อาการของจุดซ้อนเร้นแก้ได้ด้วยโพรไบโอติก
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย จากสถิติพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย อยู่บริเวณใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ดังนั้น แบคทีเรียจากภายนอกไม่ว่าจะมาจากช่องคลอดหรือสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปพบว่าเชื้อ Escherichia coli เป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) อาจนำไปสู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ไตและกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารกแรกคลอด (Neonatal meningitis) ซึ่งเชื้อนี้พบได้ในช่องคลอดของมารดาที่เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) อาการอักเสบมักเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ปัสสาวะกะปริบกะปรอยบ่อยครั้ง ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะสีขุ่น บางรายมีเลือดปนมากับปัสสาวะ มีอาการเจ็บเมื่อปัสสาวะเสร็จ ตกขาวผิดปกติ มีอาการคันและกลิ่นไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย ส่งผลถึงบุคลิกภาพ ความมั่นใจ และการใช้ชีวิตประจำวันให้กับคุณผู้หญิง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
1. กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ
2. ดื่มน้ำน้อย
3. ไม่รักษาสุขอนามัยให้เหมาะสม
4. จุลินทรีย์ในระบบปัสสาวะไม่ความไม่สมดุล
การป้องกันการติดเชื้อและโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
1. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
2. ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ เพื่อขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย
3. ทำความสะอาดหลังจากปัสสาวะหรืออุจจาระอย่างถูกต้อง
4. ทำความสะอาดร่างกายหลังมีเพศสัมพันธ์
5. การใช้ยาปฏิชีวนะ แต่อาจทำให้เกิดการดื้อยาได้
6. รักษาสมดุลโพรไบโอติกในลำไส้และช่องคลอด
ร่างกายของเราเป็นที่อยู่ของเหล่าจุลินทรีย์ตัวเล็กๆ มากมายหลายชนิด ซึ่งอาศัยกันเป็นระบบนิเวศหรือชุมชนจุลินทรีย์ ที่เรียกว่า ไมโครไบโอต้า เช่น ไมโครไบโอต้าบนผิวหนัง ไมโครไบโอต้าในระบบทางเดินอาหาร ไมโครไบโอต้าของระบบขับถ่าย และ ไมโครไบโอต้าในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ดังนั้นการที่ระบบต่างๆในร่างกายจะทำงานได้ดีและเป็นปกติ จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเหล่านนั้น ก็ควรเป็นชนิดที่ดี ไม่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เราเรียกจุลินทรีย์ชนิดดีเหล่านั้นว่า โพรไบโอติก โพรไบโอติกจะทำหน้าที่ในการยับยั้ง ควบคุม และปรับสมดุลจุลินทรีย์ในระบบนิเวศนั้นๆ ให้มีความสมดุลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ ช่องปากไปจนถึงลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และยังมีไมโครไบโอต้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับระบบขับถ่ายคือ ไมโครไบโอต้าช่องคลอด การไม่สมดุลของไมโครไบโอต้าในระบบปัสสาวะนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น การทีเรามีจุลินทรีย์ดีในระบบทางเดินอาหารก็จะส่งผลไปถึง ช่องคลอดและระบบทางเดินปัสสาวะได้ โดยทั่วไปแล้ว ช่องคลอดจะมี pH เป็นกรดอ่อนๆ (pH 3.8-4.2) ซึ่งเป็นสภาวะที่ชุมชนโพรไบโอติก โดยเฉพาะกลุ่ม แลคโตบาซิลลัส สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียก่อโรคต่างๆ ไม่ให้ก่อโรค เช่น การตกขาว การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซึ่งอาจทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบตามมา อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการคัน มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ส่งผลต่อบุคลิกและการใช้ชีวิตประจำวันได้
จากงานวิจัยพบว่า การปรับสมดุลจุลินทรีย์ในช่องคลอดทำได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีการเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกาย โดยมีการให้อาสาสมัครผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 125 คน รับปะทาน โพรไบโอติก L. rhamnosus และ L. reuteri ชนิดแคปซูลปริมาณ พันล้านตัวต่อวัน เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ให้รับประทานยาต้านเชื้อรา เป็นเวลา 12 เดือน พบว่า กลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติกมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลดลงไม่แตกต่างกับการใช้ยา แต่การรับประทานโพรไบโอติกนั้นจะทำให้เชื้อราไม่เกิดการดื้อยาเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยา ดังนั้น นอกจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว การเติมโพรไบโอติกให้กับร่างกาย การใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติปรับสมดุลก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำๆ และเป็นการลดการการใช้ยาปฏิชีวนะได้อีกด้วย
ref :
https//www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/cystitis/
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A
https://yesmomfertility.com/blog/th/bv-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C/https://www.pidst.or.th/A753.html
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22782199/