Microbiome กับการเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์

[ux_banner bg=”13077″ bg_size=”original”]

[/ux_banner]
[row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”]

[col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col]
[col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”]

[ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

▌Feed & Farm
[/ux_text]

[/col]
[col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”]

[ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 27 Sep 22

[/ux_text]

[/col]
[col span=”3″ span__sm=”6″]

[share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″]

[/col]

[/row]
[gap]

[row h_align=”center”]

[col span__sm=”12″]

สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าจุลินทรีย์อยู่กระจายทั่วร่างกาย ผู้มีอิทธิพลต่อผลผลิตและสุขภาพโดยรวมของสัตว์อย่างแท้จริง เราจะเรียกความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมในตัวสัตว์ปศุสัตว์ว่า “ไมโครไบโอม (Microbiome) ” ไมโครไบโอมภายในตัวสัตว์ปศุสัตว์มีบทบาทสําคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในแง่สุขภาพ ถ้าไมโครไบโอม อยู่ในสภาวะที่ดี นั้นคือ ไมโครไบโอมนั้นประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ตัวดีที่มากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรคก็จะส่งผลให้สัตว์ปศุสัตว์ มีสุขภาพที่ดี แต่ถ้าภายในไมโครไบโอมนั้นเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ก่อโรคสิ่งที่ตามมาก็คือ สัตว์จะป่วยและไม่สามารถให้ผลผลิตที่ดีกับเกษตรกรได้เลย

[ux_image id=”11739″]

ไมโครไบโอมในสัตว์ปีกโดยทั่วไปที่พบเป็นแบคทีเรียไฟลัม Proteobacteria, Firmicutes, Actinobacteriaและ  Bacteroidetes สําหรับแบคทีเรียในไส้ติ่งมีความหนาแน่นประมาณ 1010 –1011 cfu/g of cecal แบคทีเรียบริเวณลําไส้เล็กส่วนลำไส้เล็กส่วนปลายซึ่งอยู่ถัดมาจากลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนกลางของไก่เป็นแบคทีเรียกลุ่มที่สามารถเจริญเติบโตทั้งในสภาวะที่มีอากาศและไม่มีอากาศ กลุ่มไมโครแอโรฟิลิก (microaerophilic bacteria) และกลุ่มแลคโตบาซิลลัส Salmonella เป็นแบคทีเรียก่อโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวสัตว์ปีก ตรวจพบในความเข้มข้นตํ่ากระจายเป็นระยะๆ ของทางเดินอาหาร แต่ความไวต่อโรคขึ้นอยู่กับอายุของสัตว์ปีก สถานะสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันและชนิดของเชื้อ Escherichia coli (E. coli) บางสายพันธุ์จะก่อโทษต่อตัวสัตว์ปีก ซึ่งจุลินทรีย์ก่อโรคเหล่านี้โรคมักจะนําไปสู่การเกิดอุบัติการณ์โรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ปีกได้

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ปีกมีการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะจุดประสงค์การใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตในการเลี้ยง ทําให้การใช้ยาในการเลี้ยงสัตว์ปีกลดน้อยลง แต่โรคต่างๆ ยังคงเดิมและมีแนวโน้มเกิดโรคใหม่ได้เสมอ เช่น โรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของไมโครไบโอมในลําไส้ ดังนั้น ไมโครไบโอมจึงมีความเกี่ยวข้องกับกลไลการควบคุมเชื้อก่อโรค ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสัตว์ปีกอย่างเห็นได้ชัด ช่วงอายุของสัตว์ปีกมีผลต่อความหลากหลายของไมโครไบโอมในลําไส้การรักษาสุขภาพทางเดินอาหารในสัตว์ปีกจึงสําคัญ

สุขภาพทางเดินอาหารที่ดีในสัตว์ปีกเกี่ยวข้องโดยตรงกับความสมบูรณ์ของลําไส้เซลล์เอนเทอโรไซต์(enterocyte) บริเวณลําไส้มีหน้าที่ในการสร้างเอนไซม์การย่อยและการดูดซึมจะมีประสิทธิภาพสูงถ้าลําไส้อยู่สภาพที่สมบูรณ์พร้อมที่จะ ดูดซึม ไมโครไบโอมในลําไส้ยังมีส่วนร่วมในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันมีบทบาทต่อ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่หลักในการหาและกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อหรือเชื้อโรคต่าง ๆ ปรับการตอบสนองของ B-cell และการผลิตอิมมูโนโกลบูลินเอ (immunoglobulin A; IgA)ไมโครไบโอมในลําไส้สามารถสังเคราะห์วิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเค หรือวิตามินบี เช่น    ไบโอติน โคบาลามิน โฟเลต กรดนิโคตินิกกรดแพนโทธีนิก ไพริดอกซิน ไรโบฟลาวิน และไทอามีน

[ux_image id=”11740″]

ส่วนไมโครไบโอมในสุกรส่วนใหญ่จะประกอบด้วยกลุ่มแบคทีเรีย เช่น Firmicutes, Bacteroidetes, Proteobacteria, Actinobacteria, Fusobacterium จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า แบคทีเรีย Desulfovibrio, Christensenellaceae, Oscillibacter, Defluviitaleaceae incertae sedis, Cellulosilyticum, และCorynebacterium มีความเกี่ยวข้องประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรและการเจริญเติบโต การท้องเสียในสุกร และอัตราการเสียชีวิตระหว่างการหย่านมมักเกิดจากความเครียดต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคทําให้ลําไส้มีการทํางานลดลงและไม่เต็มประสิทธิภาพส่งผลต่อการติดเชื้อเหตุการณ์ข้างต้นเกี่ยวข้องกับไมโครไบโอมในลําไส้ที่ไม่สมดุลทั้งสิ้น การปรับไมโครไบโอมในลําไส้สุกรผ่านทางโปรไบโอติก หรือพรีไบโอติกเพื่อรักษาไมโครไบโอมให้แข็งแรงเป็นวิธีที่มีแนวโน้มในการป้องกันเชื้อโรค และส่งเสริมแบคทีเรียที่มีประโยชน์ให้อุดมสมบูรณ์

