เรื่องใกล้ตัวกับการดูแลน้องหมาแก่

[ux_image id=”3248″][gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

น้องหมากลายเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวเรา ยิ่งถ้าใครเลี้ยงน้องหมาตั้งแต่ตอนเด็ก ความผูกพันระหว่างคนกับน้องหมายิ่งแน่นแฟ้นขึ้นทุกวัน… ถึงอย่างไรสุดท้ายแล้ววันหนึ่งน้องหมาที่เราเลี้ยงก็ต้องแก่ตัวลงตามธรรมชาติ

[/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″][ux_image id=”3249″][/col][/row] [row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

Photo by Bruno Cervera from Pexels

        โดยเฉลี่ยแล้วน้องหมาเข้าสู่วัยชราที่อายุ 7 ปี ทั้งนี้อายุเข้าวัยชราของน้องหมาขึ้นอยู่กับขนาดและสายพันธุ์ด้วย น้องหมาพันธุ์ใหญ่มีแนวโน้มเข้าสู่วัยชราเร็วกว่าน้องหมาพันธุ์เล็ก เช่น พันธุ์เกรทเดนจะเริ่มแก่เมื่ออายุ 6 ปี ส่วนชิวาวาเริ่มแก่เมื่ออายุ 8 – 9 ปี เมื่อไหร่ก็ตามที่น้องหมาแก่ตัวลง ความเสื่อมของระบบร่างกายต่างๆ ก็ตามมา การเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเมื่อน้องหมาเข้าสู่วัยชรา จะช่วยให้น้องหมามีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

        สัญญาณหลักที่บ่งบอกว่าน้องหมาแก่แล้วดูได้ไม่ยาก สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดคือฟันของน้องหมา น้องหมาจะเริ่มมีฟันผุ ฟันโยก ฟันหลุดหายไป มีคราบหินปูนจำนวนมาก บางตัวอาจมีอาการเหงือกบวมจนกินอาหารได้น้อยลงหรือไม่ยอมกินอาหาร ดังนั้นการพบสัตวแพทย์เพื่อปรึกษาด้านสุขภาพฟันจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้น้องหมาสามารถกลับมากินอาหารได้อย่างมีความสุข แถมยังช่วยป้องกันปัญหาการติดเชื้อในช่องปากที่อาจตามมาได้

        ต่อมาคือความเสื่อมของดวงตา ซึ่งหลายครั้งมักมีผลต่อการมองเห็น แม้โรคตาอาจไม่อันตรายถึงชีวิต แต่การสูญเสียการมองเห็นก็ทำให้น้องหมาดำเนินชีวิตได้อย่างลำบาก ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติ ควรรีบพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์  และโรคสุดท้ายที่พบได้บ่อยในน้องหมาแก่ คือโรคข้อเสื่อม ซึ่งปัจจุบันมีสารเสริมหลายชนิดช่วยชะลอการเสื่อมของข้อได้ สำหรับรายละเอียดการใช้สามารถปรึกษสัตวแพทย์เพื่อคำแนะนำที่ถูกต้อง

[ux_image id=”3250″]

เกิดอะไรขึ้น พฤติกรรมน้องเปลี่ยนไปมาก!  
        เมื่อน้องหมาถึงวัยชราจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่เกิดจากความเสื่อมทางด้านประสาทสัมผัสของน้องหมา ทั้งการดมกลิ่น การได้ยิน การมองเห็นที่มีประสิทธภาพลดลง ทำให้น้องหมาเริ่มไม่ฟังตามคำสั่ง เรียกแล้วไม่ได้ยิน หรือเวลาใครเข้าใกล้แล้วแสดงอาการก้าวร้าว เช่นเดียวกันกับโรคที่พบได้มากของน้องหมาแก่คือ โรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่คล้ายกับคน วิธีการสังเกตคือ น้องหมามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น น้องหมาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน เวลากลางวันนอนนานมากขึ้น กลางคืนตื่น หรืออาจนอนนานทั้งกลางวันและกลางคืน และปลุกยากมากขึ้น เริ่มขับถ่ายผิดที่ มีอาการเดินวนซ้ำๆ หลายรอบก่อนจะนั่ง หลงทิศทาง จำทางกลับบ้านไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เราเข้าใจผิดได้ว่าเป็นนิสัยเสีย จนทำให้บางครั้งเราลงโทษน้องหมา โดยไม่รู้ตัวว่านั่นคือความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย ทำให้น้องหมาเกิดความเครียดมากขึ้นและไม่มีความสุข

[ux_image id=”3251″]

Photo by Artem Beliaikin from Pexels

วิธีรับมือกับน้องหมาแก่
        การรับมือกับความชราภาพของน้องหมาคือ เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาที่นอนที่สะอาดและสบาย  โดยถ้าอากาศหนาวควรมีผ้าห่ม หรือดวงไฟที่ให้ความอบอุ่น  แต่ถ้าหากอากาศร้อนบริเวณที่ให้น้องหมาอยู่ควรจะปลอดโปร่งสบาย เปิดพัดลม หรือเปิดแอร์ที่อุณหภูมิพอเหมาะ เพราะน้องหมาชรามีความไวต่ออุณหภูมิมากกว่าปกติ เราต้องมั่นใจว่าถ้วยน้ำและถ้วยอาหารน้องหมา รวมถึงที่นอนถูกวางในตำแหน่งเดิมและหาได้ง่าย เตรียมผ้าปูยางสำหรับให้น้องหมาเดิน เพื่อช่วยให้น้องหมาลุกยืนได้ง่ายขึ้น พื้นไม่ลื่น นอกจากนี้แม้น้องหมาจะหลงๆ ลืมๆ เราก็ควรจะทำกิจวัตรที่น้องหมาชื่นชอบ เช่น การพาไปเดินเล่นนอกบ้าน เพราะหลายครั้งน้องหมามักเกิดความเครียดหากกิจวัตรบางอย่างต้องเปลี่ยนแปลงไป เจ้าของควรเล่นกับน้องหมาทุกๆ วันเพื่อเป็นการกระตุ้นสมองให้ใช้ความคิด แถมช่วยทำให้อัลไซเมอร์ชะลอตัวลงอีกด้วย

 

“รู้วิธีรับมือกับความชราภาพของน้องหมาตอนนี้ ดีกว่ารู้เมื่อสายไปแล้ว…”

[/col][/row]