Micobiome ในร่างกายของมนุษย์ 

[row][col span__sm=”12″][ux_image id=”13066″]

Micobiome ในร่างกายของมนุษย์

ไมโครไบโอต้า (Microbiota) อาจจะแปลได้ว่า ชีวนิเวศจุลชีพ หรือ ชุมชนจุลินทรีย์ ซึ่งจุลชีพ หรือจุลินทรีย์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเล็กๆ อันได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา เป็นต้น ดังนั้น ไมโครไบโอต้า จึงหมายถึง ชุมชนของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่รวมกันในระบบนิเวศนั้นๆ โดยทั่วไปจุลินทรีย์เหล่านี้ อาศัยในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ ต้นไม้ รวมถึงอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งในสัตว์และในคนอีกด้วย โดยเมื่อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อาศัยร่วมกันในระบบนิเวศหนึ่ง ย่อมเกิดการทำงานและปฏิสัมพันธ์ร่วมกันที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่จุลินทรีย์เหล่านี้อาศัยอยู่ รวมถึงสิ่งแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเรียกว่า ไมโครไบโอม นั่นเอง (1)

ไมโครไบโอมที่ดีของสิ่งแวดล้อม จึงเข้ามามีบทบาทต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยจุลินทรีย์ต่างๆ ในระบบชุมชนจุลินทรีย์ประกอบไปด้วยความหลากหลายของชนิดจุลินทรีย์ มีทั้งตัวที่ดีต่อสิ่งมีชีวิต และตัวก่อโรค ดังนั้น หากสัตว์ได้อาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมรวมถึงรับประทานอาหารที่มีความสมดุลของประชากรของแบคทีเรียที่ดี หรือมีไมโครไบโอมที่ดี ก็ย่อมส่งผลให้สัตว์เหล่านั้นมีสุขภาพดี แต่หากสัตว์เหล่านั้นอาศัยในสภาวะแวดล้อมที่แออัดและมีไมโครไบโอมที่ไม่ดี มีชนิดและจำนวนแบคทีเรียที่ก่อโรคมาก ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพของสัตว์เช่นกัน

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เช่น ไก่เนื้อ โคเนื้อ โคนม สุกร กุ้ง และปลา จึงมีการเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) หรือแบคทีเรียชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินทางอาหาร ลงในอาหารและน้ำของสัตว์ เพื่อให้เกิดสภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีในทางเดินอาหารซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพของสัตว์ดีขึ้น โดยโพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารที่เสริมลงไป มีความสามารถในการสร้างวิตามินบางชนิด ช่วยในการดูดซึมสารอาหารหลายชนิด ช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และยังช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย จึงสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในการเลี้ยงสัตว์ได้ (2) นอกจากนี้การเสริมโพรไบโอติกยังช่วยให้การผลิตเนื้อสัตว์มีคุณภาพดีเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคเข้าสู่กระบวนการผลิตในโรงงานแปรรูปอาหาร และลดการส่งผ่านของจุลินทรีย์ก่อโรคจากสัตว์มาสู่คน

จากการศึกษาและวิจัย ยังแสดงให้เห็นว่าไมโครไบโอต้าและไมโครไบโอมของสิ่งแวดล้อมและสัตว์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์สามารถส่งผลต่อไมโครไบโอต้าและไมโครไบโอมในร่างกายมนุษย์อีกด้วยที่สามารถปรับเปลี่ยนตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมผ่านทางระบบภูมิคุ้มกันและระบบการทำงานเมตาบอลิกของร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ (3) ดังนั้น การที่สัตว์เศรษฐกิจและสัตว์เลี้ยงมีไมโครไบโอต้าและไมโครไบโอมที่ดีจากสิ่งแวดล้อมและอาหารย่อมทำให้สัตว์เหล่านั้นมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคง่าย ลดการใช้ยาและสารเคมี ก็ยอมส่งผลดีต่อมนุษย์ตามมาเช่นกัน

