แชร์

DUAL COAT SYSTEM เทคโนโลยีการปกป้อง โพรไบโอติก

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ค. 2024
727 ผู้เข้าชม

โดยปกติแล้ว โพรไบโอติก คือเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี ตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเรา ไม่ว่าจะเป็นที่ ช่องปาก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณลำไส้ (pH 6-7 )ที่มีการอาศัยอยู่ของประชาการโพรไบโอติกอย่างหนาแน่น หลากหลายสายพันธุ์ ลำไส้จึงเปรียบเสมือนเป็นบ้าน เป็นอาณาจักรของเหล่าโพรไบโอติก ซึ่งหน้าที่ของเหล่าโพรไบโอติกในลำไส้นั้นคือ การช่วยยับยั้ง ควบคุม เชื้อก่อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในลำไส้ ไม่ให้มีจำนวนมากจนก่อโรคได้ แต่ถ้าร่างกายได้รับเชื้อโรคในปริมาณมาก ซึ่งอาจจะปะปนมากับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารหรือภาชนะไม่สะอาด ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น ท้องเสีย อาการกรดไหลย้อน หรืออาการภูมิแพ้ต่างๆ ลำไส้ทำงานผิดปกติ ป่วยง่าย เนื่องจากโพรไบโอติกอ่อนแอ และลดจำนวนลงเกิดความไม่สมดุลกันของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Dysbiosis) ดังนั้น การเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกายจึงสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีให้กับร่างกายได้ การเติมโพรไบโอติกโดยการรับประทานอาหารประเภทหมักดองต่างๆ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโซะ อีกทั้งยังมีการรับประทานโพรไบโอติกในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่การรับประทานโพรไบโอติกผ่านอาหารเหล่านี้ จำเป็นจะต้องสัมผัสกับสภาวะสิ่งแวดล้อมภายนอกไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ความร้อน ความชื้น อาการ และผ่านด่านสำคัญ นั้นคือ กรดในกระเพาะอาหาร (pH 2-4) ซึ่งมีฤทธิ์ความเป็นกรดสูง โพรไบโอติกจากอาหารเหล่านั้นอาจจะรอดชีวิตไปเจริญเติบโตในลำไส้ได้เพียงบางส่วน ดังนั้น การที่จะส่งโพรไบโอติกให้มีชีวิตรอดพ้นจากสภาวะดังกล่าวได้นั้น ควรจะต้องมีเทคโนโลยีเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ในการปกป้องโพรไบโอติกให้ไปถึงลำไส้ได้อย่างปลอดภัย

เทคโนโลยี DUAL COAT SYSTEM เป็นเทคโนโลยีที่ทาง bioCRAFT ภายในบริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด หรือ SAS นำมาใช้เพื่อปกป้องโพรไบโอติกจากสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยเทคโนโลยี DUAL COAT SYSTEM มีการปกป้องโพรไบโอติกถึง 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นการเคลือบเพื่อช่วยปกป้องโพรไบโอติกจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น อากาศ อุณหภูมิสูง ความชื้น รวมถึงแรงดันจากกระบวนการผลิต และชั้นในเคลือบเพื่อปกป้องจากกรดในกระเพาะ และทนต่อเกลือน้ำดีที่ลำไส้ได้ ดังนั้นการมี DUAL COAT SYSTEM ก็เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกัน 2 ชั้นให้กับโพรไบโอติก เพื่อให้โพรไบโอติกทำงานได้อย่างเต็มปะสิทธิภาพมากขึ้นนั้นเอง


บทความที่เกี่ยวข้อง
เลี้ยงโคอย่างไร? เมื่อโลกร้อนขึ้น
ภาวะโลกร้อน หรือความร้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้โคมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
6 ธ.ค. 2024
โพรไบโอติกเกี่ยวอย่างไรกับโรคซึมเศร้า
ในปัจจุบันโรคทางจิตเวชอยู่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสมองมีการทำงานผิดปติของของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีปริมาณลดต่ำลง ทำให้การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถแบ่งโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว 2.โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไป
9 ธ.ค. 2024
สมดุลจุลินทรีย์สร้างสุขภาพที่ดีของโค
โคเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีระบบการย่อยอาหารที่ซับซ้อน เนื่องจากมีกระเพาะถึง 4 กระเพาะ ได้แก่ รูเมนหรือกระเพาะผ้าขี้ริ้ว (rumen), เรติคิวลัมหรือกระเพาะรังผึ้ง (reticulum), โอมาซัมหรือกระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) และกระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) แต่ละกระเพาะจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ในทุกกระเพาะจะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ต่างกันอีกด้วย
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy