ท้องอืดเรื้อรัง ดูแลให้ดีด้วยโปรไบโอติก

[ux_banner bg=”8440″ bg_size=”original” bg_pos=”0% 0%”][text_box width=”41″ width__md=”44″ position_x=”5″ position_y=”95″ visibility=”hide-for-small”][ux_text visibility=”hidden”]

Food & Health

กินทุเรียนมากไป ปวดท้อง โปรไบโอติกช่วยได้

[/ux_text][/text_box][/ux_banner] [row style=”collapse” width=”full-width” h_align=”center” padding=”20px 0px 0px 0px”][col span=”4″ span__sm=”8″ align=”left”]

author : SAS Team

[/col] [col span=”2″ span__sm=”4″ align=”center”][ux_text text_align=”left” text_align__sm=”left”]

Food & Health

[/ux_text][/col] [col span=”2″ span__sm=”6″ align=”center”][ux_text text_align__sm=”left”]

Date : 9 July 2021

[/ux_text][/col] [col span=”3″ span__sm=”6″][share title=”Share On” style=”small” align=”right” scale=”87″][/col][/row] [gap][row h_align=”center”][col span=”8″ span__sm=”12″]

        อาการท้องอืด แน่นท้อง เป็นอาการที่แทบทุกคนต้องเคยพบเจอ ความแน่น จุก และอึดอัดทำให้ใช้ชีวิตยากกว่าปกติ ถ้านานๆ เป็นทีอาจจะไม่น่าเป็นห่วงมาก แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ จนเข้าข่าย ‘เรื้อรัง’ อาจเป็นสิ่งที่ควรต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่านี้

        โดยอาการท้องอืดเรื้อรังอาจเกิดได้จากสาเหตุหลักๆ ดังนี้

  • ความผิดปกติของระบบลำไส้ เช่น ลำไส้แปรปรวน ทำให้เกิดแก๊สในท้องเยอะ
  • ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ มีแบคทีเรียก่อโรคในลำไส้เยอะเกินไป
  • ขาดเอนไซม์ที่ใช้ย่อยนม ทำให้เกิดอาการท้องอืด
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • การกินอาหารรสจัด การกินแป้งมากเกินไป
  • การกินผักเยอะ แต่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  • การกินเยอะ กินเร็ว กินอาหารย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ ไขมัน เพิ่มภาระหนักให้กระเพาะอาหาร
  • การกินยาที่ทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ เช่น ยาแก้ปวดข้อ
  • การกินยาที่ทำให้มีการย่อยอาหารและบีบตัวของลำไส้ลดลง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท

        ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ อาจก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้หลายอย่าง หรืออาการข้างต้นอาจเป็นสัญญาณบอกโรคต่างๆ ได้ เช่น กรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งช่องท้อง (พบได้น้อย) ไทรอยด์อักเสบ และโดยปกติการดูแลอาการเหล่านี้จะทำได้โดยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น งดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้การรักษาด้วยยาร่วมด้วย ได้แก่ แอสไพริน ยาปฎิชีวนะ (antibiotics) ยาสเตียรอยด์ และยาไทรอยด์

 

โปรไบโอติก ตัวช่วยดูแลในตอนที่ยังไม่สายเกินไป

        อย่างที่รู้กันว่าการกินยามากเกินไปหรือในระยะเวลาที่ติดต่อกันนานนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราหลายอย่าง (โดยเฉพาะตับ ที่ต้องขับสารเคมีต่างๆ ออกจากร่างกาย) ดังนั้น คงจะดีกว่าถ้ามีตัวช่วยดูแลตั้งแต่อาการยังไม่หนักมาก ช่วยให้ทุเลาลง รวมไปถึงการดูแลในระยะยาวที่ไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย ซึ่งตัวช่วยที่ว่านั้นคือ “โปรไบโอติก” จุลินทรีย์ดีในร่างกายของเราที่มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลในลำไส้เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

        โปรไบโอติกจะเข้าไปมีบทบาทในการดูแลลำไส้และระบบขับถ่าย ดูแลระบบย่อยอาหารและกระเพาะ ช่วยปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งยังลดความรุนแรงของกรดไหลย้อน ซึ่งส่งผลให้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และผลกระทบจากโรคกระเพาะเบาบางลง นอกจากนี้ยังเป็นการดูแลในระยะยาว เพราะเราสามารถกินโปรไบโอติกได้เป็นประจำทุกวันโดยไม่มีผลข้างเคียง เนื่องจากเป็นอาหารหมู่ที่ 6 ที่สำคัญซึ่งร่างกายต้องการได้รับไม่ต่างจากสารอาหารชนิดอื่น

 

         ด้วยความปรารถนาดีจาก blissly โปรไบโอติกชนิดผงกรอกปากรสโยเกิร์ต และแคปซูลพืช

 

อ้างอิง

https://bmjopengastro.bmj.com/content/4/1/e000144

[ux_text visibility=”hidden”]

สั่งซื้อคลิก:

🍫 blissly Milky Pro รส ON THE CHOC: http://bit.ly/milkyprochoc  

🍼 blissly Milky Pro รส REALITY IN WHITE: http://bit.ly/milkyprowhite  

 

อ้างอิง

https://nationaltoday.com/national-chocolate-day/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3566565/#:~:text=Chocolate%20or%20cocoa%20is%20considered,proanthocyanidin%20member%20in%20this%20class

[/ux_text][/col][/row]