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์มีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ มากมายที่อาศัยอยู่ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง ช่องหู ปาก ช่องคลอด ระบบทางเดินหายใจ และจะพบได้มากที่สุดคือในระบบทางเดินอาหาร ชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายนั้นขึ้นกับแต่ละบุคคล และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงอายุ โดยในช่วงอายุสามปี ปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์ในไมโครไบโอต้าสามารถเพิ่มได้เป็น 10 เท่าจากวัยแรกเกิด (4) โดย พันธุกรรม เพศ อาหารการกิน อาการเจ็บป่วย ความเครียด อาชีพ การรักษาความสะอาด และสิ่งแวดล้อม ล้วนแต่มีผลต่อชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ในไมโครไบโอต้าทั้งสิ้น ซึ่งไมโครไบโอต้าที่มีความหลากหลายทั้งของชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์นี้ ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้แต่ละคนมีสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ แตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างของไมโครไบโอต้าที่ผิวหนังจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพของผิวหนัง เช่น การเกิดสิว โรคผื่นภูมิแพ้ชนิดเรื้อรัง หรือ ผิวหนังของผู้สูงวัยมีความแห้งมากกว่าผิวหนังของวัยรุ่น ก็เนื่องจากมีไมโครไบโอต้าและไมโครไบโอมที่แตกต่างกันนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังพบว่าคนที่มีจุลินทรีย์ Helicobacter pylori มีความเสี่ยงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารซึ่งอาจจะนำไปสู่สาเหตุของอาการกรดไหลย้อน และมะเร็งในกระเพาะอาหารมากกว่าคนที่ไม่มีจุลินทรีย์นี้ รวมถึง Microbiota ยังเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วน เบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย (5,6) ในขณะที่ จุลินทรีย์กลุ่ม Lactobacillus และ Bifidobacterium ในระบบทางเดินอาหารช่วยในการย่อยสารอาหารทำให้ง่ายต่อการดูดซึมอาหาร และนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ ลดสารพิษ การตกค้างของเศษอาหารภายในลำไส้ จึงทำให้ลำไส้สะอาดและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับและดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังช่วยผลิตสารต่างๆ เช่น Short chained fatty acid ที่มีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมน้ำและแร่ธาตุในลำไส้ เมื่อลำไส้สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพก็นำไปสุ่รับบขับถ่ายที่เป็นปกติและดีขึ้น ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากโปรไบโอติกในลำไส้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว และระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ

ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกเป็นส่วนผสมส่วนใหญ่มักพบในอาหารประเภทหมักดอง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรไบโอติก เป็นต้น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยเพิ่มและปรับสมดุลชองจุลินทรีย์ชนิดดีในระบบทางเดินอาหารได้ และการบริโภคพืชที่มีสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ก็มีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณของ จุลินทรีย์กลุ่ม Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีในระบบทางเดินทางเดินอาหารได้เช่นกัน ในขณะที่อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวจะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในระบบทางเดินอาหาร (7) เมื่อจุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มมากขึ้น นอกจากส่งผลเสียต่อลำไส้แล้ว ยังสามารถส่งผลเสียไปถึงระบบทางเดินปัสสาวะโดนเฉพาะเพศหญิงที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาจส่งผลเสียสุขภาพช่องคลอดตามมาได้ นอกจากนี้ เมื่อลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ส่งผลไปถึงการทำงานของระบบประสาทให้ทำงานอย่างเป็นปกติ นื่องจากลำไส้และสมองมีระบบประสาทเชื่อมโยงกัน สื่อสารถึงกันได้ เรียกว่า “ Gut – brain axis” จะเห็นได้ว่า ไมโครไบโอต้าและไมโครไบโอม มีผลต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมากทั้งในด้านบวกและลบ โดยเฉพาะสุขภาพของลำไส้ ซึ่งมีหน้าที่ในการดูซึมร่างกาย ส่งสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบขับถ่าย อีกทั้งยังเปรียบเสมือนสมองที่ 2 ของร่างกาย

ดังนั้น การรักษาสมดุลของชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายมนุษย์ ด้วยการเลือกบริโภคอาหารที่ช่วยเพิ่มปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์ที่ดี จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐธิดา โชติช่วง
อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References:

1. Berg, G., Rybakova, D., Fischer, D. et al. Microbiome definitionre-visited: old concepts and new challenges. Microbiome. 2020: 8, 103. https://doi.org/10.1186/s40168-020-00875-0

2. Anee, I.J., Alam, S., Begum, R.A. et al. The role of probiotics on animal health and nutrition. JoBAZ. 2021: 82, 52. https://doi.org/10.1186/s41936-021-00250-x

3. Trinh, P., Jesse R. Zaneveld, J.R. , Sarah Safranek, S., Peter M. Rabinowitz, P.M. One Health Relationships Between Human, Animal, and Environmental Microbiomes: A Mini-Review. Front. Public Health. 2018. 8:235 https://doi.org/10.3389/fpubh.2018.00235

4. Gritz, E.C. and Bhandari, V. The human neonatal Gut Microbiome: A Brief Review. Front Pediatr. 2015. 3: 17. DOI: 10.3389/fped.2015.00017

5. Cho, I. and Blaser, M.J.The human microbiome: at the interface of health and disease. Nat Rev Genet. 2012. 13: 260–270. https://doi.org/10.1038/nrg3182

6. Sonnenburg, J.L. and Bäckhed, F. Diet–microbiota interactions as moderators of human metabolism. Nature. 2016. 07: 53: 56–64. doi:10.1038/nature18846.

7. Singh , R.K., Chang, H.W., Yan, D., et al. Influence of diet on the gut microbiome and implications for human health. J Transl Med. 2017. 15:73

DOI 10.1186/s12967-017-1175-y

[/col][/row] [section padding=”0px” padding__sm=”25px”][row h_align=”center”][col span__sm=”12″ margin=”0px 0px -20px 0px”][gap height__sm=”20px”][ux_text text_align=”center”]

related articless

[/ux_text] [gap height=”20px”][blog_posts style=”normal” col_spacing=”small” columns__sm=”2″ columns__md=”3″ ids=”12294,12263,12250,11756″ show_date=”false” excerpt=”false” show_category=”label” image_height=”100%” text_align=”left”][/col][/row][/section]