แชร์

เส้นเลือดของสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า แม่น้ำ

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ค. 2024
310 ผู้เข้าชม

ตั้งแต่สมัยโบราณการตั้งถิ่นฐานเพื่อการดำรงชีวิตมักอยู่ใกล้หรือติดกับแหล่งน้ำเช่น ทะเลสาป แม่น้ำ หรือ ทะเล เพื่อเป็นแหล่งหาอาหาร ใช้ในการเพาะปลูก และ การคมนาคม เรียกได้ว่าแม่น้ำเป็นปัจจัยหลักในการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เรา ซึ่งในปัจจุบัน แม่น้ำ ทะเล และ อ่าว มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเกิดโรงงานอุสาหกรรมเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีการระบายน้ำเสียสู่แม่น้ำ และ ท้องทะเลก็มากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงส่งผลให้แม่น้ำและปากแม่น้ำหลายแห่งมีกลิ่นเน่าเสีย มีมลพิษทางน้ำ จนเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคอย่างหนึ่ง และบริเวณอ่าว หรือ ทะเลใกล้ชายฝั่งบางแห่งมีมลพิษมหาศาลจนทำให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในทะเลไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 

มีสาเหตุอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำ? 

สาเหตุที่ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเกิดการเน่าเสียสามารเกิดได้จาก 4 สาเหตุหลักๆ คือ 1.การทิ้งสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชล 2.น้ำเสียจากโรงงานอุสาหกรรม 3.พื้นที่ในการทำการเกษตร 4.น้ำเสียที่เกิดจากธรรมชาติ โดยเราจะมาอธิบายว่าสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ส่งผลอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม และ เราสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร 

1. การทิ้งสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน ยกตัวอย่างให้เข้าใจกันง่ายๆ เช่น การซักฟอกทำความสะอาด การทิ้งขยะหรือของเน่าเสียลงแม่น้ำ หรือแม้แต่การลอยกระทงโดยใช้วัสดุที่สามารถเกิดการเน่าเสีย และ เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดมลพิษในแม่น้ำ
2. น้ำเสียจากโรงงานอุสาหกรรมที่มีการลักลอบการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำโดยปราศจากการบำบัดที่ถูกต้องซึ่งนำมาซึ่งมลพิษมหาศาลในแม่น้ำเนื่องจากมีปริมาณมากและมีสารปนเปื้อนสูง
3. อีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้คือ การเกษตร แต่ไม่ได้หมายความว่าการเกษตรนั้นส่งผลให้เกิดมลพิษ แน่นอนว่าการเกษตรคือสิ่งที่หล่อเลี้ยงประเทศและคนไทยมาอย่างยาวนาน แต่ทว่าการทำการเกษตรที่ผิดวิธีไม่ใช่แค่ส่งผลให้ผลผลิตน้อยลงหรือเสียหาย แต่ส่งผลถึงสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมากและต่อเนื่องโดยไม่มีการคำนึงถึงปริมาณการใช้ที่จะส่งผลต่อการตกค้างของสารเคมีเมื่อฝนตกและพัดนำสารเคมีที่ตกค้างสู่แม่น้ำและลำคลองจึงส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำขึ้นได้
4. สุดท้ายอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือปัจจัยจากธรรมชาติคือ น้ำที่นิ่งมีการไหลของน้ำที่ช้าและเบาบางซึ่งส่งผลให้มลพิษที่ไหลมาตามแม่น้ำรวมกันอยู่ ณ บริเวณหนึ่งและเพิ่มปริมาณทำให้เกิดการสะสมจนส่งผลให้เกิดมลพิษในแม่น้ำ

ซึ่งในปี 2563 พบว่า มีขยะลอยไปติดถุงอวนขนาดปากกว้าง 5 เมตร ลึก 2 เมตร เฉลี่ย 25,741 ชิ้น/วัน (น้ำหนัก 398 กก./วัน) หรือคิดเป็น 9,395,465 ชิ้น/ปี น้ำหนัก 145 ตัน/ปี และมีประเภทวัสดุที่ก่อให้เกิดขยะมากที่สุด คือ พลาสติกแผ่นบาง คิดเป็น 62% ของจํานวนชิ้นขยะทั้งหมด (15,959 ชิ้น/วัน) รองลงมาคือพลาสติกแข็ง (15%, 3,861 ชิ้น/วัน) วัสดุผ้าและไฟเบอร์ (10%, 2,574 ชิ้น/วัน) ตามลําดับ 

มลพิษทางน้ำส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร? 

การเกิดมลพิษทางน้ำหรือแม่น้ำจะส่งผลเป็นลูกโซ่ เช่นน้ำเน่าเสียจากสารพิษจำพวกสารเคมี บางชนิดอาจทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำตายทันที ส่วนน้ำเน่าเสียที่เกิดจากออกซิเจนในน้ำต่ำลง อาจทำลายพืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เป็นอาหารของปลา ทำให้สุญเสียความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ำ ซึ่งเมื่อมีความเน่าเสียสะสมจนเป็นมลพิษจึงส่งผลให้แม่น้ำหรือลำคลองบางสายกลายเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรคเช่น อหวาตกโรค บิด และท้องเสีย รวมถึงกลิ่นเน่าเหม็นที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตโดยตรงของผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ นอกจากนี้การเกษตรเองก็ได้รับผลกระทบ   ไปด้วย การใช้น้ำเสียในแม่น้ำลำคลองมาทำการเกษตรนอกจากมีความเป็นกรดและด่างที่ไม่เหมาะสมแล้วยังมีจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในดินและพืชปะปนมาด้วย 

เราสามารถช่วยรักษาเส้นเลือดของสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง? 
การให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆเมื่อมีมากเข้ามักจะส่งผลให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ การไม่ทิ้งขยะหรือเศษอาหารลงแม่น้ำลำคลอง การสื่อสารและรณรงค์ให้เข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันว่าส่งผลอย่างไรกับเราในอนาคตบ้างเป็นส่วนเล็กๆที่ยิ่งใหญ่หากเราช่วยกันในการรักษา และ ในระดับองค์กรซึ่งมีผลอย่างมากต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมควรมีมาตรการในการบำบัดน้ำอย่างเคร่งครัดก่อนปล่อยน้ำจากโรงงานเพื่อไม่ให้เกิดสารปนเปื้อนปริมาณมหาศาลจากน้ำเสีย  

บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด หรือ SAS  หนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงรณรงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยนำของเสียที่เกิดจาก ทุกกระบวนการของการผลิต รวมถึงการบำบัดน้ำในโรงงานเพื่อนำกลับมาใช้ในการเกษตรโดยพวกเราได้นำมาประยุกต์และแปรรูปให้เกิดประโยชน์อย่างถึงที่สุด  

Referecne : 

อาสาม 2564. เปิดสถิติ ขยะทะเล พลาสติกยังแชมป์ปี 63 ไหลผ่าน 9 ปากแม่น้ำ 145 ตัน. Thai Environment Institute.
https://www.tei.or.th  

Lux royal 2558. สาเหตุและผลกระทบ จากมลพิษทางน้ำ. https://lux.co.th/cpt_blog/cause-and-impact-of-water-pollution  


บทความที่เกี่ยวข้อง
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไรกับ โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS
งานวิจัยโพรไบโอติก ด้านจุลินทรีย์ ดีต่อชีวิตอย่างไร ? กว่า 2 ทศวรรษ มากกว่าครึ่งชีวิต ในทุกลมหายใจกับเรื่องราวของโพรไบโอติก โดยรองศาสตรจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT Human by SAS จะมาตอบคำถามให้ฟังไปพร้อม ๆ กัน
17 ธ.ค. 2024
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย
นวัตกรรม โพรไบโอติก ฉบับคนไทย เพื่อสุขภาพคนไทย โพรไบโอติก เป็นเทรนด์สุขภาพที่มาแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากมีงานวิจัยออกมายืนยันเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพมากมาย ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน หรือ ดร.แบงค์ Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาบอกเล่าถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ
17 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy