การบำบัดของเสียในฟาร์มสุกร

[ux_banner bg=”6799″ bg_size=”original”][text_box width=”29″ width__md=”34″ position_x=”5″ position_y=”95″ visibility=”hide-for-small”]

Feed&Farm

การบำบัดของเสียในฟาร์มสุกร

 

[/text_box][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Feed&Farm

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 29 Apr 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

“SAS หนึ่งในผู้นำที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากองค์ความรู้เทคโนโลยีชีวภาพสาขาจุลินทรีย์ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีความมุ่งมั่นเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพถึงมือคุณด้วยใจรัก และสร้างประโยชน์คืนสู่สังคมไปพร้อมๆ กัน

        เมื่อการเลี้ยงสัตว์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ข้อจำกัดของฟาร์ม เช่น ฟาร์มเลี้ยงสุกรส่วนใหญ่ในประเทศไทยทั่วไปมักมีการเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอยู่จำกัด การขยายการเลี้ยงส่วนใหญ่จึงเป็นการเพิ่มจำนวนคอกและจำนวนเลี้ยงบนพื้นที่ขนาดเล็ก ฟาร์มเลี้ยงสุกรจึงประสบปัญหาต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม คือ

  • ฟาร์มเป็นแหล่งของกลิ่นเหม็น แมลงวัน จากเล้า ตัวสัตว์ และจากมูลสัตว์ที่กองพักอยู่ในฟาร์ม หรือในบ่อพักมูลเหลวที่ขาดการบำบัด
  • ฟาร์มเป็นแหล่งของน้ำเสีย จากการไหลล้นของน้ำเสียที่ยังไม่มีระบบบำบัดจากเล้าสุกรออกจากบ่อพักน้ำเสีย ซึ่งมีขนาดบ่อไม่พอเพียงต่อน้ำเสีย
[ux_image id=”6795″]

สิ่งขับถ่ายและลักษณะของน้ำเสียในฟาร์ม

        ปริมาณของสิ่งขับถ่ายที่เกิดขึ้นในฟาร์มแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ขนาด อายุของสัตว์ และขึ้นกับขนาดของฟาร์มหรือจำนวนสัตว์ยืนคอกด้วย ลักษณะของน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยังขึ้นอยู่กับวิธีการทำความสะอาด ของเสียที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะที่เป็นของแข็งหรือของเหลวที่ไหลได้แตกต่างกัน การจัดการเคลื่อนย้ายของเสียจึงอาศัยลักษณะโรงเรือนและระบบการระบายของเสีย ด้วยวิธีการต่างๆ กัน และรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ที่แตกต่างกันด้วย

[ux_image id=”6796″]

มาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์

จากที่มีการร้องเรียนปัญหามลภาวะกันมากและยังไม่มีมาตรฐานน้ำทิ้งเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจระหว่างฟาร์มเลี้ยงสัตว์และชุมชน ทำให้ฟาร์มกับชุมชนหาข้อสรุปที่เป็นความเห็นร่วมกันได้ยากว่าการแก้ไขควรทำถึงเกณฑ์ใด

โดยรูปแบบน้ำเสียที่เกิดจากฟาร์มสุกรส่วนใหญ่มักจะเกิดจาก 2 แหล่งหลักๆ หนึ่งคือจากมูลที่มีกากของวัตถุดิบอาหารต่างๆ หลงเหลืออยู่ สองคือน้ำที่ล้างโรงเรือนหรือแม้แต่น้ำที่ล้างตัวสุกรเองก็ตามซึ่งทั้งสองมีองค์ประกอบดังนี้

        1) สารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เช่น กากข้าวโพด กากถั่วเหลือง วัตถุดิบอาหารสัตว์หรือวัตถุดิบทดแทนต่างๆ ที่สัตว์ไม่สามารถย่อยได้อย่างสมบูรณ์ โดยสารอินทรีย์เหล่านี้จะถูกย่อยสลายได้ แต่ต้องพึ่งพาการทำงานจุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่สามารถกำจัดสารเหล่านี้ได้

        2) สารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่เกิดจากสัตว์ขับถ่ายออกมา หรือแม้แต่ตะกอนของสารเคมีที่ มีการใช้ในฟาร์มเมื่อทำปฏิกิริยาแล้วก็ยังคงหลงเหลือแร่ธาตุบางตัว เช่น คลอไรด์, ซัลเฟอร์ อยู่ในฟาร์มเลี้ยงสุกร

        จากของเสียที่เกิดขึ้นในฟาร์มสุกรข้างต้น ส่งผลให้การบำบัดของเสียจากฟาร์มสุกรนั้นนับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ระบบการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรนั้นมีหลากหลาย การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ สภาพทั่วไปของท้องถิ่น ค่าลงทุนก่อสร้างและค่าดำเนินการดูแลและบำรุงรักษา และขนาดของที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกมีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

โดยการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้ตามกลไกที่ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียได้ดังนี้

[ux_image id=”6797″]
  1. การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) เป็นวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมันและน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมัน และถังตกตะกอน ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก
  2. การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีการนี้จะใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ค่าพีเอชสูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ มีไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสที่สูงเกินไป และมีเชื้อโรค ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค
  3. การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ (Biological Treatment) ปัจจุบันเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์บำบัดน้ำควรมีประโยชน์ในด้านการลดค่าสารอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ

        การเลือกผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์จำเป็นต้องคำนึงถึงชนิด สายพันธุ์ของจุลินทรีย์และแหล่งที่มา ความปลอดภัยของจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ว่าสามารถเชื่อถือได้หรือไม่ ความเข้มข้นของจุลินทรีย์เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาน้ำเสียของฟาร์มเราหรือไม่ ในท้องตลาดมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเลือกใช้ได้เช่นเดียวกัน

        การเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ (Biological Treatment) ปัจจุบันเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์บำบัดน้ำควรมีประโยชน์ในด้านการลดค่าสารอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ

        การเลือกผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์จำเป็นต้องคำนึงถึงชนิด สายพันธุ์ของจุลินทรีย์และแหล่งที่มา ความปลอดภัยของจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ว่าสามารถเชื่อถือได้หรือไม่ ความเข้มข้นของจุลินทรีย์เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาน้ำเสียของฟาร์มเราหรือไม่ ในท้องตลาดมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเลือกใช้ได้เช่นเดียวกัน

        บริษัท SAS มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เราทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนได้มาซึ่งจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยที่มีประสิทธิภาพสูง คัดเลือกจากจุลินทรีย์มากกว่า 300 สายพันธุ์ จนเป็นผลิตภัณฑ์ Micro Klean จุลินทรีย์สำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารอินทรีย์ มีคุณสมบัติในการกำจัดกลิ่น และน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่เป็นกรดหรือด่าง รวมถึงในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ (Bacillus subtilis, Bacillus amyloliquefaciens, Bacillus licheniformis และ Bacillus methylotrophicus) ผลิตภัณฑ์ Micro Klean ไม่เพียงแต่ใช้ได้ในการบำบัดน้ำเสียในฟาร์มสุกรเท่านั้น ยังสามารถใช้ได้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และฟาร์มปศุสัตว์อื่นโดยไม่มีผลข้างเคียงต่อผู้ใช้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

[ux_image id=”6798″][ux_text text_align=”center”]

“ร่วมส่งต่อโลกที่น่าอยู่ จากความใส่ใจ และพิถีพิถัน พร้อมมอบรอยยิ้ม ที่กว้างขึ้นให้กับคนที่เรารักไปด้วยกัน SAS sending a bigger smile”

[/ux_text][/col][/row]