แชร์

โพรไบโอติก ตัวช่วยดูแลกล้ามเนื้อที่สำคัญสำหรับคนออกกำลังกาย

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ค. 2024
928 ผู้เข้าชม

กล้ามเนื้อ ถือเป็นพระเอกในการออกกำลังกาย โดยสิ่งที่สำคัญของการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพคือการลดไขมันและสร้างกล้ามเนื้อเพื่อการเผาผลาญที่ดี รวมไปถึงรูปร่างกระชับและสุขภาพที่แข็งแรง แต่เราอาจสงสัยว่าทำไมบางคนถึงตัวเหลว ดูไม่กระชับทั้งที่ก็ออกกำลังกาย นั่นอาจเพราะการออกกำลังกายที่ผิดวิธีหรือการได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายสลายกล้ามเนื้อมาใช้แทนที่จะเป็นไขมันอย่างที่ต้องการ

หลายๆ คนอาจคิดว่าการดูแลกล้ามเนื้อคือการกินโปรตีนให้เพียงพออย่างเดียว ซึ่งความเป็นจริงแล้วยังมีตัวช่วยอีกมากมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของโปรตีน เช่น วิตามินต่างๆ รวมไปถึงสิ่งเล็กๆ ในลำไส้ที่เราคาดไม่ถึงอย่าง โปรไบโอติก

วันนี้ SAS จึงมาชวนคุยเรื่องหน้าที่ของโปรไบโอติกในการช่วยดูแลกล้ามเนื้อสำหรับคนออกกำลังกาย

โปรไบโอติก: ตัวช่วยเล็กๆ ที่มีคุณค่าต่อกล้ามเนื้อ

นตอนที่ออกกำลังกายร่างกายจะเริ่มเอาพลังงานที่มีมาใช้ก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นแป้งหรือน้ำตาล แล้วค่อยเป็นโปรตีน ซึ่งส่วนสุดท้ายที่ร่างกายนำมาใช้งานคือไขมัน ดังนั้นจึงมีคำแนะนำที่แพร่หลายอย่างการออกกำลังกายให้ถึง 40 นาที ร่างกายจึงจะสลายไขมันมาใช้งาน

แน่นอนว่าในการออกกำลังกายทั้งกล้ามเนื้อและไขมันจะลดลง เราไม่สามารถเลือกให้ย่อยสลายแค่ไขมันเพียงอย่างเดียวได้ ซึ่งถ้าได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะไม่สามารถสร้างกล้ามเนื้อมาทดแทนได้ ทั้งยังอาจก่อให้เกิดการอักเสบ รวมไปถึงการเสื่อมของกล้ามเนื้อที่จะทำให้การออกกำลังกายไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่ควร

โปรไบโอติก คือจุลินทรีย์ดีในลำไส้ มีหน้าที่หลักเพื่อรักษาสมดุลในลำไส้ของเราไม่ให้เชื้อแบคทีเรียก่อโรคมีจำนวนมากเกินไปและก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยที่สำคัญในการดูแลกล้ามเนื้อของเราอีกหลายด้าน ได้แก่

  • ช่วยดูดซึมโปรตีนเพื่อการสร้างกล้ามเนื้อ
  • ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • ลดอาการอักเสบและการเสื่อมของกล้ามเนื้อ
  • ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
  • มีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง กระฉับกระเฉง

โดยโปรไบโอติกที่สำคัญในการดูแลกล้ามเนื้อคือ โปรไบโอติกสายพันธุ์ Bacillus coagulans ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหารสูง และมีความสามารถในการปล่อยเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายง่ายขึ้น  นอกจากนี้ทีมวิจัยได้ทดลองด้วยโปรไบโอติกสายพันธุ์ดังกล่าว ผลคือกลุ่มคนที่ได้รับโปรไบโอติก Bacillus coagulans ในร่างกายพบอัตรากล้ามเนื้ออักเสบน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก (Placebo) อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าการกินโปรตีนในปริมาณมากไม่ได้แปลว่าจะสร้างกล้ามเนื้อได้มาก แต่ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมโปรตีนของร่างกายด้วย ดังนั้นก็อย่าลืมพกตัวช่วยอย่าง โปรไบโอติก ติดตัวไว้เสมอเพื่อดูแลกล้ามเนื้อ เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย กระชับสัดส่วน และเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงในทุกๆ วัน

สนับสนุนบทความดีๆ จาก blissly bioshot cocktail probiotics จำนวน  11 สายพันธุ์ ชนิดผงกรอกปาก

อ้างอิง

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6208742/?fbclid=IwAR02kOjXkTquyad1-sDDYbSf-hkNh1yaVmvjJOR7r340UWGoVzCqLCaPCvY 


บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy