รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
อัพเดทล่าสุด: 17 ม.ค. 2025
1028 ผู้เข้าชม
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
.
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
.
โรคทางดินที่พบได้บ่อยและควรรู้จัก
โรคเน่าคอดิน (Damping off)
เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น Pythium sp. และ Phytophthora sp. มักพบในต้นกล้าพืชผักและพืชไร่ เชื้อราทำลายระบบรากและโคนต้น ทำให้รากเน่า โคนต้นอ่อนแอ ใบซีดเหลือง และต้นตายในที่สุด แพร่กระจายได้รวดเร็วผ่านน้ำ
โรครากเน่า (Root rot)
เกิดจากเชื้อรา เช่น Fusarium spp., Diplodia spp. และ Phytophthora spp. มักเกิดในพื้นที่น้ำขัง สร้างความเสียหายต่อพืชทุกระยะ เช่น ใบทุเรียนเหลือง ร่วง โคนต้นเปลี่ยนสีน้ำตาล หรือใบอ้อยเหลืองแห้ง รากเน่ามีแผล
โรครากบวม (Club root)
เกิดจากเชื้อราเมือก Plasmodiophora brassicae พบในพืชตระกูลกะหล่ำ ทำให้รากบวม ใบเหลืองแคระแกร็น ต้นหยุดเจริญเติบโต เมื่อรุนแรงจะพบรากบวมเป็นก้อนคล้ายกระบอง
โรคเหี่ยว (Wilt)
เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ที่ทำลายรากพืช ทำให้เกิดแผล รากเน่า และต้นเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือน้ำมาก เชื้อสามารถแพร่ผ่านน้ำและเพิ่มความรุนแรงของโรคได้
.
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
.
โรคทางดินที่พบได้บ่อยและควรรู้จัก
โรคเน่าคอดิน (Damping off)
เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น Pythium sp. และ Phytophthora sp. มักพบในต้นกล้าพืชผักและพืชไร่ เชื้อราทำลายระบบรากและโคนต้น ทำให้รากเน่า โคนต้นอ่อนแอ ใบซีดเหลือง และต้นตายในที่สุด แพร่กระจายได้รวดเร็วผ่านน้ำ
โรครากเน่า (Root rot)
เกิดจากเชื้อรา เช่น Fusarium spp., Diplodia spp. และ Phytophthora spp. มักเกิดในพื้นที่น้ำขัง สร้างความเสียหายต่อพืชทุกระยะ เช่น ใบทุเรียนเหลือง ร่วง โคนต้นเปลี่ยนสีน้ำตาล หรือใบอ้อยเหลืองแห้ง รากเน่ามีแผล
โรครากบวม (Club root)
เกิดจากเชื้อราเมือก Plasmodiophora brassicae พบในพืชตระกูลกะหล่ำ ทำให้รากบวม ใบเหลืองแคระแกร็น ต้นหยุดเจริญเติบโต เมื่อรุนแรงจะพบรากบวมเป็นก้อนคล้ายกระบอง
โรคเหี่ยว (Wilt)
เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ที่ทำลายรากพืช ทำให้เกิดแผล รากเน่า และต้นเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือน้ำมาก เชื้อสามารถแพร่ผ่านน้ำและเพิ่มความรุนแรงของโรคได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
บนโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์นับหมื่นนับแสน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล แต่ปัจจุบันเราสามารถศึกษาได้เพียง 1% ของจุลินทรีย์ทั้งหมดบนโลก ดังนั้นคำถามสำคัญคือ “เราจะทำอะไรกับจุลินทรีย์ที่เรามีอยู่ในมือได้บ้าง?” เพื่อหาคำตอบนี้ จึงได้เกิดแนวคิด ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank) ขึ้นมา
ธนาคารจุลินทรีย์เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูล และตัวอย่างจุลินทรีย์ที่รวบรวมไว้เพื่อการอนุรักษ์ วิจัย และพัฒนา นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทยมี ธนาคารจุลินทรีย์แห่งชาติ (NBT - National Biobank of Thailand) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาจุลินทรีย์ให้คงอยู่ในระยะยาวและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจุลินทรีย์
การจัดการธนาคารจุลินทรีย์จำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เช่น ได้รับการรับรอง ISO9001 ซึ่งเน้นคุณภาพของตัวอย่างจุลินทรีย์ และ ISO20387 ที่เป็นมาตรฐานการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
6 ก.พ. 2025
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี
ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์
แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล
น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024