การสู้รบของจุลินทรีย์และไวรัส ความหวังจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

[ux_image id=”4485″][gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        นับตั้งแต่มีผู้ป่วยจากไวรัสโควิด (COVID-19) ความผิดปกติที่พบบ่อยแถมยังรุนแรงที่สุดอย่างหนึ่งคือระบบทางเดินอาหารและปอดบวมซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคนด้วย

        เมื่อไวรัสแปลกปลอมบุกเข้ามา อย่างน้อยก็สบายใจได้เปราะหนึ่งว่าร่างกายของเราเก่งพอที่จะสร้างโปรตีนขึ้นมายับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ กลไกต้านไวรัสนี้เรียกว่า Interferon ที่เรารู้อยู่แล้วคือโปรไบโอติกส์ช่วยปรับสมดุลของลำไส้ แต่งานวิจัยล่าสุดยังทำให้รู้อีกว่าโปรไบโอติกส์ส่งผลต่อกลไกการยับยั้งไวรัสด้วย

        แม้ว่าจะดูไม่เกี่ยวข้องกัน เมื่อเรานึกถึงอวัยวะ 2 ชนิดอย่างปอดและลำไส้ แต่จุลินทรีย์ในปอดและจุลินทรีย์ในลำไส้กลับเชื่อมโยงกันอยู่ คือถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้ดี จุลินทรีย์ในปอดก็จะดีตามไปด้วย ลำไส้แข็งแรง ปอดก็แข็งแรง หากเราเพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้ด้วยการรับประทานโปรไบโอติกส์จึงอาจลดความเสี่ยงการติดเชื้อเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ นี่ไม่ใช่แค่การคาดเดาแบบลอยๆ เพราะเราไปเจอผลวิจัยที่ยืนยันว่าโปรไบโอติกส์สายพันธุ์ Bifidobacterium และ Lactobacillus ซึ่งมักพบในทางเดินอาหารและนำมาใช้ทำโยเกิร์ต ผลิตภัณฑ์นมอย่างแพร่หลายนั้น ช่วยลดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กและคนวัยหนุ่มสาวได้ นอกจากนี้จำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้มักจะลดลงตามอายุ นี่อาจเป็นคำอธิบายที่ว่ากลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิดมักเป็นผู้สูงอายุนั่นเอง

        โปรไบโอติกส์ช่วยป้องกันเราจากไวรัสได้ด้วยการช่วยกระตุ้นการทำงานของเยื่อเมือกภูมิคุ้มกันและเพิ่มจุลินทรีย์ดีในปอดและลำไส้ ส่งผลถึงการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ มีการศึกษาในหนูทดลองที่บอกกับเราว่าความรุนแรงของการติดเชื้อในปอดสัมพันธ์กับจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้

        แม้ว่ากลไกของการทำงานของโปรไบโอติกส์ที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันจะยังไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมด แต่ที่เรารู้แน่คือคนที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี จุลินทรีย์ในลำไส้จะไม่สมดุลด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การสะสมของเชื้อโรคในลำไส้จนติดเชื้อถึงขั้นเสียชีวิตได้

        อาจพูดได้ว่าโปรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แล้วยังต้านไวรัสได้ด้วย หลายปีมานี้จึงเริ่มมีการนำโปรไบโอติกส์มาเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และยังมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้โปรไบโอติกส์เพื่อปรับจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งอาจกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดอาการติดเชื้อจากไวรัสและผู้ป่วย COVID-19 อีกด้วย

 

อ้างอิง

https://link.springer.com/article/10.1007/s00253-020-10832-4?utm_source=toc&utm_medium=email&utm_campaign=toc_253_104_19&utm_content=etoc_springer_20200904&utm_source=semipyp&utm_medium&utm_term&utm_content&utm_campaignhttps://www.nature.com/articles/s41385-019-0160-6

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7123835/

[/col][/row]