[ux_image id=”11741″]

ปัจจัยที่กระทบต่อไมโครไบโอมของสิ่งแลดล้อมในการเลี้ยงสัตว์เช่น อุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นกลิ่นแอมโมเนีย ของเสียที่ออกจากตัวสัตว์มูล นํ้าเสียที่เกิดจากการล้างอุปกรณ์โรงเรือน หรือล้างตัวสัตว์เองก็ตาม โดยปกติเมื่อสัตว์ขับถ่ายออกมา สิ่งปูรอง พื้นโรงเรือน จะประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ รวมถึงมีจุลินทรีย์ก่อโรค และที่มีประโยชน์ด้วย กรณีกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มนั้น สาเหตุของกลิ่นมาจากจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ย่อยสารอาหารที่พื้นโรงเรือน หรือในบ่อนํ้าเสียและสร้างแอมโมเนีย และแก๊สไข่เน่าออกมาในปริมาณมาก จนทําให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์การจัดการปัญหานี้สามารถทําได้โดยปรับสภาพแวดล้อมไมโครไบโอมให้มีจุลินทรีย์กลุ่มที่ดีก่อน และให้จุลินทรีย์ตัวที่ดีคุมตัวสร้างปัญหานั้นไว้

โดยสรุปถ้าผู้เลี้ยงมีความเข้าใจ และจัดการไมโครไบโอมให้อยู่ในสภาวะที่สมดุลระหว่างจุลินทรีย์ตัวดี และจุลินทรีย์ก่อโรคจะส่งผลให้กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้นทํางานได้อย่างปกติและสมบูรณ์สุขภาพทางเดินอาหารที่ดีจะนําไปสู่ประสิทธิภาพการผลิตที่ดีสภาพแวดล้อมโรงเรือนที่ดี ไมโครไบโอมจึงสําคัญในการเลี้ยงสัตว์มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพผลผลิตและกระบวนการเมแทบอลิซึมของสัตว์และสุขภาพอีกด้วย

สําหรับในส่วนของบริษัท SAS นั้น เราดําเนินธุรกิจที่ครอบคลุมการเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์โดยคํานึงถึงหลักการ maintain microbiome มาโดยตลอด เริ่มต้นจากวัตถุดิบอาหารที่ปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค อาหารเสริมผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกในสัตว์ปศุสัตว์ทั้งในสัตว์ปีก สุกร ฯลฯ ที่มุ่งเน้นสร้างไมโครไบโอมที่ดีในตัวสัตว์ ผลิตภัณฑ์เอนไซม์รวมช่วยให้การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพลดของเสียที่นําไปสู่ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ และในเรื่องสภาพแวดล้อมภายในฟาร์ม SAS มีผลิตภัณฑ์ Micro Klean ตัวช่วยที่เข้าไปปรับความสมดุลจุลินทรีย์ในสภาวะนั้นๆ นําไปสู่ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ ความสกปรกที่ลดลง

[ux_image id=”11742″]

References

Aruwa, C.E., Pillay, C., Nyaga, M.M. et al. Poultry gut health – microbiome functions, environmental impacts, microbiome engineering and advancements in characterization technologies. J Animal Sci Biotechnol 12, 119 (2021). https://doi.org/10.1186/s40104-021-00640-9

Rose, E. C., Blikslager, A. T., & Ziegler, A. L. (2022). Porcine Models of the Intestinal Microbiota: The Translational Key to Understanding How Gut Commensals Contribute to Gastrointestinal Disease. Frontiers in veterinary science, 9, 834598. https://doi.org/10.3389/fvets.2022.834598

Wang, X., Tsai, T., Deng, F. et al. Longitudinal investigation of the swine gut microbiome from birth to market reveals stage and growth performance associated bacteria. Microbiome 7, 109 (2019). https://doi.org/10.1186/s40168-019-0721-7

[ux_text visibility=”hidden”]

สั่งซื้อคลิก:

🍫 blissly Milky Pro รส ON THE CHOC: http://bit.ly/milkyprochoc

🍼 blissly Milky Pro รส REALITY IN WHITE: http://bit.ly/milkyprowhite

 

อ้างอิง

https://nationaltoday.com/national-chocolate-day/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3566565/#:~:text=Chocolate%20or%20cocoa%20is%20considered,proanthocyanidin%20member%20in%20this%20class
[/ux_text]

[/col]

[/row]
[section padding=”0px” padding__sm=”25px” visibility=”hidden”]

[row h_align=”center”]

[col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”]

[gap height__sm=”20px”]

[ux_text text_align=”center”]

related articles

[/ux_text]
[gap height=”20px”]

[blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”11402,11375,11388″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”]

[/col]

[/row]

[/section]
[section padding=”0px” padding__sm=”25px”]

[row h_align=”center”]

[col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”]

[gap height__sm=”20px”]

[ux_text text_align=”center”]

related articless

[/ux_text]
[gap height=”20px”]

[blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”12294,12263,12250,12225″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”]

[/col]

[/row]

[/section]