แชร์

BOD COD คือค่าอะไร สำคัญอย่างไรกับน้ำเสีย

อัพเดทล่าสุด: 9 ธ.ค. 2024
2338 ผู้เข้าชม

BOD COD คือค่าอะไร สำคัญอย่างไรกับน้ำเสีย


ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของน้ำเสีย
พารามิเตอร์หรือตัวชี้วัดของการจำแนกน้ำ คือ ค่าคงตัว ตัวเลข ที่กำหนดค่ามาตราฐานของน้ำเพื่อจำแนกประเภทน้ำ การจัดการและการบำบัดของน้ำได้ ซึ่งค่าพารามิเตอร์ในการจำแนกน้ำได้แก่


1. ดีโอ ( Dissolved Oxygen : DO ) ค่าของปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร ( mg/l ) โดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 5-8 ppm ค่า DO มีผลสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตและการเจริญเติบโตจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลายของเสียที่ใช้ออกซิเจน ถ้าค่า DO ในน้ำเสียต่ำ ออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ตาย น้ำเริ่มเน่าเสีย มีกลิ่น


2. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand: BOD) เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์นำไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โดยการเปรียบเทียบปริมาณออกซิเจน (O2) จุลินทรีย์ต้องใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ เพื่อใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ถ้าค่า BOD สูงแสดงว่าความต้องการออกซิเจนสูง บ่งบอกว่าน้ำมีความสกปรกหรือสารอินทรีย์ในน้ำมาก ตามข้อกำหนดมาตรฐานของระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานนั้น น้ำทิ้งก่อนปล่อยไปยังแหล่งน้ำธรรมชาติต้องมีค่า BOD ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร


3. ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand: COD) คือค่าปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ด้วยวิธีการทางเคมี ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ โดยน้ำที่มีค่า COD สูงแสดงว่ามีความสกปรกมาก ค่ามาตรฐานของระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน กำหนดไว้ว่าน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่า COD ไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อลิตร


4. พีเอช (Potential of Hydrogen หรือ pH) เป็นค่าที่แสดงถึงความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำเสีย โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง pH 1-14 ถ้าค่าน้อยกว่า 7 จะมีฤทธิ์เป็นกรดมีฤทธิ์กัดกร่อน และถ้าค่ามากกว่า 7 มีฤทธิ์เป็นด่าง โดยการเปลี่ยนแปลงของ pH จะส่งผลให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนไป โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือจุลินทรีย์ในระบบบำบัดจะดำรงชีพได้ดีในสภาะเป็นกลาง คือ pH ประมาณ 6-8


5. ไขมันและน้ำมัน ( Fat, Oil, and Grease) เป็นเอสเทอร์ชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ โดยน้ำมันและไขมันที่พบอยู่ในน้ำส่วนใหญ่ มักจะพบในน้ำทิ้งหรือน้ำเสีย ได้แก่ น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ สบู่ ผงซักฟอก สารเหล่านี้มีน้ำหนักเบาและลอยน้ำ ทำให้เกิดสภาพไม่น่าดูและปิดออกซิเจนจากอากาศสู่แหล่งน้ำ และมีค่า BOD สูง เพราะเป็นสารอินทรีย์ หากสารประกอบเหล่านี้ไม่ถูกกำจัดหรือบำบัดก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียอาจส่งผลรบกวนสิ่งมีชีวิตในน้ำ


6. ปริมาณของแข็ง (Suspended Solids : SS) หมายถึงปริมาณสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสีย ทั้งแบบไม่ละลายน้ำและที่ละลายน้ำ ((Dissolved Solids) ของแข็งบางชนิดมีน้ำหนักเบาและแขวนลอยอยู่ในน้ำ (Suspended Solids) บางชนิดหนักและจมตัวลงเบื้องล่าง (Settleable Solids) ค่ามาตรฐานสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานนั้น ต้องมีของแข็งแขวนลอยไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร


7. TDS (Total dissolved solids) คือของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดซึ่งได้แก่วัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์ ซึ่งรวมถึงแร่ธาตุและไอออนที่ละลายในน้ำ


8. ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุจำเป็นในการสร้างเซลล์ ของสิ่งมีชีวิต ไนโตรเจนจะเปลี่ยนสภาพเป็นแอมโมเนีย ถ้าหากในน้ำมีออกซิเจนพอเพียงก็จะถูกย่อยสลายไปเป็นไนไทรต์และไนเตรท ดังนั้นการปล่อยน้ำเสียที่มีสารประกอบไนโตรเจนสูงจึงทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในลำน้ำลดน้อยลง


ที่มา
เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokshow.com/. 23 มิถุนายน 2567.
เข้าถึงได้จาก: https://www.chemihouse.com/oil-and-grease-in-wastewater/.23 มิถุนายน 2567.
เข้าถึงได้จาก: https://www.tools.in.th/tds/tds/. 23 มิถุนายน 2567.
เข้าถึงได้จาก: http://www.kasamashop.com /. 23 มิถุนายน 2567.
เข้าถึงได้จาก: ttps://www.gotrading.co.th/Article/Article_detail/ 23 มิถุนายน 2567.
เข้าถึงได้จาก: https://www.premier-products.co.th/.../wastewater-treatment/. 23 มิถุนายน 2567.

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy