แชร์

ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome: LGS)

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
34 ผู้เข้าชม

ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome: LGS)

            ลำไส้รั่ว คือ ภาวะที่การดูดซึมของลำไส้ผิดปกติ โดยทั่วไปเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ลำไส้มีเรียงตัวชิดติดกันเป็นระเบียบ Tight Junctions (TJ) เกิดการอักเสบ เป็นผลให้การเรียงกันของเยื่อบุลำไส้มีการคลายออกจึงเกิดช่องวางระหว่างเซลล์ ทำให้สารต่าง ๆ เช่น สารพิษ เชื้อก่อโรค สิ่งแปลกปลอมสามารถแพร่ผ่านได้จนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นผลทำให้เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ การอักเสบมากขึ้นและนำไปสู่การเหนี่ยวนำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease: IBD) โรคลำไส้แปรปรวน (Bowel syndrome irritable liver disease: ILD) โรคไขมันพอกตับอักเสบ (Steatohepatitis) และ โรคตับแข็ง (Liver Cirrhosis)

 

สาเหตุของการเกิดภาวะลำไส้รั่ว

            ในเซลล์ของผนังลำไส้จะมีการเรียงตัวกันอย่างหนาแน่น เป็นระเบียบ ชิดติดกัน เรียกว่า tight Junctions ในโครงสร้างของ TJ จะประกอบด้วยกลุ่มของโมเลกุลโปรตีนต่าง ๆ เช่น occludin, claudins, junctional adhesion molecules และ tricellulin ทำหน้าที่ซีลรอยต่อระหว่างสองเซลล์ที่อยู่ข้างกันที่เรียกว่า Tight junction proteins (TJs) ซึ่งโปรตีนดังกล่าวอยู่ที่ส่วนปลายของเยื่อบุผิวและควบคุมการซึมผ่านของสารต่าง ๆ ดังนั้น TJ จึงมีหน้าที่สำคัญมากในการสร้างสิ่งกีดขวางในลำไส้ เมื่อเกิดกระบวนการอักเสบจะกระตุ้นให้ TJs มีปริมาณลดลงเป็นผลให้เกิดรอยรั่วของ TJ ทำให้สารพิษ เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคต่าง ๆ สามารถเข้าไปได้ก่อให้เกิดความผิดปกติได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ในผู้ป่วยบางรายมีภาวะลำไส้รั่วจากความผิดปกติทางพันธุกรรมจึงมีการแปรปรวนของระบบทางเดินอาหารไวกว่าคนปกติ นอกจากนี้อาหารยังไม่ผลต่อการเกิดภาวะลำไส้รั่วได้ โดยเฉพาะอาหารอเมริกัน เนื่องจากอาหารอเมริกันมีเส้นใยอาหารต่ำ น้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งเป็นอาหารที่ก่อให้การกระตุ้นการอักเสบสูง นอกจากนี้แอลกอฮอล์และความเครียดสูงส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการอักเสบและภาวะอนุมูลอิสระเกิน เหล่านี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเกิดภาวะลำไส้รั่ว นอกจากนี้กระบวนการอักเสบยังส่งผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้ลดลงหรือภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ (Dysbiosis) ทำให้ประการด่านแรกในการรับมือกับจุลินทรีย์ก่อโรค สารพิษ ไม่เพียงเท่านี้การใช้ยาในกลุ่มยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ๆ ตัวยาจะกำจัดจุลินทรีย์ทั้งหมดทั้งชนิดดีและชนิดก่อโรค เมื่อจุลินทรีย์ถูกกำจัดทั้งหมด เป็นผลให้จุลินทรีย์ดีซึ่งกำแพงด่านแรกขอลำไส้ลดลงทำให้แบคทีเรียก่อโรค เชื้อรา ก็จะมาอาศัยในลำไส้แทน และผลิตสารพิษทำลาย tight junction เกิดการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ ง่ายต่อการอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย

 

ผู้มีความเสี่ยงต่อภาวะลำไส้รั่ว

o  ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์

o  อาหารบางชนิด เช่น คาเฟอีน โกโก้ ช็อคโกแลต เครื่องดื่มอัดลม อาหารที่มีการปนเปื้อน

o  ผู้ที่สูบบุหรี่

o  ผู้ที่พักผ่อนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ

o  ผู้ที่มีความเครียดหรือความกดดัน

o  ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นประจำ

o  การรับประทานยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด แก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs

 

