รู้จักจุลินทรีย์ในบ้าน สิ่งมีชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพของอาคารและผู้คน

[ux_image id=”4793″][row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : ภานุชิตชัย พล

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

READ

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 11 Jan 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        อาคารที่ปลอดเชื้อโรคมากที่สุดก็เป็นพาหะของโรคได้

       ในช่วงโควิดระบาด น้ำยาฆ่าเชื้อในบ้านเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะเราเชื่อว่าบ้านสะอาดจะเป็นบ้านที่ปลอดเชื้อ แต่ชุดข้อมูลที่เราเพิ่งได้อ่านเจอทำให้ต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์จะพบว่าชาวตะวันตกใช้เวลา 90 เปอร์เซ็นต์ในบ้าน และชาวอเมริกันใช้เวลา 93 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งการระบาดของไวรัสก็มักเกี่ยวโยงกันกับการขาดอากาศถ่ายเทภายในอาคาร แสงแดดส่องไม่ถึง อุณหภูมิความชื้น มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และอีกปัจจัยที่สำคัญเลยคือจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อม

        จุลินทรีย์หลายล้านล้านตัว ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัสอยู่รอบตัวเราและปกคลุมอยู่บนตัวเรานับไม่ถ้วน ย้อนไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจจุลินทรีย์ภายในอาคารว่ามีจุลินทรีย์อะไรอยู่ในบ้านเราบ้าง จนได้ค้นพบระบบนิเวศของจุลินทรีย์ ผู้เชี่ยวชาญยังเชื่ออีกว่า เราจะสามารถเลี้ยงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ภายในอาคารเหมือนกับที่ชาวนาปลูกข้าวได้ นับเป็นแนวคิดที่น่าสนใจไม่น้อย ในร่างกายของมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ ช่วยสร้างวิตามิน ฮอร์โมนและสารอื่นๆ ที่มีสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน การเผาผลาญ อารมณ์และอีกมากมาย ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จุลินทรีย์ของเราได้มีการเปลี่ยนแปลง ด้วยปัจจัยต่างๆ อย่างการรับประทานอาหารที่ไม่ดี การได้รับยาปฏิชีวนะมากเกินไป การลดการสัมผัสกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ

        ไม่ใช่แค่ร่างกาย อาคารที่เราอาศัยอยู่ก็เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ ในการสูดหายใจเข้าแต่ละครั้งเราจะนำออกซิเจนเข้าถุงลมปอดพร้อมกับจุลินทรีย์หลายร้อยหลายพันชนิด แต่ละสถานที่ถูกห้อมล้อมไปด้วยจุลินทรีย์ จนพูดได้ว่าอาคารบ้านเรือนมีประชากรจุลินทรีย์จำนวนมากกว่านกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่บนโลก ที่น่าสนใจคือนักวิจัยได้พบว่าอากาศภายในอาคารมีความเข้มข้นของจุลินทรีย์และไวรัสเกือบเท่าๆ กัน ซึ่งไวรัสส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย และบางชนิดอาจเป็นประโยชน์ด้วย

[ux_image id=”4796″]

Photo by Daria Shevtsova from Pexels

        จุลินทรีย์ที่ปกคลุมร่างกายเราแพร่กระจายไปตามสถานที่ที่เราอยู่ ตั้งแต่ปลอกหมอน แปรงสีฟัน ไปจนถึงฝักตัวเตาอบและตู้แช่แข็ง ถ้าเราเข้าพักที่โรงแรม จุลินทรีย์ในร่างกายเราจะใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเพื่อตั้งรกรากในห้องที่เราจองศาสตราจารย์ Jack Gilbert นักวิจัยด้านจุลินทรีย์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นไว้ว่าการปิดรถโดยสารสาธารณะเพื่อพ่นยาฆ่าเชื้อไม่ส่งผลต้านไวรัส เพราะเมื่อมีผู้โดยสารมาใช้บริการจุลินทรีย์ในคนเหล่านั้น อาจเป็นคนที่ติดเชื้อ สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วจากการไอหรือจาม นอกจากนี้ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งจากการฆ่าเชื้อในสภาพแวดล้อม คือเราอาจจะฆ่าจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยไม่ตั้งใจ รวมถึงอาจทำให้เชื้ออื่นๆ ดื้อยาและยิ่งอันตรายขึ้น

        คุณ Rob Knight ผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมจุลินทรีย์ ยังบอกอีกเช่นกันว่าหากเรากำจัดจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ตามธรรมชาติมากเกินไป อาจเป็นการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับจุลินทรีย์ไม่ดีหรือไวรัสที่กำจัดได้ยากกว่า บนโลกนี้มีความสมดุลสุขอนามัยตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการทำความสะอาดอย่างสุดขั้ว ใช้สารเคมีรุนแรง ในขณะที่สามารถใช้เพียงสบู่และน้ำได้ รวมถึงการเพิ่มสารต้านแบคทีเรียในชุดชั้นในหรือแม้แต่เครื่องสำอาง ยิ่งใช้สารทำความสะอาด จุลินทรีย์ก็ยิ่งมีโอกาสดื้อยา หากบ้านหรืออาคารที่เราอยู่ระบายอากาศได้ไม่ดี มลพิษจะซึมเข้าไปและติดอยู่ในอาคาร ทำให้อากาศข้างในแย่กว่าข้างนอก

       การรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในอาคารบ้านเรือน ก็เหมือนกับที่เรากินโยเกิร์ตเพื่อจะเติมโปรไบโอติกส์ให้สุขภาพแข็งแรง โยเกิร์ตของอาคารก็คือการเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทนั่นเอง

 

อ้างอิง

https://www.bloomberg.com/news/features/2020-12-16/covid-pandemic-microbiomes-could-be-key-to-stopping-spread-of-future-viruses?utm_medium=social&utm_campaign=socialflow-organic&cmpid=socialflow-twitter-businessweek&utm_content=businessweek&utm_source=twitter

[/col][/row]