โปรไบโอติกส์ 101 : Probiotic จุลินทรีย์ที่ช่วยให้ระบบย่อยและขับถ่ายดี

[ux_image id=”4241″][gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        พูดถึงระบบทางเดินอาหาร เชื่อว่าสิ่งที่หลายคนอาจนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เลยคือน้ำย่อย อันที่จริงระบบทางเดินอาหารยังมีสิ่งมีชีวิตอย่างจุลินทรีย์อาศัยอยู่รวมกันมากมายหลากหลายชนิด บรรดาจุลินทรีย์เหล่านั้นตั้งรกรากตามพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่ปาก หลอดลม กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และสุดท้ายอยู่ที่ลำไส้ใหญ่

[/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″][ux_image id=”4242″]

Photo by : health.clevelandclinic.org

        ถ้าถามว่าจุลินทรีย์อาศัยอยู่ได้อย่างไร คำตอบคือเมื่อเรารับประทานสิ่งต่างๆ อาหารจะเดินทางจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็กด้วยเวลา 4-6 ชั่วโมง ส่วนกากอาหารจะค้างอยู่ที่ลำไส้ใหญ่นาน 48-72 ชั่วโมง และหากในลำไส้มีสภาวะที่ค่า pH ค่อนไปทางกลาง และมีอัตราการดูดซึมต่ำก็จะทำให้เกิดการก่อตัวของจุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งประชากรจุลินทรีย์จะพึ่งพาอาศัยกันอย่างสมดุล

       ถ้าว่ากันตามตรงการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีความเป็นไปได้สูงมากที่จุลินทรีย์ในลำไส้จะสูญเสียความสมดุล ทั้งการอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมไม่คงที่ อาหารการกิน หรือแม้กระทั่งเมื่อเราได้รับยาปฏิชีวนะยามเจ็บไข้ ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ทั้งสิ้น ความน่าสนใจคือกลุ่มจุลินทรีย์ประจำถิ่นเหล่านี้จัดว่าเป็นกำลังสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหารและสุขภาพของคนเรา

[ux_image id=”4243″ link=”Link https://bidabest.ph/blogs/pet-blog/the-scoop-on-poop”]

        โปรไบโอติกส์ (Probiotic) ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ โดยสามารถแข่งขันกับเชื้ออื่นๆ ในสภาวะที่อาหารจำกัด ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคไม่ให้มาเกาะติดกับเนื้อเยื่อในลำไส้ ยับยั้งการบุกรุกของจุลินทรีย์ก่อโรค และทำให้สภาพลำไส้มีสภาวะไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกรดเกลือน้ำดี

       นอกจากนี้ยังช่วยย่อยและหมักกากอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต คือกลุ่มที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ (non digestible cabohydrates, NDC ) โปรไบโอติกส์จะทำให้อาหารกลุ่มนี้กลายเป็นไขมันสายสั้นเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน และสามารถสร้างพร้อมทั้งดูดซึมวิตามิน เกลือแร่ เช่น วิตามินเค วิตามินดี แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก

        ยังมีการศึกษาที่สนับสนุนว่าโปรไบโอติกส์ช่วยเพิ่มจำนวนการขับถ่ายได้ 1.2-2.3 ครั้งต่อสัปดาห์ และยังทำให้ลักษณะของอุจจาระดีขึ้น เล่าแบบง่ายๆ คือการเสริมโปรไบโอติกส์และกากใยอาหารพรีไบโอติกส์เปรียบเสมือนการเติมปุ๋ยเพื่อไปช่วยเพิ่มจำนวนของโปรไบโอติกส์ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่น ทำให้ลดโอกาสท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ลดอาการปวดท้องอืดหลาม และช่วยลดอาการที่เกิดจากแก๊สได้ด้วย

[/col][/row] [/row]

SAS Food Supplement.

[row][col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”4114″ image_size=”medium” link=”https://sasgroup.co/corporate/blissly-bioshot/”]
blissly bioshot
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”3637″ image_size=”medium” width=”63″ link=”https://sasgroup.co/corporate/biocap-7/”]
blissly biocap 7
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col][/row]