อาการ

o  ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูก หรือท้องอืด

o  ภาวะขาดสารอาหาร

o  นอนไม่ค่อยหลับ อ่อนเพลีย

o  ความเหนื่อยล้า ปวดหัว

o  สับสน สมาธิสั้น

o  ปัญหาผิวหนัง เช่น สิว ผื่น หรือกลาก

o  อาการปวดข้อ

 

การรักษาและการดูแล

การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันคือว่าเป็นด่านแรกในการป้องกันการเกิดภาวะลำไส้รั่วได้ โดยการงดหรือควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อาหารที่มีการปนเปื้อน เพื่อป้องกันการกระตุ้นการอักเสบหรือภาวะอนุมูลอิสระเกิน นอกจากนี้การพักผ่อนน้อยและความเครียดมีผลต่อการกระตุ้นการอักเสบ ภูมิคุ้มกันลดลง ง่ายต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดภาวะลำไส้รั่วได้

การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

            ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยในการการป้องกันหรือลดโอกาสภาวะลำไส้รั่ว คือ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก โดยโพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ชนิดดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นเชื้อประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหาร เมื่อมีการเติมโพรไบโอติกอย่างต่อเนื่อง โพรไบโอติกจะเจริญปกคลุมทั่วลำไส้ ทำให้ก่อโรค สารพิษ สิ่งแปลกปลอม ไม่สามารถแพร่ผ่านผนังลำไส้ได้ นอกจากนี้โพรไบโอติกมีคุณสมบัติในการสร้างสารต่าง ๆ เช่น สารต้านแบคทีเรีย (Antibacterial), สารต้านการอักเสบ (Anti-inflammation), สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) และ สารต้านภูมิแพ้ (Anti-Allergic) ช่วยปรับสมดุลลำไส้ให้อยู่ในสภาวะสมดุล ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จากการศึกษาพบว่า เมื่อให้โพรไบโอติก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Lactobacillus paracasei HII01 Bifidobacterium breve  และ Bifidobacterium longum กับอาสาสมัครจำนวน 48 คน และให้โพรไบโอติกเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า จุลินทรีย์ตัวไม่ดี ระดับไขมัน คลอเลสเตอรอลลดลง และเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) short-chain fatty acid ให้สูงขึ้น ดังนั้นโพรไบโอติกจึงสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะลำสรั่วได้

 

อ้างอิง

Chaiyasut C, Sivamaruthi BS, Lailerd N, Sirilun S, Khongtan S, Fukngoen P, Peerajan S, Saelee M, Chaiyasut K, Kesika P, Sittiprapaporn P. Probiotics Supplementation Improves Intestinal Permeability, Obesity Index and Metabolic Biomarkers in Elderly Thai Subjects: A Randomized Controlled Trial. Foods. 2022 Jan 19;11(3):268.


บทความที่เกี่ยวข้อง
แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กรดไหลย้อนแน่นอน
แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กรดไหลย้อนแน่นอนGastro-Esophageal Reflux Disease (GERD) หรือ โรคกรดไหลย้อน นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตจากอุบัติการณ์ของโรคกรดไหลย้อนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกค่อนข้างสูง เฉลี่ยประมาณร้อยละ 50-60 ส่วนในประเทศไทย พบว่าคนไทยวัยทำงานประสบปัญหาโรคกรดไหลย้อนกันมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วสาเหตุของโรคเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่
29 พ.ย. 2024
แสบ คัน น้องสาวมีกลิ่น Oh my god.. น้องเป็นอะไรเนี๊ย
ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) คือ การอักเสบของช่องคลอด อาจเกิดได้ทั้งการติดเชื้อและไม่มีการติดเชื้อ อวัยวะสืบพันธ์ุของผู้หญิงมีความซับซ้อนและบอกบาง การเกิดการอักเสบจึงเกิดได้อย่างง่าย ในการอักเสบบางรายอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น อาการคัน ตกขาว
29 พ.ย. 2024
แสบ ร้อน คัน แห้งผาก ช่องคลอดแห้งแบบนี้ ทำยังไงดี
ช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness)ภาวะช่องคลอดแห้ง คือ ภาวะที่ช่องคลอดเกิดการขาดความชุ่มชื้น ขาดเมือกหล่อลื่นจนภายในช่องคลอดแห้ง ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วภาวะช่องคลอดแห้งเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้ เช่น การอักเสบในช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ตกขาวเรื้อรัง
29 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy