ของฝากนักกิน ลำไส้จะเป็นอย่างไรเมื่ออาหารเปลี่ยนไปใน 2 สัปดาห์

[ux_banner bg=”8470″ bg_size=”original”][text_box width=”41″ width__md=”38″ position_x=”5″ position_y=”95″ visibility=”hide-for-small”]

Food & Health

ของฝากนักกิน ลำไส้จะเป็นอย่างไรเมื่ออาหารเปลี่ยนไปใน 2 สัปดาห์

ตามมาดูการทดลองกินอาหารแบบจุกๆ ของคุณหมอจากรายการ Ask the doctor เพื่อตรวจดูจุลินทรีย์ในลำไส้

[/text_box][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : วิลสัน วันเดอร์แลนด์

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Food & Health

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 15 July 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        พอเรากินอาหารบูดหรืออาหารไม่สะอาด ท้องไส้จะประท้วงทันทีด้วยอาการปวดบิด ไม่สบายตัว คล้ายกับเป็นเสียงโวยวายว่า แกเอาอะไรเข้ามาในร่างกายเนี่ยเจ้าโฮโมเซเปียนส์!

        ดร.ชาลิน ไนก์ (Shalin Naik) เล่าไว้ในรายการ Ask the doctor ว่าลำไส้ของเราเป็นเครื่องวัดสิ่งแปลกปลอมชั้นดี เพราะในลำไส้มีเซลล์ประสาทกว่าล้านเซลล์ จนถูกเรียกว่าสมองที่สอง จึงไม่ต้องแปลกใจที่เราจะรู้สึกถึงความผิดปกติหรือปวดท้อง เมื่อร่างกายเผชิญหน้ากับสถานการณ์ไม่ชอบมาพากล

        แฟนรายการแนวสุขภาพ น่าจะเคยได้ยินชื่อ Ask the doctor กันมาบ้าง รายการทีวีสัญชาติออสเตรเลียใน Netflix ที่บอกเล่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบไม่น่าเบื่อ ช่วยให้ผู้ชมอย่างเราจัดการปัญหาสุขภาพได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน การออกกำลังกาย หรือโรคหวัด แน่นอนว่าหนึ่งในตอนที่เราสนใจเป็นพิเศษคือเรื่องของ สุขภาพทางเดินอาหาร       

        ทำไมลำไส้หรือสุขภาพทางเดินอาหารจึงสำคัญ วันนี้ SAS จะมาเล่าให้ฟังว่าลำไส้และจุลินทรีย์ทำงานอย่างไร เราควรใส่ใจมากแค่ไหนผ่านบททดสอบที่ ดร.ชาลิน ถึงกับเอ่ยปากว่ากินจริง ทรมานจริง

[ux_image id=”8471″]

การทดลองที่ชวนมองให้ลึกถึงลำไส้

        นอกจากดำเนินรายการแล้ว คุณหมอชาลินยังรับหน้าที่เป็นผู้เข้าร่วมการทดลองเพื่อดูว่าอาหารแบบไหนส่งผลกระทบต่อลำไส้อย่างไร ร่วมกับดร.เคลาส์ คริสโตเฟอร์สัน (Claus Christophersen) นักจุลชีววิทยาและอาจารย์ประจำวิชาโภชนาการ ผู้ที่จะคอยอธิบายข้อสงสัยและร่วมทดสอบไปด้วยกัน

        โดยทั้งคู่จะกินอาหาร 2 แบบ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ คือกินอาหารขยะ (Junk Food) เช่น แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ ของทอด ของแปรรูป ที่คุณหมอเคลาส์แอบกระซิบว่าเป็นอาหารยอดนิยมของคนออสเตรเลีย ชวนให้คิดเล่นๆ ว่าไม่น่าจะต่างจากบ้านเรา ที่มีทั้งลูกชิ้นทอด ไก่ทอดรถเข็นอยู่แทบทุกพื้นที่

        หลังจากกินอาหารขยะผ่านไป 2 สัปดาห์ คุณหมอจะเปลี่ยนการกินเป็นอาหารตามที่นักโภชนาการจัดไว้ให้อีก 2 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้จะมีการเก็บตัวอย่างอุจจาระทุกวันเพื่อตรวจดูจุลินทรีย์ในลำไส้       

        ก่อนทดสอบคุณหมอทั้งสองต้องเจาะเลือดและเก็บตัวอย่างปัสสาวะ ตรวจค่าไขมันด้วยเครื่องมือคล้ายยานอวกาศ มีหลักการทำงานคือวัดปริมาณอากาศที่ร่างกายขับออกมา ซึ่งดร.เคลาส์ บอกว่าค่าไขมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอ้วนผอมเสมอไป แน่นอน ค่าไขมันต่ำแปลว่าสุขภาพดี และอาจสัมพันธ์กับความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ด้วย เมื่อทุกอย่างพร้อม ถุงสำหรับตัวอย่างอุจจาระในกระเป๋าเก็บความเย็นทรงสี่เหลี่ยมก็พร้อมกลับบ้านไปกับคุณหมอเช่นกัน

[ux_image id=”8473″]

ลำไส้มีจุลินทรีย์มากกว่าดวงดาวบนทางช้างเผือก

        ไม่ต่างจากความเป็นจริงในสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นเสมอในลำไส้คือ การแย่งชิงพื้นที่และสารอาหาร ของประชากรจุลินทรีย์

        ปัจจุบันโลกเรามีผู้คนอาศัยอยู่ประมาณเจ็ดพันห้าล้านคน แต่ก็ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนจุลินทรีย์บนโลก ที่มีถึงห้าล้านล้านล้านล้านล้าน ถ้าเริ่มตาลายแล้ว ให้ลองนึกภาพห้าเติมศูนย์ 30 ตัว ใช่ เยอะขนาดนั้นเลย

        ซึ่งเราได้รับจุลินทรีย์ชุดแรกมาจากแม่ ถือเป็นของขวัญชิ้นแรกของเด็กทารกทุกคนบนโลก เมื่อโตขึ้น เริ่มสัมผัสคน สถานที่ กินอาหารหลากหลาย กลุ่มก้อนจุลินทรีย์ในลำไส้เราก็เติบโตและพัฒนาตาม ทีนี้ลำไส้จะกลายมาเป็นบ้านของจุลินทรีย์ประมาณ 40 ล้านล้านตัว หรือราวๆ 1,000 สายพันธุ์

        ถ้าถามว่าแล้วทำไมต้องให้ความสำคัญกับจุลินทรีย์ คำตอบคือเพราะจุลินทรีย์ดีในลำไส้ หรือที่เรียกว่า โปรไบโอติก จะช่วยเผาผลาญ สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเราต่อสู้กับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียไม่ดี หากอยากสุขภาพดีจึงต้องใส่ใจจุลินทรีย์ตัวเล็กๆ ในร่างกาย และหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือใส่ใจอาหารการกิน เพราะถ้ากินอาหารไม่ดีจุลินทรีย์ดีจะอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง

[ux_image id=”8474″]

ลำไส้บอกอะไรเราบ้าง

        คุณหมอชาลินเริ่มลงมือกินอาหารไขมันสูง ที่เต็มไปด้วยเกลือและน้ำตาล ทั้งเบคอน แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ น้ำอัดลม หลายวันผ่านไป คุณหมอเล่าให้ฟังว่าจากมื้อแรกๆ ที่ตื่นเต้น มีความสุข ตอนนี้เริ่มรู้สึกไม่สบายท้อง ปวดท้อง  นอกจากนี้ยังมีคำยืนยันจากปากภรรยาว่าเขากลายเป็นคนหงุดหงิดง่าย

        อาจเพราะการกินน้ำตาลมากเกินไป มีส่วนทำให้อารมณ์ขึ้นลงผิดปกติได้ และยังมีผลวิจัยบอกอีกด้วยว่า ถ้าเราไม่กินพืชประเภทฝัก เช่น ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วเม็ดเล็ก เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ไม่ดี

        นอกจากนี้ชุมชนจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตที่เมื่อปะทะกับอาหารบางชนิดแล้วจะทำให้เกิดสารตัวใหม่ ซึ่งอาจดีกับเรามากหรือไม่ดีสุดๆ จนถึงขั้นทำให้เป็นมะเร็งได้

        ตัดภาพไปที่โซเชียลมีเดียของ Ask the doctor ไม่ใช่แค่ทำการทดลอง รายการยังโพสต์คำถามเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง อย่างคำถามที่ว่า สุขภาพลำไส้ของคุณดีแค่ไหน? หลายคนแลกเปลี่ยนความเห็นไว้ว่า “ลำไส้บอกความรู้สึกได้ เมื่อไรที่เครียดจะรู้สึกไม่สบายท้องทันที” หรือ “อาหารหมักดองมีประโยชน์ ผมกินกิมจิ กะหล่ำปลีดองทุกวัน” “การนั่งสมาธิช่วยให้ลำไส้แข็งแรงขึ้น”

        ยังมีคำถามที่ว่า เคล็ดลับสุขภาพดีของคุณคืออะไร? ซึ่งหลายคนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจ เช่น นำเมล็ดแฟลกซ์ (Flax seed) หรือเมล็ดดลินินแช่น้ำอุ่นข้ามคืน กรองแล้วดื่มแทนน้ำในตอนเช้า ดื่มเบียร์เพราะเคยได้ยินมาว่าของหมักดองมีประโยชน์

[ux_image id=”8472″]

อาหารดีที่จุลินทรีย์ในลำไส้ชอบ       

        หลังจากครบกำหนด คุณหมอทั้งสองก็กลับมากินอาหารที่ดีถูกต้องตามหลักโภชนาการ ไม่ว่าจะเป็น มะเขือยาวอบ พริกหยวกยัดไส้ อาหารมังสวิรัติ ข้าวไม่ขัดสี ชีส ผลไม้แห้ง สลัดมะเขือเทศใส่โหระพา แต่อาหารสุขภาพก็ไม่ได้มีแค่ผัก เพราะบนโต๊ะยังมีเนื้อ มันฝรั่ง ข้าวกล้อง และพาสต้าอีกด้วย

        แต่ความสงสัยของคุณหมอชาลินคือทำไมมื้อสุขภาพจึงมีคาร์โบไฮเดรตเยอะ ดร.อะแมนด้า ดีไวน์ (Amanda devine) นักโภชนาการ ผู้ออกแบบการกินในบททดสอบเล่าว่า อาหารเหล่านี้คือแป้งทนการย่อยสูง เป็นส่วนหนึ่งของใยอาหารที่เรามักพบในธัญพืช ถั่วฝัก เช่น ถั่วลันเตา ผักและผลไม้ เช่น กล้วย แถมยังพบในข้าว พาสต้า และมันฝรั่งด้วย เมื่อทำให้สุกแล้ว จะเปลี่ยนโมเลกุลจากแป้งธรรมดาเป็นแป้งทนการย่อยที่ลำไส้ชอบ

        แล้วทำไมลำไส้ถึงชอบ ดร. อะแมนด้า เล่าต่อว่า เพราะร่างกายเราไม่ย่อย จุลินทรีย์ในลำไส้ของเราจึงทำหน้าที่นั้นแทน บางคนเรียกใยอาหารเหล่านี้ว่า พรีไบโอติก เมื่อเรากินอาหารดี ป้อนพรีไบโอติกให้จุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ดีจะผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายชื่อ บิวทิเรต

        ดร.เคลาส์ แลกเปลี่ยนความรู้ไว้ว่า บิวทิเรต เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่เซลล์ในลำไส้ต้องการเพื่อช่วยซ่อมแซม ช่วยขจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ

        ผลจากการทดลองกินอาหารขยะ ที่ไม่มีใยอาหารและมีน้ำตาลสูง ก็ทำให้สารบิวทิเรตของคุณหมอชาลิน ลดลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และเมื่อเปลี่ยนจากอาหารขยะเป็นอาหารสุขภาพที่มีใยอาหาร แป้งทนการย่อย จากถั่วฝัก สารบิวทิเรตก็กลับมาเพิ่มขึ้นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ในเวลาอันรวดเร็ว

        สิ่งที่คุณหมอผู้ดำเนินรายการได้เรียนรู้หลังการทดลองสุดทรมานคือ อาหารที่มีประโยชน์ ไม่ใช่แค่ช่วยให้อารมณ์ดี หรือเพิ่มพลังงาน แต่ยังดีต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ ดีต่อสุขภาพระยะยาว เราจะเห็นได้เลยว่าแค่เปลี่ยนนิสัยการกินเล็กๆ ก็ส่งผลมากมายต่อลำไส้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ นั่นอาจพูดได้ว่า ยิ่งเริ่มต้นเร็วยิ่งดีต่อสุภาพ

        ที่สำคัญควรฟังเสียงลำไส้ ซึ่งเป็นสมองที่สองของเรา และมีบทบาทสำคัญอย่างมากกับคุณภาพชีวิต ลำไส้จะได้ไม่ต้องลุกขึ้นมาประท้วง จนเจ้าของร่างกายเจ็บป่วยไปตามๆ กัน

[ux_text visibility=”hidden”]

สั่งซื้อคลิก:

🍫 blissly Milky Pro รส ON THE CHOC: http://bit.ly/milkyprochoc  

🍼 blissly Milky Pro รส REALITY IN WHITE: http://bit.ly/milkyprowhite  

 

อ้างอิง

https://nationaltoday.com/national-chocolate-day/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3566565/#:~:text=Chocolate%20or%20cocoa%20is%20considered,proanthocyanidin%20member%20in%20this%20class

[/ux_text][/col][/row]