แชร์

แสบ คัน น้องสาวมีกลิ่น Oh my god.. น้องเป็นอะไรเนี๊ย

อัพเดทล่าสุด: 17 ธ.ค. 2024
311 ผู้เข้าชม

ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis)

คือ การอักเสบของช่องคลอด อาจเกิดได้ทั้งการติดเชื้อและไม่มีการติดเชื้อ อวัยวะสืบพันธ์ุของผู้หญิงมีความซับซ้อนและบอกบาง การเกิดการอักเสบจึงเกิดได้อย่างง่าย ในการอักเสบบางรายอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น อาการคัน ตกขาว

สาเหตุการเกิดช่องคลอดอักเสบ

 สาเหตุการเกิดการอักเสบเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ ไวรัส สารเคมีในครีมหรือสเปรย์ ร่วมทั้งการติดเชื้อระหว่างมีเพศสัมพันธ์ุกับคู่นอน

            การติดเชื้อ Candida เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากของการอักเสบในช่องคลอด โดยเชื้อราที่พบได้บ่อยที่สุดคือ Candida albicans รองลงมาคือ Candida glabrata ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถยึดติดกับเซลล์บุช่องคลอดได้ดี นอกจากเชื้อรา Candida ยีสต์ที่อยู่ที่บริเวณช่องคลอดจะมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น โดยปกติในช่องคลอดผู้หญิงจะมียีสต์มีอยู่และอยู่ในสภาวะสมดุล เมื่อมีปริมาณของแบคทีเรียประจำถิ่นลดลง เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อ การอักเสบของร่างกาย เป็นผลให้ยีสต์ในช่องคลอดสูงขึ้นทำให้เกิดการติดเชื้อ ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดความไม่สมดุล ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การตั้งครรภ์ และโรคเบาหวาน

            การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของตกขาว ปัจจัยในการเกิดมักมากจากความไม่สมดุลของแบคทีเรีย เป็นผลให้จุลินทรีย์ในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงและเชื้อฉวยโอกาสในช่องคลอดมีการเจริญมากขึ้น นอกจากเกิดการอักเสบยังมีกลิ่นคาว กลิ่นไม่พึ่งประสงค์อีกด้วย

            นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่มีผลต่อการอักเสบในช่องคลอด เช่น การสวนล้างช่องคลอด การใส่ห่วงคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การมีเพศสัมพันธุ์กับคู่นอนครั้งละหลายคน การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งการอักเสบในช่องคลอดเป็นบ่อเกิดของโรคในช่องคลอดตามมา โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
 
อาการของช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวมีสีขนและมีปริมาณมากกว่าปกติ
ตกขาวมีสีผิดปกติ เช่น สีเหลือง สีเขียว หรือ ปนเลือด
ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาวผิดปกติ
อาการคันและรอยแดงของช่องคลอด
ปวดหรือเจ็บเมื่อปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์
รู้สึกว่ามีอาการแสบร้อนในขณะปัสสาวะ

ผู้หญิงที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
ผู้ที่มีโรคเบาหวานที่ควบคุม
ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
ผู้ที่กำลังรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
ผู้ที่มีการใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง
ผู้ที่กำลังเข้ารับการบำบัดด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

ข้อควรปฏิบัติในการลดการอักเสบของช่องคลอด

งดการสวมใส่กางเกงรัดรูป
ไม่สวมใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่อับชื้น
งดการสวนล้างช่องคลอด
อยู่ในช่วงตั้งครรภ์
มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย
ไม่ควรรับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อเป็นเวลานาน
ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยนอกจากช่วงที่มีประจำเดือนเป็นประจำจนทำให้เกิดการอับชื้น

การรักษา

การรักษาโดยใช้ยา
การรักษาช่องคลอดอักเสบมักใช้ยาในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียและเชื่อรา
ยาเฉพาะที่ ซึ่งเป็นยาในกลึ่มครีมและยาเหน็บ อาจมีอาการระคายเคือง แสบร้อนได้ เช่น Metronidazole
ยารับประทาน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรือปวดศีรษะ มีรางงานว่า มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ตับได้ เช่น Clindamycin Tinidazole  Secnidazole

อาหารเสริม

เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภคในการเสริมสารอาหารต่าง ๆ ในการป้องกันหรือรักษาอาการช่องคลอดอักเสบ ซึ่งโพรไบโอติกเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจในปัจจุบัน เนื่องจากการอักเสบของช่องคลอด สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อของเชื้อราและแบคทีเรีย โดยเกิดจากการไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในช่องของ ส่งผลให้เชื้อฉวยโอกาสมีการเจริญเติบโตแทนที่จุลินทรีย์ประจำถิ่นได้ มีรายงานว่า การให้โพรไบโอติก Lactobacillus johnsonii เพิ่มการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มและเพิ่มการแสดงออกของ IL-10 และลดการผลิต TNF-a, IL-6 และ IL-12  นอกจากนั้น Lactobacillus paracasei MSMC 39-1 สามารถยับยั้งสารก่อการอักเสบ TNF-a และ IL-1 ให้มีระดับการแสดงออกที่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ  นอกจากนี้การให้ Lactobacillus rhamnosus BMX 54 ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในช่องคลอดร่วมกับการติดเชื้อ HPV พบว่า ปริมาณเชื้อ HPV ลดลง และ microbiom ของผู้ที่ได้รับโพรไบโอติกมีปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มดีสูงขึ้น เมื่อเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกระยะสั้นและระยะยาว พบว่า การได้รับโพรไบโอติกระยะยาวสามารถลดเชื้อ HPV และ การติดเชื้อของเชื้อราและแบคทีเรียเกิบหมด ดังนั้น การได้รับโพรไบโอติกสามารถช่วยลดการอักเสบของช่องคลอดได้และสามรถปรับสมดุลจุลินทรีย์ทั้งภายในช่องคลอดและระบบทางเดินอาหารได้เช่นกัน

อ้างอิง


Liu P, Lu Y, Li R, Chen X. Use of probiotic lactobacilli in the treatment of vaginal infections: In vitro and in vivo investigations. Front Cell Infect Microbiol. 2023 Apr 3;13:1153894.

 

Palma E, Recine N, Domenici L, Giorgini M, Pierangeli A, Panici PB. Long-term Lactobacillus rhamnosus BMX 54 application to restore a balanced vaginal ecosystem: a promising solution against HPV-infection. BMC Infect Dis. 2018 Jan 5;18(1):13.


บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy