เมื่ออาหารไม่ย่อยเพราะความเครียดจากสมองถึงลำไส้

[ux_image id=”4648″][row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : วิลสันวันเดอร์แลนด์

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

READ

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 5 Jan 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        เชื่อว่ามีคนที่รู้สึกไม่รื่นรมย์เมื่อเข้าสู่โหมด work from home ยิ่งนึกถึงวิธีทำงานที่อาจต้องเปลี่ยนแปลงและมีความยากเพิ่มมากขึ้น หลายคนบ่นว่าเหมือนทำงานตลอด 24 ชั่วโมงจนอาหารไม่ย่อย นอนหลับไม่ดีกันเลยทีเดียว “เป็นเรื่องปกติที่การย่อยอาหารเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล” คุณ Caleb Backe ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเคยให้สัมภาษณ์ไว้อย่างน่าสนใจ นั่นหมายความว่าไม่แปลกเลยถ้าเราจะมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน อาหารไม่ย่อย เวลารู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลกับเรื่องรอบตัว

        เมื่อสมองตกอยู่ในภาวะเครียด กระเพาะอาหารของเราก็จะตอบสนองความเครียดด้วย สัญญาณหลักๆ ที่บอกว่าความวิตกกังวลล้นจนเริ่มทำให้ระบบย่อยมีปัญหาอย่างแรกคืออาการกรดไหลย้อน เพราะความวิตกกังวลทำให้กระเพาะยิ่งสร้างกรดเพิ่มขึ้น หากเรารู้สึกเสียดท้องหรือกรดไหลย้อนอาจมีความเป็นไปได้ว่าทางเดินอาหารมีปัญหา นอกจากนี้กระเพาะอาหารจะหดเกร็งเวลาที่เราเครียดได้เช่นกัน ทำให้หลายคนรู้สึกเครียดจนปวดท้อง ถ้าใครเคยเป็นจะรู้ว่าทรมานไม่น้อย เป็นสัญญาณว่าต้องพักใจ ผ่อนคลายจากความเครียดสักหน่อยแล้ว

        อีกออาการหนึ่งที่มักเกิดขึ้นได้คือท้องร่วงก่อนทำเรื่องสำคัญ เช่น ประชุมงาน หรือการสอบ เพราะความเครียดยิ่งทำให้ระบบย่อยอาหารหดตัวจนนำไปสู่อาการท้องร่วง หรือบางคนถึงขั้นเครียดจนอาเจียน ที่เป็นแบบนี้เพราะระดับของสารเคมีในสมองที่ชื่อ Norepinephrine (นอร์อิพิเนฟริน) เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเครียดจนเกินไป ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ลำไส้ได้ไม่ดีจนน้ำย่อยหลั่งช้าลง การไหลเวียนเลือดไม่ดียังทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อที่ดันอาหารผ่านทางเดินอาหารช้าลงจนเกิดอาการท้องผูกได้

[ux_image id=”4652″]

        เช่นเดียวกับสมอง ลำไส้ก็เต็มไปด้วยเส้นประสาท เส้นประสาททางเดินอาหารและสมองเชื่อมต่อกัน การที่สารเคมีที่สมองปล่อยออกมาตอนที่เครียดจนอาหารไม่ย่อยก็ทำให้เกิดผลเสียกับจุลินทรีย์ที่คอยช่วยย่อยอาหารในระบบทางเดินอาหารด้วย แม้ว่าความเครียดเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถจัดการเพื่อลดผลกระทบทางเดินอาหารได้ อย่างพักหายใจสั้นๆ เมื่อรู้ศึกเครียดวิตกกังวล ออกกำลังกาย 15 นาทีต่อวัน สุดท้ายใส่ใจอาหารที่รับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เลือกรับประทานอาหารที่มีจุลินทรีย์ดีเพื่อให้จุลินทรีย์ ดูแลทั้งลำไส้และความรู้สึกให้รื่นรมย์ไปพร้อมกัน

 

อ้างอิง

https://www.bustle.com/p/8-signs-your-high-functioning-anxiety-is-affecting-your-digestion-11886739

[/col][/row]