เรื่องของตดกับลำไส้และจุลินทรีย์ของคนชอบกิน

[ux_image id=”4898″][row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : วิลสัน วันเดอร์แลนด์

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

READ

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 13 Jan 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        เมื่อ “ตด” เริ่มเข้ามารบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

        โดยปกติแล้วคนที่มีสุขภาพแข็งแรงจะปล่อยแก๊สที่บางคนเรียกตดหรือผายลมออกมาประมาณ 1 ลิตรต่อวัน ผายลม ชื่อบอกว่าลม แต่เกิดจากมีแก๊สในลำไส้มากเกินไป ส่วนใหญ่จะรู้สึกท้องอืด อาหารไม่ย่อยหรือท้องผูกตามมาด้วย นับว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับต้นๆ และการผายลมมากเกินไปก็เป็นหนึ่งปัจจัยหลักจากระบบทางเดินอาหารที่ทำให้หลายคนถึงกับต้องไปพบแพทย์เลยทีเดียว

        แม้ว่า ตด จะดูเป็นเรื่องตลก แต่เมื่อได้รู้ว่ามีคนต้องเข้ารับการรักษาเพราะตดบ่อยเกินไป ทำให้เรากลับมาคิดว่าไม่ใช่แค่ความน่าอายจากเสียงหรือกลิ่นแต่การผายลมยังกระทบไปถึงสุขภาพของเราด้วย ซึ่งหากรุนแรงมาก ก็อาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ที่หลายคนรู้จักดี 

        คำถามคือแก๊สในลำไส้มาได้อย่างไร อันที่จริงมีหลายปัจจัย แต่สาเหตุอันดับแรกๆ เลยก็คือการรับประทานอาหาร ทุกมื้อที่เรารับประทานเข้าไปอาจเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแก๊สได้ เหมือนกับที่เราเคยได้ยินว่า กินถั่วเยอะแล้วตดบ่อย นอกจากถั่วแล้วธัญพืชที่มีเส้นใยสูงอย่างโฮลวีต สารให้ความหวาน เช่น ฟรุกโตส  ซอร์บิทอล แม้กระทั่งอาหารสุขภาพอย่าง บร็อคโคลีผักตระกูลกะหล่ำ หัวหอม กระเทียม แน่นอนว่าต้องไม่ลืมพืชตระกูลถั่ว อาหารเหล่านี้ล้วนสร้างแก๊สในระบบทางเดินอาหารได้  

        ว่าไปแล้วหลายคนอาจคุ้นชื่อพืชผักเหล่านี้เพราะอยู่ในกลุ่มที่จัดเป็นพรีไบโอติกส์ (linkบทความพรีไบโอติกส์) คืออาหารของจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์ เมื่อเรากินถั่วเข้าไป เส้นใยที่ย่อยไม่ได้และไม่ถูกดูดซึมจะกลายมาเป็นอาหารของจุลินทรีย์หลายล้านล้านตัวในลำไส้ใหญ่ ส่วนที่เหลือเกิดการหมักในลำไส้และผลิตแก๊สที่หลายคนเรียกแก๊สไข่เน่าก่อนขับออกมาเป็นตดที่เราคุ้นเคย

        ที่น่าสนใจคือการรับประทานจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์คู่กับอาหารเหล่านี้สามารถลดความถี่และปริมาณการผายลมได้ เพราะว่าการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงจะมีประโยชน์แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ในลำไส้ของเราด้วย ดร.Fernando Azpiroz และทีมจากโรงพยาบาล Vall d’Hebron ได้ทำการทดลองให้คนวัยกลางคนที่มีสุขภาพดีรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงเป็นเวลา 3 วัน สิ่งที่ตามมาผู้ทดลองมีอาการท้องอืด 

        หลังจากนั้นให้รับประทานนมหมักที่เติมโปรไบโอติกส์ลงไป โดยใช้เชื้อที่เป็นสายพันธุ์เด่นอย่าง Bifidobacterium  หลังจากดื่มนมหมักโปรไบโอติกส์ 28 วัน ผู้ทดลองก็พบว่าอาการท้องอืดลดลง การขับถ่ายสม่ำเสมอขึ้น แม้ว่าแก๊สในกระเพาะจะไม่ได้ลดลงก็ตาม นั่นหมายความว่าจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติกส์เป็นหนึ่งในทางออกของปัญหา ตด ที่เข้ามารบกวนชีวิตประจำวันของเราได้

 

อ้างอิง

https://www.mdpi.com/2072-6643/12/2/320
https://isappscience.org/got-gas-blame-bacteria/

[/col][/row]

SAS Food Supplement.

[row][col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”4114″ image_size=”medium” link=”https://sasgroup.co/corporate/blissly-bioshot/”]
blissly bioshot
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_image id=”3637″ image_size=”medium” width=”63″ link=”https://sasgroup.co/corporate/biocap-7/”]
blissly biocap 7
[/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][/col][/row]