แชร์

ดินเสื่อมโทรมด้วยมือเรา

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ค. 2024
438 ผู้เข้าชม

หากเราเปรียบเทียบผืนดินเสมือนร่างกายของโลก อาจจะทำให้เราตะหนักได้ว่าการบำรุงรักษาไว้ซึ่งดินที่อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากดินเป็นพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตบนบกทั้งหมดต้องอาศัยและหาอาหาร ปัจจุบันการเกษตรทั่วโลกนั้นให้ความสำคัญกับการบำรุงดินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน รวมถึงการวางแผนอย่างเป็นระบบในการเพาะปลูก เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา และฟื้นบำรุงหลังเก็บเกี่ยวจึงส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มานั้นเป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ แต่ทว่าการเกษตรของไทยในปัจจุบันนั้นยังคงอาศัยการทำการเกษตรที่เน้นปริมาณผลผลิตสูงต้นทุนต่ำจึงมีการเน้นการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และขาดการฟื้นบำรุงพื้นที่แปลงปลูกอย่างถูกต้อง แต่ราคาปุ๋ยในช่วงเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ราคาปุ๋ยขึ้นมาสูงถึง 23% จากช่วงเดือนตุลาคม ปี 2564 ซึ่งทำให้ต้นทุนของเกษตรเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรบางรายจึงงด     การใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตร จึงส่งผลให้ผลิตน้อยลงและราคาผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดมีราคาสูงขึ้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี และ จุลินทรีย์ช่วยในการบำรุงดินเริ่มเป็นที่นิยมในเกษตรกรบางกลุ่มเนื่องจากสามารถลดต้นทุนได้ แต่อาจจะต้องวางแผนการใช้อย่างถีถ้วน 

อีก 60 ปีการเกษตรส่วนใหญ่จะถึงจุดจบหากการเสื่อมของหน้าดินยังคงดำเนินต่อไป 

ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2014 World soil day Maria Helena ได้กล่าวไว้ว่า  ผืนดินเพียง 3 เซนติเมตร ใช้เวลาในการสร้างประมาณ 1,000 ปี แต่หากการเสื่อมของหน้าดินยังคงดำเนินไปอย่างทุกวันนื้โดยไม่มีการบำรุงรักษาหรือมาตรการป้องกันใดๆ ในอีก 60 ปีข้างหน้าเราจะไม่มีผืนดินที่ใช้ในการทำการเกษตรอีกต่อไป เนื่องจากรูปแบบการเกษตรที่ใช้สารเคมีปริมาณมากซึ่งเป็นการเร่งความเสื่อมโทรมของหน้าดิน รวมถึงสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันนั้นส่งผลต่อการเสื่อมของหน้าดินอย่างช้าๆ

เราสามารถบำรุงรักษาพื้นที่ทางการเกษตรได้อย่างไร? 

จากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากผืนดินคือร่างกายของโลก และเปรียบเทียบกับร่างกายของเราเองการที่เราจะดูแลร่างกายของเรานั้นควรทำอย่างไรให้เรามีสุขภาพที่ดี? แน่นอนว่าคือ การทานของที่มีประโยชน์ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย และเมื่อเราเจ็บป่วยเราก็ควรไปหาหมอ แล้วถ้าเปรียบเทียบกับผืนดินที่ใช้ในการเกษตรหล่ะ? การทานของที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่นั้นเปรียบเสมือนการที่เราคอยเติมสารอาหารให้ดินจากสิ่งที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น อินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ และธาตุอาหาร ส่วนการออกกำลังกายนั้น เปรียบเสมือนการเราทำการเกษตรเชิงกายภาพ    เช่น การไถพรวนดิน เพื่อกำจัดและควบคุมวัชพืชที่แย่งอาหารพืชหลัก การคลุมหน้าดินด้วยผ้ายางเพื่อลดการสะสมของเชื้อก่อโรคในดิน หากเราสามารถปฏิบัติได้อย่างมีวินัยและถูกต้องตามกระบวนการการดูแลของพืชแต่ละชนิด จะสามารถลดอัตราการเกิดโรคที่ส่งผลต่อพืชและผลผลิตได้ สุดท้ายการที่เราเจ็บป่วยและไปหาหมอ เปรียบเสมือนการที่เราใช้ยาหรือสารเคมี เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่จะส่งผลต่อสุขภาพและความแข็งแรง อย่างไรก็ตามควรจะใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดสารตกค้างในดินหรือพื้นที่ทางการเกษตรบริเวณนั้นๆ  

จุลินทรีย์มีส่วนสำคัญในการช่วยบำรุงดินอย่างไร? 

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แต่ละชนิดนั้นมีหน้าที่และความสามารถแตกต่างกันไปในการช่วยบำรุงและปกป้องดิน เช่น Bacillus spp. บางสายพันธุ์มีส่วนช่วยในการเร่งการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุและส่งผลให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารจากอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายแล้วได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ดินมีความร่วนซุยจากการมากขึ้นทำให้ระบายน้ำได้ดี ซึ่งช่วยในการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังจนเป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการรากเน่า และ บางสามารถพันธุ์มีความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อก่อนโรคทางดินเช่น โรครากเน่าโคนเน่า phytophthora spp.         โรคเหี่ยว Fusarium spp. เป็นต้นเนื่องจากมีการแก่งแย่งอาหารในบริเวณที่มีจุลินทรีย์อยู่เพื่อการเจริญเติมโตของสายพันธุ์นั้นๆ แต่จุลินทรีย์ที่ดีจะไม่ส่งผลที่ทำให้เกิดโรคแก่พืชหรือผลผลิต  

Reference 

Only 60 Years of Farming Left If Soil Degradation Continues 2014-2015, World soil day. https://www.ashlandmass.com/DocumentCenter/View/446/Only- 0-Years-of-Soil-Left-If-Soil-Degradation-Continues 

ราคาปุ๋ยเคมีพุ่งทำสถิติกระทบพืชเศรษฐกิจหลักอย่างไร 2022.


บทความที่เกี่ยวข้อง
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน
สร้างสมดุล ห่วงโซ่อาหาร ที่ดี ผ่านดินดี น้ำดี อากาศดี ชีวิตจะดีอย่างยั่งยืน สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ใต้กฎธรรมชาติและ เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ซึ่งคือจุลินทรีย์ แน่นอนว่าหากห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล ความเป็นไป ของสิ่งมีชีวิตก็จะดํารงอยู่อย่างราบรื่น แต่ทุกวันนี้จาก สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารของโลกใบนี้เสียสมดุล น.สพ.สุวรรณ ยิ้มเจริญ หรือ คุณหมอเจี๊ยบ ประธาน คลัสเตอร์กุ้งกุลาดําภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิสัตว์เศรษฐกิจ สวก. และกรรมการบริหาร บริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จํากัด หรือ SAS จะมาคลี่ปมการเสียสมดุลของห่วงโซ่ อาหารและปลดล็อกปัญหานี้กันอย่างกระจ่างชัด
17 ม.ค. 2025
รู้จักโรคทางดิน เข้าใจเพื่อป้องกันและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 
โรคที่แพร่ระบาดในดิน หรือ Soil-borne disease เป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างมหาศาล โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งสามารถทำลายพืชตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่
17 ม.ค. 2025
การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโพรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ
19 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy