนกลางอก
 ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ หลังรับประทานอาหาร
 เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
 มีอาการเรอและน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
 กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
 ไอเรื้อรัง
 เสียงแหบเรื้อรัง


 วิธีรักษาอาหารกรดไหลย้อน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ปรับพฤติกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน เช่น งดอาหารที่จะส่งผลต่อการเป็นกรดไหลย้อน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน หากิจกรรมต่างๆ เพื่อลดหรือผ่อนคลายความเครียด


 การใช้ยา
โดยการใช้ยาจะแบ่งตามลักษณะและความรุนแรงของอาการ โดยเริ่มตั้งแต่ยาลดกรดจนไปถึงยาที่ช่วยให้หูรูดกระเพาะอาหารปิดได้สนิทขึ้นเพื่อทำให้ไม่เกิดภาวะไหลย้อน


 อาหารเสริม
อาหารเสริมที่ช่วยบรรเทาอาหารกรดไหลย้อมมีอยู่หลายชนิด หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่กำลังนิยมคือ ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติก bioCAP 7 with INLIN ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยโพรไบโอติก 7 สายพันธุ์ โดยมีคุณสมบัติในการลดเชื้อ Helicobacter Pylor ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่กระตุ้นการคัดหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารให้มีมากขึ้น นอกจากนี้โพรไบโอติกยังช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยกระตุ้นการขับข่าย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับกระบวนการเผฃาผลาญและเมตาบอลิซึม นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ยังเสริมพรีไบโอติกชนิด อินูลิน เพื่อเพิ่มการเจริญของโพรไบโอติกเมื่อถึงลำไส้


อ้างอิง
Clarrett DM, Hachem C. Gastroesophageal Reflux Disease (GERD). Mo Med. 2018;115(3):214-218.


บทความที่เกี่ยวข้อง
ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank)
บนโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์นับหมื่นนับแสน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล แต่ปัจจุบันเราสามารถศึกษาได้เพียง 1% ของจุลินทรีย์ทั้งหมดบนโลก ดังนั้นคำถามสำคัญคือ “เราจะทำอะไรกับจุลินทรีย์ที่เรามีอยู่ในมือได้บ้าง?” เพื่อหาคำตอบนี้ จึงได้เกิดแนวคิด ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank) ขึ้นมา ธนาคารจุลินทรีย์เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูล และตัวอย่างจุลินทรีย์ที่รวบรวมไว้เพื่อการอนุรักษ์ วิจัย และพัฒนา นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทยมี ธนาคารจุลินทรีย์แห่งชาติ (NBT - National Biobank of Thailand) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาจุลินทรีย์ให้คงอยู่ในระยะยาวและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจุลินทรีย์ การจัดการธนาคารจุลินทรีย์จำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เช่น ได้รับการรับรอง ISO9001 ซึ่งเน้นคุณภาพของตัวอย่างจุลินทรีย์ และ ISO20387 ที่เป็นมาตรฐานการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
6 ก.พ. 2025
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy