แชร์

นั่งนาน เบ่งยังไงก็ไม่ออก ทำไงดี

อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ย. 2024
154 ผู้เข้าชม

อาการท้องผูก

อาการท้องผูก คือ ความผิดปกติของการขับถ่าย โดยปกติควรขับถ่าย 3 ครั้ง/สัปดาห์  อาการท้องผูกสามารถพบได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยพบถึงร้อยละ 20 30 ในผู้ป่วยในโรงพยาบาลอาการท้องผูกอาจไม่รุนแรงจนถึงชีวิต แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดความทรมาน เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสภาวะหัวใจลมเหลวและเส้นเลือดในสมองแตก เนื่องจากความดันในช่องอกและช่องท้องสูงขึ้นรวดเร่งขณะเบ่ง

สาเหตุ

            ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบบ่อยสุดมากจาก การดื่มน้ำน้อยและการกลั้นอุจจาระ ส่งผลทำให้น้อยในอุจจาระน้อย ทำให้การเคลื่อนตัวของอุจจาระเคลื่อนตัวลำบาก นอกจากนี้ยังพบปัญหาอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่ายทำงานไม่สัมพันธ์กันทำให้กล้ามเนื้อหูดรูดไม่คล้ายตัวเมื่อเบ่ง สำไส้ใหญ่บีบตัวช้าทำให้อุจจาระอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเป็นผลทำให้อุจจาระแข็งลำบากต่อการขับถ่าย นอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเป็นผลทำให้อุจจะแข็ง เนื่องจากกากใยจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับอุจจาระ ทำให้ถ่ายง่ายขึ้น

อาการ

o  ถ่ายยากและใช้เวลาถ่ายนาน

o  อาการซีด

o  ถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด

o  น้ำหนักลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

วิธีรักษา

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

o  รับประทานอาหารประเภทกากใย ได้แก่ ผักและผลไม้ โดยกากใยจะช่วยเพิ่มการอุ้มน้ำของอุจจาระทำให้อุจจาระนิ่ม ง่ายต่อการขับถ่าย

o  การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อการขับถ่าย เพื่อให้อุจจาระช่วยเพิ่มความนุ่มให้อุจจาระ

o  การฝึกหัดให้เป็นเวลา โดยการฝึกขับถ่ายเป็นเวลาจะช่วยให้ร่ายกายมีการปรับตัว แต่ไม่ควรน้ำหนังสือ มือถือ เข้าไปพร้อมการขับถ่าย เพราะจะทำให้การฝึกไม่ได้ผล

o  การใช้ยา ในผู้ที่มีอาการท้องผูกหนัก แพทย์จะมีการจ่ายยาให้กับคนไข้ เช่น ยาระบายเพิ่มกากใย ยาระบายช่วยเพิ่มการดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้ ยาระบายที่ช่วยให้อุจจาระนิ่ม โดยกลุ่มยาระบายต่าง ๆ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

o   การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในท้องตลาดที่ช่วยเกี่ยวกับการขับถ่ายมีหลายชนิด แต่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเรื่องยการขับถ่ายโดยตรงคือ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่พบและเจริญเติบโตในลำไส้ โพรไบโอติกจะกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่ให้มีการเคลื่อนที่มากขึ้น ผลิตภัณฑ์ bioCRAFT bioSHOT Mixed Berries Flavored และ bioCRAFT bioSHOT Yogurt Flavored เป็นผลิตภัณฑ์โพรไบติกที่มีโพรไบโอติก 11 สายพันธุ์ ช่วยปรับสมดุลลำไส้ กระตุ้นการขับข่าย กระตุ้นการดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารในลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความรุนแรงของกรดไหลย้อย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลของระบบประสาท ช่วยเพิ่มสารสื่อประสาท ลดความเครียด ช่วยผ่อนคลายให้นอนกลับได้ลึกและยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ยังเสริมพรีไบโอติกชนิด อินูลิน เพื่อเพิ่มการเจริญของโพรไบโอติเมื่อถึงลำไส้ และผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปแบบผงกรอกปาก ง่ายต่อการบริโภคและสะดวกต่อการพกพา

อ้างอิง

Jani B, Marsicano E. Constipation: Evaluation and Management. Mo Med. 115(3):236-240. 

Forootan M, Bagheri N, Darvishi M. Chronic constipation: A review of literature. Medicine (Baltimore). 2018; 97(20):10631.


บทความที่เกี่ยวข้อง
ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank)
บนโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์นับหมื่นนับแสน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล แต่ปัจจุบันเราสามารถศึกษาได้เพียง 1% ของจุลินทรีย์ทั้งหมดบนโลก ดังนั้นคำถามสำคัญคือ “เราจะทำอะไรกับจุลินทรีย์ที่เรามีอยู่ในมือได้บ้าง?” เพื่อหาคำตอบนี้ จึงได้เกิดแนวคิด ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank) ขึ้นมา ธนาคารจุลินทรีย์เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูล และตัวอย่างจุลินทรีย์ที่รวบรวมไว้เพื่อการอนุรักษ์ วิจัย และพัฒนา นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทยมี ธนาคารจุลินทรีย์แห่งชาติ (NBT - National Biobank of Thailand) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาจุลินทรีย์ให้คงอยู่ในระยะยาวและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจุลินทรีย์ การจัดการธนาคารจุลินทรีย์จำเป็นต้องทำอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เช่น ได้รับการรับรอง ISO9001 ซึ่งเน้นคุณภาพของตัวอย่างจุลินทรีย์ และ ISO20387 ที่เป็นมาตรฐานการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
6 ก.พ. 2025
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy