Microbiome ของสัตว์น้ำ

[row]

[col span__sm=”12″]

[ux_image id=”13085″]

ในปัจจุบันอาหารทะเลแบบสดกำลังเป็นที่นิยมของคนหมู่มาก ในบางรายเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำมีการใช้สารเคมีเพื่อผลผลิตที่ดีแต่ไม่ได้คำนึงถึงสารเคมีที่ไปตกค้างในตัวสัตว์น้ำ เมื่อผู้บริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไปสารเคมีที่ตกค้างดังกล่าวก็ถูกส่งต่อมาถึงเรา และในบางครั้งอาหารทะเลที่ไม่สด เมื่อนำมาบริโภคแล้วท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ก็เนื่องมาจากมีจุลิทรีย์ที่ไม่ดีอยู่ในอาหารทะเล(สัตว์น้ำ)

ไมโครไบโอม (Microbiome) หรือระบบนิเวศจุลชีพที่กำลังได้รับความสนใจในด้านงานวิชาการและในวงการอุตสาหกรรม เริ่มมาเป็นกระแสที่มาแรงไม่เว้นแม้แต่ในสัตว์น้ำ ซึ่งสัตว์น้ำก็เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ของไมโครไบโอม ที่มีทั้งภายนอกร่างกายของสัตว์น้ำนั้นคือสิ่งแวดล้อม และไมโครไบโอมที่อยู่ภายในร่างกายสัตว์น้ำ หากสัตว์น้ำมีการกินอาหารที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีก็จะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ดีในร่างกายของสัตว์น้ำ นำไปสู่การมีไมโครไบโอมที่ดีทำให้สัตว์น้ำแข็งแรงไม่ป่วยไม่เป็นโรค ส่งต่อไปถึงผู้บริโภคอาหารทะเล

[ux_image id=”12300″]

การดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ยกตัวอย่างเช่น กุ้ง ในระยะลูกกุ้งวัยอ่อนจะกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร แพลงก์ตอนสัตว์ก็จะกินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร และแพลงก์ตอนพืชจะกินจุลินทรีย์ (ไมโครไบโอม) ที่อยู่ในดินเกี่ยวโยงกันเป็นห่วงโซ่อาหาร และเมื่อกุ้งโตเต็มวัยไมโครไบโอมจะถูกกุ้งเป็นตัวควบคุมระบบในแหล่งน้ำ เนื่องจากการขับถ่ายของเสียของกุ้งมีอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานและแร่ธาตุ ซึ่งของเสียจากกุ้งที่ว่านี้จะถูกโยงกลับไปเพื่อเป็นอาหารยังกลุ่มแพลงก์ตอน หากในฟาร์มการเลี้ยงสัตว์น้ำมีการให้อาหารที่มากจนเกินไปและไม่มีการควบคุมการให้อาหาร ส่งผลทำให้สัตว์น้ำขับถ่ายของเสียมาก และอาหารที่เหลือจากการกินไปกองที่พื้นบ่อ จนเริ่มมีการสะสมจึงเกิดเป็นของเสียที่อยู่ในบ่อ รวมไปถึงมีจุลินทรีย์ก่อโรคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชากรจุลินทรีย์ทำให้ไมโครไบโอมในลำไส้ไม่สมดุล สัตว์น้ำเกิดความเครียดประสิทธิภาพในการทำงานลดลงส่งผลต่อการติดเชื้อได้ง่าย การรักษาสมดุลของไมโครไบโอมให้แข็งแรงผ่านโปรไบโอติกจึงเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีและลดจุลินทรีย์ก่อโรค

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำป่วย

หากไมโครไบโอมในลำไส้ของสัตว์น้ำแข็งแรง จะทำหน้าที่ขัดขวางการก่อโรคหรือการแพร่กระจายของเชื้อโรค คุณภาพของน้ำและตะกอนของเสียในบ่อเลี้ยงสามารถกระตุ้นทำให้เกิดความรุนแรงของเชื้อโรคและกุ้งเกิดความเครียด เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำป่วยและเป็นโรค ดังนั้นการควบคุมระบบการเลี้ยงตั้งแต่แรกเริ่มไปจนถึงจับขาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเตรียมน้ำการ ทรีตน้ำให้สะอาด การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง การควบคุมการให้อาหาร การจัดการระบบการเลี้ยง รวมไปถึงการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ แล้วหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมโปรไบโอติกเพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดี (ไมโครไบโอม) ไปเบียดเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในน้ำทำให้เกิดความสมดุลของไมโครไบโอม

โปรไบโอติกกับการเลี้ยงกุ้ง

ในวงการผู้เลี้ยงกุ้ง โปรไบโอติกได้ถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและจัดการปัญหาจุลินทรีย์ก่อโรคเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ จากงานวิจัยที่ผ่านมาเช่นงานวิจัยของกรมประมงโดย นิตยา ยิ้มเจริญและคณะ พบว่าการให้        B. subtillis ร่วมกับ B.licheniformis ผสมอาหารให้กุ้งกุลาดำในอัตราส่วน 1:1 เป็นปริมาณ 3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีผลทำให้ระดับภูมิคุ้มกันของกุ้งสูงขึ้นและสามารถลดปริมาณของจุลินทรีย์ก่อโรคชนิด Vibrio spp. ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าโปรไบโอติกสำคัญต่อจุลินทรีย์ (ไมโครไบโอม) ค่อนข้างมาก การนำมาใช้เลี้ยงสัตว์น้ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ในการลดปัญหาสัตว์น้ำป่วยและลดการใช้ยาปฏิชีวนะ

สุดท้ายนี้สัตว์น้ำจะกลับมาเป็นอาหารของเรา จะดีกว่าหรือไม่หากเรามีการจัดการระบบการเลี้ยงที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อนำไปสู่ไมโครไบโอมที่ดีในตัวสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์น้ำแข็งแรงและไม่เป็นโรคนำไปสู่การมีผลผลิตที่ดีต่อเกษตรกร ส่งตรงมาถึงมือผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคอย่างเราก็ได้รับแต่อาหารทะเล (สัตว์น้ำ) ที่ดีสดใหม่และมีคุณภาพปราศจากสารตกค้างและสารเคมีที่ปนเปื้อน

Reference

  1. มินตรา ลักขณา และคณะ. 2020. โปรไบโอติกกับการเลี้ยงกุ้ง. ป.เจริญฟาร์ม, http://www.pcf-farm.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147586184&Ntype=17
  2. นิตยา ยิ้มเจริญ. (2549) การใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติก ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius) . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_
    DOI=10.14457/KU.the.2006.833
  3. ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ. 2022. Microbiome in Shrimp and Shrimp Ponds, Laboratory of Aquatic Animal Health Management Department of Aquaculture, Faculty of Fisheries, Kasetsart University, Thailand

[/col]

[/row]
[section padding=”0px” padding__sm=”25px”]

[row h_align=”center”]

[col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”]

[gap height__sm=”20px”]

[ux_text text_align=”center”]

related articless

[/ux_text]
[gap height=”20px”]

[blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”12263,12250,12225,11756″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”]

[/col]

[/row]

[/section]